วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จับตากองทุนสื่อ ต้องอิสระ โปร่งใส เน้นสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย

จับตากองทุนสื่อ ต้องอิสระ โปร่งใส เน้นสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย

ภาค ประชาชนและผู้ผลิตสื่อน้ำดีผนึกกำลังจับตา กองทุนสื่อฯ  ดันควรเป็นองค์กรอิสระ โครงสร้างชัดเจน โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม เข้าถึงได้  มุ่งสร้างสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัยเพื่อเด็กและสังคมไทย

ในช่วงที่ผ่านมามีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นหลายต่อหลายครั้งเกี่ยวกับ การมี "กองทุนสื่อ"ที่จะมาช่วยผลักดันให้เกิดการผลิตสื่อดีที่สร้างสรรค์และ ปลอดภัยต่อเยาวชน ด้วยการกำหนดให้กองทุนมีบทบาทในการสนับสนุนผู้ผลิตที่ต้องการหลุดกรอบธุรกิจ มาสู่การผลิตรายการดีเพื่อเด็กเพื่อสังคมอย่างแท้จริงและอยู่ได้  ซึ่งเชื่อว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตเหล่านี้อยู่จำนวนไม่น้อย  ทั้งในกลุ่มสื่อกระแสหลัก กลุ่มสื่อทางเลือกและสื่อพื้นบ้าน กลุ่มสื่อหนังสือและวรรณกรรม กลุ่มนักวิจัยด้านสื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก และกลุ่มเด็กและเยาวชนทำสื่อ

ล่าสุดในเวทีสาธารณะ "จับตากองทุนสื่อ เครื่องมือหนุนอนาคตชาติ" ซึ่งกลุ่มบ้านรักดี ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ที่โรงแรมเอเชีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยว กับ เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้กองทุนดังกล่าวเป็นไปตามความต้องการของประชาชนโดยแท้จริงนั้น   กลุ่มผู้ผลิตสื่อด้านต่าง ๆ รวมทั้งผู้แทนจากภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยว กับความคาดหวังต่อกองทุน รูปแบบการสนับสนุน การเข้าถึงกองทุน ฯลฯ

นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน (คพส.) กล่าวเปิดการสัมมนาโดยระบุว่า กองทุนนี้น่าจะเกิดขึ้นได้แล้ว ที่ผ่านมาก็ไม่รู้ว่าไปติดตรงไหน แต่อยากผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะจากวัตถุประสงค์และที่มาของกองทุนมีความเป็นไปได้และจะเกิดประโยชน์กับ ประเทศชาติ โดยเฉพาะเยาวชน ตามวัตถุประสงค์ 5 อย่างที่จะผลิตและพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ดีน่าสนับสนุน แต่ปัญหาว่าเมื่อมาเป็นกฎหมายจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจกันไว้ เพราะกฎหมายเวลาร่างเป็นอย่างหนึ่ง เวลาออกมาเป็นอย่างหนึ่ง ระหว่างทางมีการแปลงสารที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้  อย่างไรก็ตามการผลักดันกฎหมายนี้ก็มีหลายช่องทางเช่น หากรัฐบาลไม่เสนอผลักดันกันมานาน 7 ปีกองทุนนี้ยังไม่เกิด ภาคประชาชนก็สามารถรวบรวมรายชื่อเสนอเองได้และเป็นเรื่องดี  สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้าใจถึงเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกองทุนอย่างกว้างขวางและมาร่วมผลัก ดัน

นางสาวเข็มพร  วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า การผลักดันให้เกิด "(ร่าง)พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์"เกิดจากการรวมตัว ของเครือข่ายกว่า 37 องค์กร ทั้งภาคนักวิชาการ ประชาชนเครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายเด็ก สภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งฝ่ายราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรสื่อที่เกี่ยวข้อง จนในปัจจุบันได้ผ่านมติรัฐมนตรี เข้าสู่การพิจารณาของคณะกฤษฎีกาแล้ว หาก"พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์"  ผ่านออกประกาศใช้ย่อมเป็นโอกาสของผู้ผลิตในการสร้างสรรค์สื่อดีๆให้กับเด็ก และเยาวชนกว่า 26 ล้านคนทั่วประเทศทำให้เกิดสื่อที่ดี มีคุณภาพ สร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อเด็ก เยาวชน และสังคมไทยเพิ่มขึ้น

ในเวทีสาธารณะภาคประชาชนได้แสดงความห่วงใยต่อการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้วัตถุประสงค์ของการผลักดันให้เกิดกองทุนนี้ผิดไปจาก เจตนาเดิม โดยมี 2 เรื่องหลัก คือ  คณะกรรมการกองทุน  และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ

1) คณะกรรมการกองทุน ซึ่งในร่างของกฤษฎีกามีการเพิ่มจาก 2 ชุด เป็น 3 ชุด  ข้อสังเกตของภาคประชาชนคือ การเปลี่ยนแปลงให้มีคณะกรรมการที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในเรื่องการตรวจ สอบสื่อที่ไม่เหมาะสม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานและยังมีองค์ประกอบกรรมการที่ มาจากของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องปราบปราบสื่อที่ไม่เหมาะสมมากก ว่าการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์  อีกทั้งในเรื่องการบริหารกองทุน โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนั้น เป็นการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกองทุนเป็นหลัก และมีการแต่งตั้งกรรมการอื่น ๆ มาประกอบ ซึ่งจะทำให้การทำงานอยู่ภายใต้ระบบราชการมากกว่าการเป็นองค์กรอิสระ  ซึ่งจากบทเรียนในอดีตพบว่าการบริหารกองทุนในลักษณะดังกล่าวมีจุดอ่อนมาก

2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ตามร่างที่ผ่านมติครม.กำหนดนโยบายการบริหารงานให้ความเห็นชอบแผนการดำเนิน งานของกองทุน   แต่ในร่างปรับใหม่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกามีการเพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะ กรรมการ ในลักษณะของการตรวจสอบสื่อ ซึ่งแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.ฯเดิมที่เน้นการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์ และเน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่จะเฝ้าระวังสื่อ

ทั้งนี้ภายหลังการระดมความคิดเห็นจะได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการจัดตั้ง กองทุนสื่อจากภาคประชาชน ที่ผู้ผลิตสื่อน้ำดีได้มีโอกาสเข้าถึงและสร้างสรรค์สื่อดีเพื่อเด็กและสังคม ได้อย่างแท้จริง  โดยจะเสนอต่อรัฐบาลและสาธารณะต่อไป หวังว่ารัฐบาลจะผลักดันกองทุนสื่อให้เกิดขึ้นเป็นของขวัญแก่เด็กและเยาวชนใน ปี 2554 นี้.

http://www.prachatai3.info/journal/2010/12/32397




วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 12 มกราคม 2554 เวลา 13.00 – 16.00 น ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขอเชิญผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจร่วมการสัมมนา "ทำธุรกิจให้รุ่ง...มุ่งนวัตกรรม"
          วันพุธที่ 12 มกราคม 2554
          เวลา 13.00 – 16.00 น
          ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 
          **ไม่เสียค่าใช้จ่าย**
          โดย ในการสัมมนา ท่านจะได้รับฟังการบรรยาย ที่เป็นที่สุดของความรู้ด้านนวัตกรรมธุรกิจ จาก รศ. ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะมาเปิดมุมมองและให้ความรู้เรื่องการสร้างนวัตกรรมธุรกิจสำหรับ SMEs ไทย การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ เพื่อหาคำตอบด้านนวัตกรรมสำหรับธุรกิจของท่าน           
          รับ จำนวนจำกัด เพียง 70 ท่าน สนใจติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 547 5950 หรือทาง e-mail: research@dbd.go.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย



วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชำนาญ จันทร์เรือง: นักโทษทางความคิด

ชำนาญ จันทร์เรือง: นักโทษทางความคิด

โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
15 ธันวาคม 2553

ไม่ น่าเชื่อว่ามนุษย์ที่ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐจะเข่นฆ่าทำร้ายและคุมขัง มนุษย์ด้วยกันแต่ว่ามีความคิดเห็นแตกต่างจากตัวเองและไม่มีความเศร้าใจใดๆ ที่จะเทียบเท่ากับการได้เห็นภาพหรือทราบข่าวของการจับกุมคุมขังผู้ที่มีความ คิดเห็นแตกต่างจากผู้ครองอำนาจรัฐไม่ว่าจะเกิดขึ้นในผืนแผ่นดินใดในโลกนี้ ซึ่งเราเรียกเขาเหล่านี้ว่านักโทษทางความคิดหรือ Prisoner of Conscience

คำ ว่านักโทษทางความคิดนั้นในคู่มือสมาชิกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย(Amnesty International Thailand)ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ บุคคลที่ถูกคุมขัง หรืออาจกล่าวได้ว่าถูกกักขังทางร่างกายเนื่องจากความคิดเห็นทางการเมือง เพราะศาสนา หรือความเชื่ออย่างแท้จริงของเขา เพราะเผ่าพันธุ์ เพศ สีผิว ภาษา ถิ่นกำเนิดหรือสังคม สถานภาพทางเศรษฐกิจ การเกิด แนวโน้มทางเพศ หรือสถานภาพอื่นๆ ทั้งนี้ โดยที่เขาไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรือสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรง หรือความเกลียดชัง

ไม่มีใครรู้ถึงจำนวนที่แน่นอนของนักโทษทางความคิด ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำทั่วโลก พวกเขาถูกจับกุมโดยรัฐบาลหรือกลุ่มการเมืองติดอาวุธ บางคนเป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน หลายคนเป็นศิลปิน นักกฎหมาย นักการเมือง หรือนักต่อสู้ของสหภาพแรงงาน โดยเขาเหล่านั้นได้ท้าทายความคิดเห็นของรัฐ อย่างไรก็ตามปรากฏว่านักโทษทางความคิดส่วนใหญ่กลับเป็นชายและหญิงธรรมดาๆ แม้กระทั่งเด็กๆจากผู้คนทุกชนชั้นโดยถูกคุมขังเพียงเพราะสิ่งที่พวกเขา เป็น(เช่น เป็นเหลือง หรือเป็นแดง เป็นต้น) มากกว่ากิจกรรมทางการเมืองของพวกเขา

นักโทษทางความคิดบางคนได้กระทำ การต่อต้านระบบทั้งหมดของรัฐ ในขณะที่บางคนได้ดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายของระบบการเมืองภายในประเทศ แต่พวกเขาก็ยังคงถูกจับกุมอยู่ดี ประชาชนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆอาจกลายเป็นนักโทษทางความคิดได้ เนื่องจากเหตุผลหลายประการที่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาได้ ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีความเชื่อใดควรได้รับสิทธิมนุษยชนโดยปราศจาก การเลือกปฏิบัติเพราะเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 2 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ระบุว่า "โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าในรูปแบบใด เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา การเมืองหรือความคิดเห็นอื่น สัญชาติหรือกำนิดทางสังคม ทรัพย์สิน การเกิดหรือสถานภาพอื่น"

ตัวอย่างของการกล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุผลที่จะจับกุมคุมขังนักโทษทางความคิดที่พบเห็นอยู่เสมอ เช่น

- การเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองที่ปราศจากความรุนแรง เช่น กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง หรือการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพันธมิตรฯ เป็นต้น
- การเป็นชนกลุ่มน้อยที่ต่อสู้เพื่อการปกครองตนเอง
- การยืนยันที่จะปฏิบัติพิธีการทางศาสนาที่รัฐไม่ให้ความเห็นชอบ
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหภาพแรงงาน เช่น การนัดหยุดงาน หรือการเดินขบวนประท้วงของคนงาน เป็นต้น
- การตั้งข้อหาว่าพวกเขาก่ออาชญากรรม ทั้งๆที่เป็นเพียงการวิจารณ์ทางการหรือเป็นการชุมนุมทางการเมืองเท่านั้น เช่น การตั้งข้อหาก่อการร้าย หรือการป้ายสีว่าอยู่ในขบวนการล้มเจ้าทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ แต่ก็แจ้งความดำเนินคดีไว้ก่อนเพื่อกลั่นแกล้งกัน เป็นต้น
- การเขียนบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ที่กระตุ้นให้ผู้คนตระหนักในเรื่องของการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศของตน ก็อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวร่วมของผู้ก่อการร้ายแยกดินแดนได้ เป็นต้น
- การปฏิเสธการเข้ารับราชการทหาร สืบเนื่องมาจากความคิดเห็นของตนที่เป็นการปฏิเสธอย่างจริงใจ ( Conscientious Objection)
- การต่อต้านการใช้ภาษาราชการของประเทศ เช่น ในประเทศที่มีภาษาหลักอยู่หลากหลาย หรืออาจจะด้วยเพราะเหตุผลทางการเมือง เช่น อินเดีย แคนาดา ฯลฯ จนต้องมีภาษาราชการมากกว่า 1 ภาษา เนื่องจากเขาบังเอิญอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มี ความคิดเห็นไม่ตรงกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น หมู่บ้านในเขตสีแดงหรือสีชมพูในอดีต หรือ หมู่บ้านในในเขตภาคเหนือหรือภาคอีสานในปัจจุบัน เป็นต้น
- เนื่องจากคนในครอบครัวเป็นศัตรูของรัฐอย่างเปิดเผยเปรียบดังกรณีหมาป่ากับลูกแกะ เป็นต้น
- การอยู่ในสถานที่ที่ถูกจำกัดทางเพศเพราะเหตุเป็นสตรีเพศ เช่น ในอัฟกานิสถานภายใต้ระบอบการปกครองของตาลีบัน
- เนื่องจากอัตตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงหรือที่แสดงออกหรือการข้องแวะในความ สัมพันธ์หรือกิจกรรมของเพศเดียวกัน เช่น กรณีผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซีย เป็นต้น

ตัวอย่างของนักโทษทางความคิดที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักกัน ดีก็คือ อองซาน ซู จี ของพม่าที่เพิ่งถูกปล่อยตัวจากการกักขังไว้ในบ้านของตนเอง(House Arrested) หรือกรณีของนาย Idriss Boufayed นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวลิเบียซึ่งถูกจับกุมภายหลังเขากลับจากการลี้ ภัยในสวิตเซอร์แลนด์ไปลิเบียในเดือน ก.ย.2549 ทั้งๆที่เขาได้รับหนังสือเดินทางและคำยืนยันจากสถานทูตลิเบียประจำกรุงเบิร์ นว่าเขาจะไม่ได้รับอันตรายใดๆในการกลับเข้าประเทศ แต่ปรากฏว่าเขากลับถูกจับในวันที่ 5 พ.ย. 2549 และ ถูกขังเดี่ยวจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 29 ธ.ค.2549 แต่ต่อมาเขาก็ยังถูกจับกุมอยู่ดีในเดือน ก.พ.2550 ขณะที่กำลังวางแผนการชุมนุมอย่างสงบในเมืองเดียวกัน

จากตัวอย่าง ทั้งหมดที่ได้ที่ได้กล่าวมานี้ ผมเห็นว่านักโทษทางความคิดทุกคนควรได้รับการปล่อยตัวโดยทันทีและโดยปราศจาก เงื่อนไข เพราะภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างๆไม่มีสิทธิที่จะกักขังบุคคลเหล่านั้น พวกเขาถูกปล้นอิสรภาพเพราะความเชื่อของตน หรือเพราะอัตตลักษณ์ความเป็นตัวตน มิใช่การเป็นผู้ร้ายโดยกมลสันดาน

เรามารณรงค์ให้ปล่อยตัวนักโทษทางความคิดกันเถอะครับ


 

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553/วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13:00 - 16:00 น. ณ. ห้อง 207 ชั้น 2

“ชวนถกเรื่องพหุวัฒนธรรม” /ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) โดยกลุ่มวิจัยความขัดแย้งและพหุวัฒนธรรมนิยม
ขอเชิญร่วมเสวนาในโครงการ

ครั้งที่ 1 พหุนิยมในเชิงกฎหมาย (Legal Pluralism)

ศ.ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ. ห้อง 207 ชั้น 2

“หากสังคมไทย มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม แต่เหตุใดกฎหมายที่ใช้จึงไม่สามารถรองรับแง่คิดและธรรมเนียมปฏิบัติจาก วัฒนธรรมต่างๆ ได้ทั้งหมด ? การเรียกร้องสิทธิ และการแสดงออกซึ่งความเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง หรือไม่ ในเมื่อสังคมของเรายังคงมีข้อจำกัดด้านกฎหมาย?” ร่วมกันหาคำตอบได้ในวงเสวนาเรื่อง พหุนิยมในเชิงกฎหมาย (Legal Pluralism)


ครั้งที่ 2 “นโยบายภูมิบุตรากับการเมืองเรื่องชาติพันธุ์ในมาเลเซีย”

รศ. สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ณ. ห้อง 207 ชั้น 2

ในปัจจุบันสังคมของเรามีนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชะตากรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มากมาย ทว่า จะมีหนทางใดที่สามารถสร้างนโยบายที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ เหล่านั้น การมองประสบการณ์จากประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์แบบ หนึ่ง ร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะกับนักกฎหมายผู้สนใจชีวิตของคนตัวเล็กตัวน้อยในเสวนา เรื่อง“นโยบายภูมิบุตรากับการเมืองเรื่องชาติพันธุ์ในมาเลเซีย”


เข้าร่วมฟังเสวนาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามโทร 0 2880 9429

วันพุธที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เชิงสะพานวันชาติ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

เชิญฟังการบรรยายเรื่อง “คนมลายูในโลกที่เปลี่ยนแปลง ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมท้องถิ่น”

แก้ไขล่าสุด lekprapai เมื่อ 13 - 12 - 2010 11:48


มูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะพันธุ์ ขอเชิญผู้สนใจ ร่วมเข้าฟังการบรรยายสาธารณะ
เรื่อง “คนมลายูในโลกที่เปลี่ยนแปลง ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมท้องถิ่น”
โดย กัณหา  แสงรายา  วันพุธที่  ๑๕  ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะพันธุ์ เชิงสะพานวันชาติ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ E-mail : lek_prapai@yahoo.com หรือ โทร.(02)2811988  (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)

    ในความขมุกขมัวของสังคมมลายู มุสลิมท้องถิ่นชายแดนใต้ ผู้คนรับรู้เพียงปัญหาแห่งความรุนแรงต่างบาดเจ็บล้มตายเป็นใบไม้ร่วง วรรณกรรมจากพื้นที่แม้จะมีไม่มากนักและส่วนใหญ่เขียนขึ้นจากคนนอกที่เฝ้ามอง เหตุการณ์ แต่ก็พอตอบคำถามให้เห็นถึงเลือดเนื้อและจิตใจของคนในพื้นที่แห่งความขัด แย้ง               
กัณหา  แสงรายา นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้ชีวิตและศึกษาวรรณกรรมและภาษาศาสตร์ในสังคมมลายูอย่างลุ่มลึก นับเป็นผู้รู้สำคัญคนหนึ่งของจังหวัดชายแดนใต้ มุมมองที่สะท้อนปัญหาทางสังคมวัฒนธรรมจากบทความทุกชิ้น ควรค่าแก่การนำมาขบคิดเพื่อแสงสว่างแห่งปัญญาต่อไป

ที่มา http://lek-prapai.org/watch.php?id=27



วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 08.30-17.30 น. ณ โรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

กรมการค้าต่างประเทศ จัดสัมมนา'เจาะตลาดการค้าการลงทุนในจีน (ตอนใต้)' 22 ธ.ค. นี้
    นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า จากการเปิดการค้าเสรีระหว่างอาเซียน – จีน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นมา การค้าของประเทศไทยและจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 35.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่าประมาณ 7.9 แสนล้านบาทโดยมูลค่าการค้าผ่านแดนระหว่างกันมีมูลค่า 14,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 200 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 4,700 ล้านบาท
    เพื่อเป็นการผลักดัน และสนับสนุนการค้าและการลงทุนของไทยไปยังจีนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น กรมการค้าต่างประเทศในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้กำหนดจัดการสัมมนาในหัวข้อ “เจาะตลาดการค้าการลงทุนในจีน (ตอนใต้)” ในวันพุธที่ 22 ธันวาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 08.30-17.30 น. ณ โรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
    การจัดการสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนไทยที่มีความสนใจที่จะไปลงทุนทำการค้าและทำธุรกิจในประเทศจีนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับลู่ทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตมณฑลของจีนตอนใต้ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน พร้อมทั้งรับฟังประสบการณ์จากนักธุรกิจไทยที่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศจีน
    ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมการสัมมนาสามารถ Download กำหนดการสัมมนาและใบสมัครเข้าร่วมการสัมมนาได้ที่ http://www.dft.go.th และส่งใบสมัครได้ทางโทรสารหมายเลข 02 547 4728 ภายในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2553 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1385 หรือที่ 02 547 4730-32               
พาณิชย์ เดินหน้า รุกตลาดค้าชายแดนรับบาทแข็งหวังเพิ่มมูลค่าการค้า

    กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เร่งรุกตลาดค้าชายแดนไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 รับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นหวังเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนไม่น้อยกว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
    นางสาวผ่องพรรณ  เจียรวิริยะพันธ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เดือนสิงหาคมของปีนี้ พบว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และประเทศเพื่อนบ้านคู่ค้าที่สำคัญของไทยอย่างมาเลเซียก็ประสบปัญหาค่าเงินริงกิตแข็งค่าเช่นเดียวกัน คาดว่ามูลค่าการค้าชายแดนไตรมาส 4 อาจจะลดลงจากปีที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศจึงได้เตรียมรับสถานการณ์โดยวางกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างการค้าการลงทุน การสร้างเครือข่าย และพันธมิตรทางการค้ากับประเทศคู่ค้าและประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 จนถึงเดือนกันยายน 2554 ได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกฎระเบียบการค้าการลงทุน โดยวิทยากรซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเชี่ยวชาญจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ รวมทั้งการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและเอกชนบุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา ลาว พม่า จีน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอินเดีย เพื่อเจรจาธุรกิจและสร้างเครือข่ายการค้าการลงทุนร่วมกัน ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.dft.go.th หรือติดต่อได้โดยตรงที่ สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ Hot lines สายด่วน : 1385    
    รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ในปี 2553 (มกราคม-กันยายน) การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีมูลค่าการค้ารวม  584,929.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.0 แบ่งเป็นการส่งออก ที่มีมูลค่า 366,112.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 (จาก 256,472.3 ล้านบาท)  การนำเข้า ที่มีมูลค่า  218,816.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 (จาก 200,527.0 ล้านบาท) ไทยได้ดุลการค้า มูลค่า 106,813.4 ล้านบาท โดยเป็นการค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียสูงสุด มีมูลค่า 376,037.8 ล้านบาท หรือร้อยละ  64.3 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมา คือ  พม่า มูลค่า 103,397.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.9  ลาว มูลค่า 64,003.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.94  และกัมพูชา มูลค่า 41,492.3 หรือร้อยละ 7.1
    สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา มูลค่า 106,179.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.0 ของมูลค่าการส่งออก  เครื่องคอมพิวเตอร์ มูลค่า 30,716.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.4  ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ มูลค่า 18,479.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0  น้ำมันดีเซล มูลค่า 12,587.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5
    สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 61,384.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.1 ของมูลค่าการนำเข้า  ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ มูลค่า 18,095.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.3  สื่อบันทึก ข้อมูล ภาพ เสียง มูลค่า 16,588.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.6  เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ มูลค่า  13,686.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3      


วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น.ณ ห้องประชุม ๑ สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง

           ด้วยสำนักพระราชวัง ร่วมกับ บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กันตนา ออร์กาไนเซอร์ แอนด์ เมเนจเมนท์ จำกัด จะจัดการแสดง แสง เสียง และสื่อผสม "วัฒนธรรมทอง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา" ที่สนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พร้อมทั้งร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคล ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
          ทั้ง นี้ สืบเนื่องจากการที่สำนักพระราชวังและภาคเอกชนทั้ง ๒ หน่วยงานดังกล่าว ได้ร่วมกันจัดการแสดง แสง เสียง และสื่อผสม "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๗๒ พรรษา เฉลิมหล้าจอมราชัน" ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ และการแสดง "ธ สถิตในดวงใจ ไทยทั่วหล้า" ใน ๘ จังหวัดทั่วประเทศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา 
          ใน การนี้ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง จะเป็นประธานในการแถลงข่าวการจัด การแสดงแสง เสียง และสื่อผสม "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา" 
          ณ ห้องประชุม ๑ สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง ในวันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านให้เกียรติร่วมงานแถลงข่าวตามวันและเวลาดังกล่าว โดยได้แนบกำหนดการและแผนที่มาพร้อมนี้ พร้อมทั้งขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
สำนักพระราชวัง
โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๘๑๙๙ ต่อ ๑๑๐๕ - ๑๑๑๔
 
          กำหนดการ
          งานแถลงข่าวการแสดงแสง เสียง และสื่อผสม
          "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา"
          วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
          เวลา ๑๐.๐๐ น.
          ณ ห้องประชุม ๑ สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง 
 
          ๑๐.๐๐ น. - ลงทะเบียน / อาหารว่าง

          ๑๐.๓๐ น. - พิธีกรกล่าวต้อนรับ
          - วิดีทัศน์แนะนำการแสดง
          - การแถลงข่าว การแสดงแสง เสียง และสื่อผสม
          "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา" โดย
          · นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง 
          ประธานการจัดงาน
          · นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สำนักพระราชวัง 
          รองประธานการจัดงาน
          · นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ 
          ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน)
          ผู้อำนวยการด้านการผลิต
          · นายจาฤก กัลย์จาฤก 
          ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา ออร์กาไนเซอร์ แอนด์ เมเนจเมนท์ จำกัด
          ผู้อำนวยการด้านบริหารโครงการ
          - ตัวอย่างการแสดง ในเพลงพระราชนิพนธ์ "เทวาพาคู่ฝัน"
          - แนะนำนักแสดงนำ : รินลณี ศรีเพ็ญ
          - ถ่ายภาพ / ตอบข้อซักถาม
          ๑๑.๑๕ น. - สิ้นสุดการแถลงข่าว
 
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์การแสดงฯ




วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ ห้องบอลรูมบี โรงแรมมารวยการ์เด้น

          สถาบัน วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กำหนดจัดการสัมมนาฟรี! เรื่อง “วว. สร้างธุรกิจ นำผลผลิตสร้างงาน : เครื่องดื่มยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ” ในวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ ห้องบอลรูมบี โรงแรมมารวยการ์เด้น ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. เผยแพร่สู่สาธารณชน โดยมีผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนจำนวน 100 คน ให้ความสนใจตอบรับเข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งจะได้รับทราบถึงศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. อย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การนำผลงานวิจัย วว. ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต

กองประชาสัมพันธ์
โทร. 0 2577 9359-60
โทรสาร.0 2577 9362
E-mail : pr@tistr.or.th

          กำหนดการการสัมมนา
 
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน / ชมนิทรรศการผลงานวิจัยและพัฒนา วว.

09.00 – 09.10 น. ชมวิดิทัศน์แนะนำสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


09.10 - 09.15 น. กล่าวต้อนรับ โดย นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว.


09.15 – 10.30 น. “Click Marketing…Think Out of The Box : สร้างการตลาดและธุรกิจ
ด้วยความคิดสร้างสรรค์”
โดย ผศ.ดร.ชวนะ มหิทธิชาติกุล ภวกานันท์
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.30– 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 11.00 น. “ขั้นตอนการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ วว. เพื่อการผลิตสู่เชิงพาณิชย์”
โดย นายชวลิต ลีลาศิวพร
รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และพัฒนาธุรกิจ วว.

11.00 – 12.00 น. “วว.สร้างธุรกิจ...นำผลผลิตสร้างงาน : เครื่องดื่มยุคใหม่...ใส่ใจสุขภาพ”
w เครื่องดื่มผลไม้รวมเพื่อสุขภาพไลโคเอ็ม (Lyco-M)
โดย.. ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล
นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว.
w เครื่องดื่มน้ำผักเชียงดา
โดย..นางวิมลศรี พรรธนประเทศ นักวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว.
w เครื่องดื่มน้ำมะนาว / น้ำว่านหางจระเข้ / เครื่องดื่มสกัดจากปลายข้าว
โดย.. นางเรวดี มีสัตย์ นักวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว.
w น้ำผักหวานป่าพร้อมดื่ม
โดย.. นายสายันต์ ตันพานิช นักวิชาการ
รักษาการผู้อำนวยการสถานีวิจัยลำตะคอง วว.

12.00-12.30 น. ตอบข้อซักถาม

12.30 น. เป็นต้นไป รับประทานอาหารกลางวัน / ชมนิทรรศการ / ปิดการสัมมนา


 

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[Gift for life] เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้



From: ศุภวัฒน์ เขียวเหลือง <boom_yutasan@hotmail.com>
Date: 2010/11/10
Subject: [Gift for life] เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้
To:

เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้




เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้ (ไอเอ็นเอ็น)

          สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. จัดงาน "Thailand Anti-Corruption Expo 2010" วันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9:00 น. - 19:00 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน C ภายใต้แนวคิด "เมืองคนดี" 

          โซน 1 นิทรรศการ ป.ป.ช. กับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : นำเสนอว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สถานการณ์การทุจริตในประเทศไทย 

          โซน 2 นิทรรศการ Thailand Changes : นำเสนอเรื่องของ Corruption Perception Index หรือ CPI ของไทย และแนวคิดในการยกระดับค่า CPI ภาครัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สากล

          โซน 3 นิทรรศการเครือข่ายเมืองคนดีภาครัฐ : นำเสนอเรื่องของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และหลักคุณธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การทำงานของ ป.ป.ช.

          โซน 4 นิทรรศการเครือข่ายเมืองคนดีภาคธุรกิจเอกชน : นำเสนอเรื่องของหลัก บรรษัทภิบาล และการดำเนินธุรกิจสีขาว

          โซน 5 นิทรรศการเครือข่ายเมืองคนดีภาคประชาสังคม : นำเสนอเรื่องความร่วมมือระหว่างองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นกับภาคประชาชน เน้นเรื่องการพิทักษ์ มิใช่ปราบปราม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

          โซน 6 นิทรรศการเครือข่ายภาคสื่อมวลชน : นำเสนอเรื่อง บทบาทของสื่อมวลชนในการร่วมมือนำเสนอ การต่อต้านคอร์รัปชั่น โซน 7 ส่วนเวทีและลานกิจกรรม : ส่วนกิจกรรมการแสดง จากศิลปิน 

          โซน 8 นิทรรศการฟื้นฟูประเทศไทย : นำเสนอเรื่องการดำเนินงานของ ป.ป.ช. กับเครือข่ายพันธมิตรพิชิตคอร์รัปชั่นในต่างประเทศ ร่วมกับภาคีเครือข่ายและองค์กรนานาชาติ และโครงการแนวร่วมปฏิบัติ Collective Action

          โซน 9 นิทรรศการเมืองเด็กคนดี "The Future by Kids." : นำเสนอเรื่อง แนวความคิดของเด็ก เกี่ยวกับ การต่อต้านการทุจริต

          โซน 10 นิทรรศการ Spiritual Anti-Corruption : The New Challenge : นำเสนอทางเลือกใหม่ ในการต่อต้านการทุจริต ผ่านการชำระจิตใจ โดยสมาธิวิปัสสนา





ขอขอบคุณภาพประกอบจาก muangkhondee.com





[BooM] คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว




From: ศุภวัฒน์ เขียวเหลือง <boom_yutasan@hotmail.com>
Date: 2010/11/9
Subject: [BooM] คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว
To:

คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว




คัมภีร์พุทธ2พันปี อัญเชิญมายังไทย (ไทยโพสต์)

          อัญเชิญพระไตรปิฎกโบราณ อายุกว่า 2 พันปีที่ถือเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นอร์เวย์ให้ไทยยืมมา ประดิษฐานที่พุทธมณฑล เปิดให้ศาสนิกชนได้เคารพบูชาเนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงครบ 7 รอบ

          ที่ห้องรับรองบุคคลทั่วไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 09.09 น. วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีเจริญชัยมงคลคาถาและอัญเชิญธรรมเจดีย์คัมภีร์ หรือพระไตรปิฎก โบราณ อายุกว่า 2,000 ปี จากประเทศนอร์เวย์ โดยมีบุคคลสำคัญ คณะสงฆ์ ประชาชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

          พิธีอัญเชิญธรรมเจดีย์เริ่มด้วยนายนิพิฏฐ์ และนางคัทยา คริสทีนา โนร์ดการ์ด เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ถวายนมัสการธรรมเจดีย์ จากนั้นนางคัทยาได้กล่าวถึงการค้นพบและกล่าวมอบธรรมเจดีย์มาประดิษฐานที่ ประเทศไทย 





          นายนิพิฏฐ์กล่าวต้อนรับว่า วันนี้นับเป็นวันมหามงคล และเป็นวันที่มีความ สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของโลก เป็นวันจัดพิธีรับธรรมเจดีย์พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอันศักดิ์สิทธิ์มา ประดิษฐานและจัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา พุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นมากว่า 100 ปี นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน นอร์เวย์เป็นครั้งแรก

          รมว.วัฒนธรรมกล่าวว่า การอัญเชิญธรรมเจดีย์มาสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประเทศไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่จะได้สักการะธรรมเจดีย์ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า และจะได้ศึกษาเรื่องราวแห่งพระธรรมคำสั่งสอนจากนิทรรศการที่จะ ได้จัดให้มีขึ้นต่อไป

          จากนั้น พระพรหมเมธี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์ นำคณะสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์ นายนิพิฏฐ์รับมอบธรรมเจดีย์จากเอกอัครราชทูตราช อาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เพื่อถวายแด่พระธรรมสิทธินายก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นผู้อัญเชิญธรรมเจดีย์เข้าสู่ ขบวนแห่ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดเตรียมไว้อย่างสมเกียรติ 

          จากนั้นอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบก เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิมุ่งหน้า สู่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งธรรมเจดีย์จะตั้งประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 โดยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมและสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา

          ธรรมเจดีย์ดังกล่าว พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี และนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เดินทางไปรับมอบจากสถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มาถึงประเทศไทยในเช้าวันที่ 8 พ.ย. ทั้งนี้ ธรรมเจดีย์ถือเป็นต้นกำเนิดพระไตรปิฎก พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถูกค้นพบก่อนสงครามจะเกิดขึ้นในถ้ำบริเวณเทือกเขาบามิยัน ตั้งอยู่ห่างประมาณ 2 กม. จากพระพุทธรูปหินบามิยันสูง 53 เมตร ที่ถูกทำลายในปี พ.ศ.2544 ในอดีตดินแดนแถบนี้ชื่อว่าคันธารราฐ อยู่บนเส้นทางสายไหม เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา และปัจจุบันดินแดนแถบ นี้เรียกว่าประเทศอัฟกานิสถาน
    
          สถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน ประเทศนอร์เวย์ ได้คัมภีร์โบราณชุดแรกในปี พ.ศ.2539 จากพ่อค้าของเก่าซัมฟ็อก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้วางแผนการขนย้ายคัมภีร์ทุกวิถีทาง ในช่วงปี พ.ศ.2540-2543 (ในปี พ.ศ.2544 ถ้ำแถบเทือกเขาบามิยันได้ถูกระเบิดทำลายจนหมดสิ้น รวมทั้งองค์หลวงพ่อบามิ ยันสูง 50 เมตร) ปัจจุบันสถาบันสามารถอนุรักษ์คัมภีร์โบราณไว้ได้ประมาณ 5,000 ชิ้นที่ยังเป็นชิ้นส่วนสมบูรณ์และแตกหักเล็กน้อย และส่วนที่เศษชิ้นเล็กๆ อีกประมาณ 8,000 ชิ้น ทั้งหมดมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-12 การจารึกทำไว้ในใบลาน เปลือกไม้ หนังสัตว์และแผ่นทองเหลือง 
              
          นักโบราณคดีและภาษาศาสตร์นานาชาติใช้เวลา 12 ปีทำการชำระคัมภีร์โบราณ โดยสันนิษฐานสรุปว่าเป็นผลงานของพระอรหันต์ที่ได้จารึกพระธรรมวินัยเป็นตัว อักษรในราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือประมาณร่วม 2,000 ปีล่วงมาแล้ว





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  ชมรมส่งเสริมท่องเที่ยวบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี








วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7283 ข่าวสดรายวัน


จุดพลุวาระแห่งชาติ แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก


คอลัมน์ รายงานพิเศษ



วิกฤตน้ำท่วมปีนี้ถือว่าเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

เบื้อง ต้นใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้าน คาดว่ายังไม่พอ เพราะนี่เป็นเพียงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น ยังไม่ได้ประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออก อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคเกษตร ฯลฯ

ทั้งที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิด ชอบเรื่องน้ำและการเตือนภัยอยู่ไม่น้อย แต่ที่ผ่านมาคนไทยกลับต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำกันแทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ท่วม หรือแล้งซ้ำซาก

ปัญหาน้ำท่วมคราวนี้จึงนับเป็นบทเรียนอันเจ็บปวดของคนไทย

สาเหตุเกิดจากอะไร และควรมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ทีมงานเศรษฐ กิจ"ข่าวสด"ได้สอบถามความเห็นจากหลากหลายบุคคล

เริ่ม จาก นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงแผนป้องกันน้ำท่วมในอนาคตว่า ควรมีระบบเตือนภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยม วิทยาซึ่งจะรู้ล่วงหน้าเรื่องสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ กรมชลประทานรู้เรื่องระบบน้ำว่ามีมากน้อยแค่ไหน จะท่วมที่ใด หรือศูนย์เตือนภัยพิบัติ ต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ มันไม่ได้

และการเตือนภัยให้ประชาชนรับทราบเหตุการณ์ต่างๆ นี้ ต้องเตือนบ่อยๆ และอธิบายให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นๆ ได้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ไม่ใช่บอกแค่ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน เย็น มันไม่ได้ รวมทั้งต้องประสานผู้นำในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เตือนประชาชนอีกแรง เพื่อให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะได้ไม่เครียด เพราะบางคนถึงกับหมดเนื้อหมดตัวไปเลยอย่างที่เราเห็นกันอยู่ ณ ขณะนี้

บท เรียนนี้ตนเห็นว่า ต้องมีคำสั่งออกมาเป็นนโยบายจากรัฐหรือเป็น "วาระแห่งชาติ" ซึ่งตนเชื่อว่าจะลดความเสียหายได้มาก หากคิดความเสียหายครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ มันประเมินค่าไม่ได้เลย

ส่วนที่มีคนบอกว่ารัฐบาลชุดนี้โดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจช้านั้นเห็นด้วย จริงๆ แล้วนายกรัฐมนตรีควรจะลงมาเล่นเองเหมือนกับนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน เมื่อมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นเขาจะลงมาบัญชาการเอง ซึ่งสามารถลดความสูญเสียไปได้มาก มีการย้ายคนออกได้เป็นแสนคน ไม่ใช่มาสั่งการให้รัฐมนตรีคนนั้นคนนี้ทำ หรือตั้งเป็นคณะกรรมการซึ่งมันไม่ทันการณ์ ตัวเองในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจสูงสุดควรสั่งการเอง และถ้าหัวหน้าหน่วยงานไหนไม่ทำหรือทำไม่ได้ก็ต้องมีการลงโทษ

"ผม เห็นว่าเรื่องชีวิตของผู้คนนั้นสำคัญกว่าอย่างอื่นโดยเฉพาะทางด้านจิตใจที่ ไม่สามารถประเมินค่าได้ บางคนเครียดต้องฆ่าตัวตายเพราะหมดเนื้อหมดตัว น้ำท่วมนาข้าวเป็นพันๆ ไร่ แล้วรัฐบาลบอกว่าจะชดใช้ให้ไร่ละ 5 พันบาท มันคงทดแทนกันไม่ได้ แต่ถ้ารู้ก่อนล่วงหน้าและเตือนภัยให้ทุกคนเตรียมแผนป้องกัน เช่น รู้ว่าน้ำจะท่วมนาข้าวก็ให้รีบเกี่ยวข้าวไว้ก่อนเพื่อจะได้ช่วยลดความสูญ เสียลงไปได้"นายสมิทธ กล่าว

ด้าน นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน มองว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ตนเห็นว่าเกิดจากวัฏจักรของธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ ดังนั้นผู้คนจะต้องเข้าใจธรรมชาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นหากไม่ถูกแก้ไขเลยประชาชนก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงใน ทุกปี

เช่น ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อ 40 ปีก่อนแม้จะมีปริมาณน้ำไหลบ่าผ่านจังหวัดดังกล่าวในปริมาณที่ใกล้เคียงกับ ขณะนี้แต่ก็ไม่ได้ท่วมขังอย่างในปัจจุบัน สาเหตุเพราะมีช่องทางให้น้ำไหลผ่านเยอะและกว้าง แต่ขณะนี้บ้านเรือนแน่นหนามากขึ้นทำให้ขวางทางน้ำไหล ขณะที่ถนนหนทางแม้จะมีท่อระบายน้ำ แต่เมื่อถูกขวางด้วยบ้านเรือนก็ไม่สามารถระบายได้ ดังนั้นต้องมีการหาวิธีการขยายทางเดินของน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงลำ ตะคองให้เร็วและมากที่สุด

รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาระบบทำน้ำอ้อม เมืองที่กรมชลประทานทำได้สำเร็จในตัวจ.อุดรธานีมาแล้วก็ควรนำมาพิจารณา รวมถึงน้ำท่วมในจ.ชัยภูมิก็เช่นกัน แม้ว่าจะมีลำน้ำปะทาวผ่านใจกลางเมือง แต่เพราะเมืองครอบตัวลำน้ำไว้ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านไปได้อย่างสะดวก จึงประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีและต้องมีการแก้ไขปัญหาเช่นเดียวกับนครราชสีมา

สำหรับ ปัญหาน้ำท่วมใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นั้น นายปราโมทย์ กล่าวว่า เกิดจากปริมาณน้ำที่เยอะเกินกว่าลำน้ำคูคลองต่างๆ จะรับไหว เนื่องจากคลองหรือปากทางรับน้ำแคบ ทำให้น้ำที่ไหลบ่าเข้ามาไหลระบายไม่ทัน ส่งผลให้ท่วมเข้าไปในตัวเมือง

ดังนั้นทางที่จะแก้ไขปัญหาคือการ สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในชุมชนในทุกพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม ซึ่งคนในพื้นที่จะรู้ดีที่สุดมากกว่าคนนอกพื้นที่ และไม่ต้องรอให้หน่วยงานราชการเข้าไปออกคำสั่งว่าควรแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะคนในชุมชน โดยเฉพาะองค์การปกครองท้องถิ่นต่างๆต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันกำหนดแนวทาง การแก้ไขปัญหา

และในการเวนคืนที่ดินหากต้องมีการก่อสร้าง รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องจ่ายชดเชยให้กับประชาชนที่ได้รับผล กระทบในราคาที่เป็นธรรมและจูงใจให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการย้ายที่อยู่ เพื่อก่อสร้างคันกั้นน้ำ ขยาย หรือขุดลำคลองเพื่อรับน้ำ และทุกพื้นที่ต้องกำหนดโซนกั้นน้ำ ซึ่งจะอยู่รอบตัวเมือง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าเขตเศรษฐกิจ เห็นได้จากพื้นที่ชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนที่อาศัยนอกเขตโซนกั้นน้ำก็ต้องทำใจว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม

เพราะหากไม่กำหนดโซนจะทำให้ประชาชนปลูกบ้านเรือนอย่างไม่เป็นระเบียบและขวางทางน้ำไหลเช่นปัจจุบัน

นาย สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เท่าที่รู้ประเทศไทยยังมีการบริหารจัดการน้ำไม่ดี ดูได้จากการเกิดวิกฤตน้ำท่วมสลับกับแห้งแล้งกันตลอดแทบทุกปี

สาเหตุ สำคัญน่าจะเกิดจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องน้ำไม่ทำงานร่วมกัน หรือทำงานด้วยกันไม่ได้ ทะเลาะกันหลายเรื่อง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือบูรณาการหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำมานั่งทำ งานเพื่อให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดน้ำให้ไปด้วยกัน ให้เป็นแผนเดียวกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก อาจไม่มีความจำเป็นนักที่ต้องสร้างเพิ่ม สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการจากนี้ต่อไป ต้องเป็นเขื่อนขนาดเล็ก แก้มลิง และฝายกั้นน้ำ เรื่องนี้คือเรื่องที่รัฐบาลต้องจัดการให้เร่งด่วนและเป็นรูปธรรม ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะไม่สามารถบริหารจัดการกับน้ำให้เพียงพอ ไม่มากไป น้อยไปกับการใช้ในประเทศ

นอกจากนี้เรื่องปัญหาการจัดการน้ำ ถือว่ารัฐบาลไทยจัดการไม่ได้มานานแล้ว หรือจัดการได้ก็ไม่ดีนัก ดังนั้นรัฐบาลต้องเปิดทางให้เอกชนทำ หรือเข้ามาบริหารจัดการ หากใครต้องการใช้น้ำก็ต้องจ่ายค่าน้ำ โดยรัฐบาลจะต้องดูแลเรื่องค่าบริการไม่ให้สูงเกินไป แต่ต้องให้ระบบตลาดสามารถทำงานได้

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีระบบราชการ ที่มีปัญหามาตลอด ข้าราชการไทยต้องได้รับการกระตุ้น หรือให้สามารถขับเคลื่อนงานที่รับผิดชอบให้ได้เต็มประสิทธิภาพ

ส่วน แม่งานใหญ่อย่างกรมชลประทาน โดย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัญหาการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมาต้องพบอุปสรรคจากการต่อต้านการสร้าง เขื่อนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ได้ยาก เพราะพื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็มไม่เหมาะสมกับการสร้างอ่างเก็บน้ำ ส่งผลกระ ทบต่อเกษตรกรเป็นจำนวนมากไม่สามารถจะทำการเกษตรในพื้นที่ของตัวเองได้

ดัง นั้นจากนี้ต่อไปต้องให้ความสำคัญในการเร่งฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาน้ำและแหล่งเก็บน้ำให้สามารถประสานและควบคู่กันไปได้ เพื่อให้แผนการบริหารจัดการน้ำบรรลุผล

นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หลังน้ำลดคงต้องนำเรื่องของบประมาณปี ི ที่กรมชลประทานได้งบประมาณรวม 40,115.16 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 52.51% ของงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมดที่ได้ทั้งปี 76,207 ล้านบาท มาปรับปรุงและเกลี่ยใหม่เพื่อนำงบประมาณที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนมาดำเนินการ ใน 2 เรื่องคือ

1.การผันน้ำเลี่ยงเมือง เพื่อทำทางน้ำไหลผ่านใหม่ เพราะขณะนี้บ้านเมืองเกิดขึ้นมาก และส่วนใหญ่ก็สร้างอยู่ริมแม่น้ำ หากสามารถผันน้ำเลี่ยงเมืองได้ ก็จะกระทบ ต่อชุมชนไม่มาก เพราะที่ผ่านมากรมชลประทานดำเนินการนำร่องไปแล้ว 2 จังหวัดคือ มหาสารคาม และอุดรธานี ที่สร้างเสร็จแล้ว 3 ปีไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมอีกเลย

2.เร่ง ดำเนินการทำแก้มลิง หากมีปริมาณฝนและน้ำมาก ก็จะมีพื้นที่เก็บน้ำเพียงพอ ส่วนเรื่องของการทำเขื่อนขนาดใหญ่ ตามแผนของกรมชลประทาน ที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคทั้งเรื่องของการต่อต้าน การเวนคืน และเรื่องกฎหมาย

ดังนั้น จากนี้ต่อไปรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี คงต้องมี นโยบายเรื่องน้ำอย่างจริงจัง เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำสามารถบูรณาการและเดินหน้าขับเคลื่อนไปได้ โดยสั่งการให้แต่ละจังหวัดช่วยกันตรวจสอบสภาพบ้านเมือง และร่วมกันแก้ปัญหา ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สรุปว่าหลังน้ำลดคราวนี้ น่าจะมีการสังคายนาแผนการบริหารจัดการน้ำครั้งใหญ่ และถ้าจะให้ดีควรทำเป็นวาระแห่งชาติ

เพื่อไม่ให้คนไทยต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า


หน้า 8


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEEzTVRFMU13PT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB3Tnc9PQ==


--
เขียนโดย blogmon ถึง blogmon เวลา 11/06/2010 08:05:00 หลังเที่ยง



 




 



วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขาดรูปใบเดียว อดสอบแพทย์


จาก: lee lee <thai9lee@gmail.com>
วันที่: 20 ตุลาคม 2553, 21:18
หัวเรื่อง: ขาดรูปใบเดียว อดสอบแพทย์
ถึง: 
 
 

เรียนท่านที่รักบ้านเมือง และสื่อมวลชน จดหมายจากคุณอำนวย            สุนทรโชติ

 
                         ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ

                                                                                                  87/2 ถ.ศุขประยูร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

                                                                            20  ตุลาคม 53

เรื่อง              ขอชี้แจงกรณีน.ส.ศรัญญา ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบและข้อเสนอเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในปีต่อๆไป

กราบเรียน    ศ.พญ.บุญมี  สถาปัตยวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการจัดสอบของกสพท.

                   ตามที่ท่านได้ให้ข่าวที่ปรากฎบนหน้าหนังสือพิมพ์ในวันที่ 20 ตุลาคม 53 กรณีที่กสพท.ตัดสิทธิ์น.ส.ศรัญญา จันนามวงค์ไม่ให้เข้าสอบนั้น ผมเห็นว่าท่านยังทราบข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนและการที่ท่านยืนยันว่ากรณีนี้เกิดขึ้นทุกปีนั้นแสดงให้เห็นว่าระบบยังมีปัญหาอยู่ผมจึงขอเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาแบบถาวรเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับนักเรียนในรุ่นต่อๆไปดังนี้

                     1.ตามที่ท่านให้ข่าวว่าทางอนุกรรมการได้ช่วยเหลือโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมจากเดิมภายในวันที่ 3 กย.53 เป็น 1 ตค.53 แต่นักเรียนไม่ติดตามข่าวทางเว็บไซต์ของกสพท.เองนั้น ผมคิดว่าแนวคิดและการกระทำดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเพราะตามประกาศฉบับแรกซึ่งถือเป็นฉบับหลักของกสพท.ที่นักเรียนทุกคนยึดถือนั้นระบุเพียงว่า “ให้ผู้สมัครสอบทุกคนตรวจสอบสถานภาพการสมัคร โดยคลิกที่ link ตรวจสอบสถานภาพการสมัครสอบและสถานที่สอบที่เว็บไซต์ www.9.si.mahidol.ac.th” เท่านั้นในข้อความดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ระบุว่าจะต้องเข้าตรวจสอบภายในเมื่อใดฉะนั้นนักเรียนก็สามารถเข้าตรวจสอบเมื่อไรก็ได้ตราบใดที่เป็นการตรวจสอบก่อนการสอบ ฉะนั้นการที่น.ส.ศรัญญาได้เข้าตรวจสอบในวันที่ 15 ตค.53 ซึ่งเป็นระยะเวลา 15 วันก่อนการสอบจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้ว ประกอบกับข้อความใช้คำว่า “สถานที่สอบ” ทำให้นักเรียนเข้าใจว่าการตรวจสอบจะเป็นการตรวจสอบว่าจะได้สอบในสถานที่ใดเหมือนกับของสทศ.ดังนั้นนักเรียนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่าเป็นการตรวจสอบสถานที่สอบซึ่งจะทำกันเมื่อใกล้การสอบจะมาถึง และผมขอยืนยันท่านว่านักเรียนส่วนใหญ่ที่สมัครสอบกับกสพท.นั้นคิดเข่นนี้และ ณ เวลานี้ก็ยังไม่ได้เข้าไปตรวจดังกล่าวเลย ฉะนั้นการเข้าใจประเด็นนี้ของน.ส.ศรัญญาจึงไม่ได้เกิดจากการตีความผิดของน.ส.ศรัญญาแต่เป็นการเขียนระเบียบไม่ชัดเจนของกสพท.เอง ประกอบกับตารางเวลารับสมัครที่อยู่ในประกาศก็ไม่มีข้อกำหนดว่าให้เข้าไปตรวจสอบได้ภายในเมื่อใดหรือหมดเขตการอุทธรณ์ปัญหาต่างๆเมื่อใดฉะนั้นนักเรียนจึงไม่ได้เข้าใจผิดหรือประมาทแต่อย่างใด

                      และการที่ท่านกล่าวว่า “นักเรียนไม่ติดตามข่าวสารทางเว็บไซต์ของกสพท.เอง” นั้นผมคิดว่าท่านนั้นมีสมมติฐานที่ผิดอย่างมากต่อนักเรียนและวิธีการรับสมัครระดับชาติ เพราะสิ่งที่ถูกต้องนั้นท่านจะต้องเขียนประกาศให้ครบและชัดเจนตั้งแต่ประกาศฉบับแรกที่ถือเป็นประกาศฉบับหลัก เพราะนักเรียนทุกคนจะยึดถือประกาศฉบับนี้เท่านั้น การมีประกาศใดๆเพิ่มเติมขึ้นมาในภายหลังนั้นมีความเสี่ยงอย่างมากที่นักเรียนทุกคนจะไม่รับทราบประกาศเพิ่มเติมดังกล่าวและจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างที่กิดขึ้น ซึ่งท่านก็ได้ยืนยันว่ามีเกิดขึ้นทุกปี และการที่ท่านตั้งสมมติฐานว่านักเรียนทุกคนจะต้องเข้าอ่านประกาศทางเว็บไซต์ของกสพท.อยู่เรื่อยๆหลังจากการสมัครและหลังจากการประกาศฉบับแรกแล้วนั้น เป็นสมมติฐานที่สร้างภาระให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันนักเรียนทุกคนนั้นมีภาระกิจมากอยู่แล้วทั้งการเรียนและการสอบการจะต้องบังคับให้นักเรียนที่สมัครไปแล้วจ่ายเงินและส่งเอกสารไปเรียบร้อยแล้วต้องมานั่งคอยระวังว่ากสพท.จะมีประกาศเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนั้นถือเป็นเรื่องที่สร้างภาระให้กับนักเรียนมากเกินไปและไม่ควรทำอย่างยิ่ง ยิ่งประเทศไทยมีปัญเรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลนั้นการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง

                      ฉะนั้นการที่ท่านอ้างว่าท่านได้ยืดระยะเวลาส่งเอกสารออกไปโดยการประกาศทางเว็บไซต์เพิ่มเติมนั้นไม่ถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเพราะนักเรียนที่มีปัญหาจะไม่รับทราบประกาศดังกล่าว

                      2.ผมมีคำถามว่าทำไมการที่เจ้าหน้าที่ของกสพท.ทราบว่ามีนักเรียนไม่ว่ากี่คนก็ตามได้สมัครสอบและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ขาดเอกสารแค่บางอย่างนั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่านักเรียนคนนั้นสนใจที่จะเข้าสอบจริงๆ แต่การรับสมัครทางอินเตอร์เน็ตและการส่งเอกสารทางไปรษณีย์นั้นเป็นการสื่อสารทางเดียว นักเรียนอาจจะสมัครแต่ระบบไม่รับก็ได้ นักเรียนอาจจะจ่ายเงินแต่ท่านไม่ได้รับก็ได้ และนักเรียนอาจจะส่งเอกสารไปครบแต่ท่านได้รับไม่ครบก็ได้ ประกอบกับในใบสมัครนั้นท่านก็มีทั้งเบอร์โทร.ของนักเรียน เบอร์โทรของผู้ปกครอง ที่อยู่ของนักเรียน และอีเมล์ของนักเรียนทำไมท่านไม่เมตตาโทรหรือส่งจดหมายหรืออีเมล์ไปแจ้งนักเรียนที่มีปัญหานั้นซึ่งทำได้ง่ายมากและปัญหาจะจบ ซึ่งจำนวนนักเรียนที่มีปัญหาก็ไม่ควรจะมากจนท่านไม่สมารถติดต่อกลับไปได้ แต่ถ้าท่านจะอ้างว่าจำนวนนักเรียนที่มีปัญหานั้นมีจำนวนมากจนไม่สามารถติดต่อรายบุคคลได้นั้นก็จะแสดงให้เห็นว่าระบบการรับสมัครของท่านนั้นมีปัญหาจริงๆไม่เช่นนั้นคงไม่มีปัญจำนวนมากซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นท่านก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการรับสมัครให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับค่าสมัครสอบจำนวน 1200 บาทนั้นเมื่อเทียบกับการสอบ GAT/PAT แล้วถือว่าเป็นค่าสมัครที่แพงกว่าของ GAT/PAT เพราะการสอบ  GAT/PAT จะเสียค่าสมัครวิชาละ 150 บาทเท่านั้นซึ่งถ้าเป็นการสอบ 5 วิชาของกสพท.ก็ควรเสียค่าสมัครแค่ 750 บาทเท่านั้น และเมื่อการสอบ GAT/PAT ของสทศ.เก็บค่าสมัคร 750 บาทแล้วยังมีกำไรก็แสดงว่าการของของกสพท.น่าที่จะต้องมีกำไรเป็นเท่าทวี และยิ่งไปกว่านั้นการสอบ GAT/PAT ของสทศ.นั้นไปดำเนินการสอบที่ศูนย์สอบในทุกจังหวัดทำให้ยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายมากแต่ยังมีกำไร แต่การสอบของท่านกระทำในศูนย์สอบไม่กี่แห่งก็ยิ่งต้องมีกำไรมากขึ้นไปอีก แล้วเมื่อท่านมีกำไรจำนวนมากทำไมท่านไม่จัดงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้แก้ปํญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่นการติดต่อกับนักเรียนที่มีปัญหาทางโทรศัพท์หรือทางจดหมายซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายไม่มากเลยเมื่อเทียบกับกำไรที่ท่านได้รับ

                3.การที่ท่านกล่าวว่าการที่จะให้น.ส.ศรัญญาได้เข้าสอบนั้น “จะไม่ยุติธรรมกับคนอื่นๆ”นั้นผมไม่เข้าใจว่าการอนุญาตให้นักเรียนที่สมัครและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วได้เข้าสอบนั้นมันไม่ยุติธรรมกับคนอื่นอย่างไร ถ้าท่านจะหมายความว่าท่านก็ถือปฏิบัติเช่นนี้กับนักเรียนจำนวนมากที่มีปัญหาจนนักเรียนเหล่านั้นไม่สามารถเข้าสอบได้แล้ว ก็ต้องถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นตระหนกว่าท่านได้สร้างระบบและกติกาที่ส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากไม่ได้เข้าสอบและเป็นเช่นนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงท่านควรกลับไปแก้ไขที่ระบบไม่ใช่โยนบาปไปให้นักเรียน โดยหลักการการสร้างกติกาสาธารณะแล้วการสร้างระบบหรือกติกาใดๆจะต้องยึดหลักว่าคนที่อ่อนแอที่สุดในสังคมจะต้องได้รับความสะดวกจากระบบนั้นได้ ไม่ใช่คิดแค่เพียงว่าถ้ามีคนจำนวนมากปฏิบัติได้ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่ยุติธรรมแล้ว

                 ผมขอยืนยันกับท่านว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็จะเป็นรอยบาปที่ติดตัวเขาไปตลอดชีวิต ซึ่งประเด็นนี้ยิ่งเมื่อได้เกิดขึ้นกับใครด้วยตนเองหรือเกิดกับลูกหลานของเขาเขาก็จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความเจ็บปวดดังกล่าว ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับนักเรียนในปีถัดๆไป ผมจึงขอเสนอวิธีการแก้ปัญหาดังนี้

                 ก. กำหนดกติกาให้ชัดเจนว่านักเรียนแต่ละคนจะต้องทำอะไรเมื่อไร และต้องไม่เปลี่ยนแปลงกติกาอีก เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ต้องคอยระวังที่จะต้องเข้าเช็คเว็บไซต์เป็นระยะๆเพราะกลัวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกติกา

                 ข. ถ้าท่านยังยืนยันที่จะใช้ระบบการรับสมัครแบบการสื่อสารทางเดียวแบบนี้ ควรแบ่งกำไรจำนวนหนึ่งมาเป็นค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับนักเรียนที่มีปัญหา

                 และสุดท้ายนี้ผมขอเรียนให้ท่านทราบว่าขณะนี้อนาคตของนักเรียนจำนวนหนึ่งกำลังขึ้นอยู่กับความเมตตาของท่าน เพียงแค่ท่านยอมลำบากในการแก้ไขเอกสารเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีอนาคตที่สวยงามต่อไป

                                                              อำนวย      สุนทรโชติ

                                                                 โทร.0865676052








วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๔๕ น. ณ ห้องมิ่งเมือง ชั้น ๔ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ หัวลำโพง กรุงเทพฯ

 
 
     วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓   เวลา ๐๘.๔๕ น. นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม ณ ห้องมิ่งเมือง ชั้น ๔ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ หัวลำโพง กรุงเทพฯ

--

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการเยาวชนชายขอบ "เปลี่ยนพื้นที่ตะโกน"

โครงการเยาวชนชายขอบ "เปลี่ยนพื้นที่ตะโกน"

Activity Date: 
Wed, 2010-10-20 09:00

สถานที่: ห้องประชุมสภาพัฒนาการเมือง ชั้น ๔ สภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการฯ

 

9.00 – 9.20 น. ละครข้างสุเหร่า "การเมืองดี...ชีวิตดี"

9.20 – 9.45 น. ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวต้อนรับและแนะนำสภาพัฒนาการเมือง

9.45 – 10.00 น. นำเสนอข้อค้นพบจากงานวิจัย "เยาวชนชายขอบหญิงชายกับการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย"

10.00 – 11.30 น. เวทีเยาวชนเพื่อนำเสนอประเด็นสาธารณะที่สำคัญและห่วงใยของเยาวชนจากพื้นที่ชายขอบ

11.30 – 12.30 น. "เยาวชนชายขอบร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ใหญ่เมือง": รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยว ข้อง

------------------------------------------------------------------------

สถานที่: อาคารรัฐสภา

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น. เยาวชนชายขอบร่วมแลกเปลี่ยนกับนักการเมืองในรัฐสภา: เวทีเยาวชนเพื่อนำเสนอข้อห่วงใย/ประเด็นคำถาม และแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาของพื้นที่กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง
อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๓ เยาวชนจากสามจังหวัดชายแดนใต้ พบกับ สส. สว. ที่มาจาก สามจังหวัดชายแดนใต้

อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๔ เยาวชนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบกับ นักการเมืองที่เกี่ยวข้องในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๕ เยาวชนพบกับนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประเด็นธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน

14.30 – 14.45 น. ยื่นหนังสือให้กับผู้แทนรัฐบาล
14.45 – 15.00 น. เยาวชนชายขอบ: แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
----------------------------------------------------------------------

สถานที่: วีเทรน อินเตอร์เนชั่นแนลเฮ้าส์
15.30 – 16.00 น. กิจกรรมสันทนาการ
16.00 – 18.00 น. กิจกรรม "World Café" เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเยาวชนเมือง
18.30 – 21.30 น. อาหารเย็น และ กิจกรรม/การแสดงศิลปวัฒนธรรม

 

 

*เครือข่ายเยาวชนชายขอบเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย 17 องค์กร

ภาคเหนือ
1. กลุ่มตะกอนยม "โครงการศึกษาวิถีชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้"
2. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา "โครงการเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสถานะและสิทธิมนุษยชนจังหวัดเชียงราย"
3. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง "โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในการจัดการที่ดินในเขต ป่าโดยรูปแบบโฉนด"
4. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย "พัฒนาศักยภาพเยาวชนชนเผ่าเพื่อให้เข้าถึงกลไกและการบริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบล"

ภาคอีสาน
1. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) (1) "โครงการพัฒนาทักษะแกนนำเยาวชนในการส่งเสริมประชาธิปไตย" (2) "โครงการโรงเรียนการเมือง ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน" (3) โครงการค่ายสิทธิมนุษยชนเพื่อคนรุ่นใหม่"
2. เครือข่ายที่ดินสมัชชาคนจน "โครงการเสริมสร้างขบวนการเรียนรู้การทำงานทางสังคมของเยาวชนหญิงชายในอีสาน"
3. Friend of Activist Network "โครงการสื่อสร้างสรรค์สะท้อนปัญหาเขื่อนโปร่งขุนเพชร"

อันดามัน
1. เครือข่ายเยาวชนอ่าวพังงา "โครงการค่ายฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์และส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น"
2. องค์กรความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (1) "โครงการพัฒนาความร่วมมือภาคีสนับสนุนเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มเยาวชน อันดามัน" (2) "โครงการสร้างศักยภาพกลุ่มเยาวชนอันดามันและเครือข่ายเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย"
3. เยาวชนกลุ่มเทียนไข "โครงการเยาวชนส่องสว่างสู่ชุมชน"
4. มูลนิธิประทีปธรรมเพื่อการศึกษา "การเมืองดี...ชีวิตดี โดยกลุ่มสื่อสาธารณะตัวน้อย"

สามจังหวัดชายแดนใต้
1. กลุ่มเยาวชนวิจัยเพื่อประชาธิปไตย "โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจประชาธิปไตย"
2. กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ "โครงการสื่อวิทยุชุมชนสร้างสรรค์ประชาธิปไตยชุมชน"
3. เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ "โครงการเยาวชนจิตสาธารณะสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน"
4. เครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ (1) " โครงการครูอาสาพัฒนาตาดีกา จังหวัดชายแดนภาคใต้" (2) "โครงการสื่อ InSouth สื่อทางเลือกชายแดนใต้"
5. มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ "โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนสู่การเรียนรู้ประชาธิปไตยทางการเมือง"
6. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ "โครงการสานสัมพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ"




วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา 07.00-13.00 น. ณ ชั้น 1 อาคารดุลโสภาคย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กำหนดจัดงาน “วันเบาหวานโลก 2553” World Diabetes Day 2010 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา 07.00-13.00 น. ณ บริเวณหน้าหน่วยตรวจสูติ-นรีเวชกรรม ชั้น 1 อาคารดุลโสภาคย์
          งานนี้เป็นการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตตามโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 จึงขอเชิญผู้สนใจร่วมงานตามกำหนดการดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิชญ์วรา พันธุ์พิทย์แพทย์ โทรศัพท์ 0-2926-9340-2
          
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-9269310-1 นางสาวนภาพร บุญฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 
          โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

--

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อดีตรมว.บัวแก้ว แนะคนไทยศึกษา-ถอดบทเรียนความขัดแย้งของชาติในอดีต

โดย เฉพาะพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศของ ร. 5 ควรนำมาประยุกต์ใช้ “สุรเกียรติ์” เปิดหน้าประวัติศาสตร์ชี้กรณีเขาพระวิหารที่หลายคนยังมีคำถาม  ถ้าศึกษาให้ดีจะเข้าใจสถานการณ์ตอนนั้น ประเทศไทยมีข้อจำกัดอย่างไร

 

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ และมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า จัดสัมมนาเชิงวิชาการ “รำลึก 100 ปีปิยมหาราชานุสรณ์: บทเรียนความอยู่รอดของชาติท่ามกลางความขัดแย้ง” ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ และเลขาธิการมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า กล่าวเปิดงาน

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวว่า พระราชวิเทโศบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการปฏิรูปแผ่น ดินสยามครั้งใหญ่ที่ผ่านมานั้น ควรถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวางรากฐานและดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศ ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม เกษตรกรรม การปกครอง การคลัง ความมั่นคงของชาติ หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ ด้วย

“ โดยเฉพาะพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศของรัชกาลที่ 5 ก็ควรนำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพระองค์ทรงใช้นโยบายทางต่างประเทศที่ทำให้เกิดผล 3 เรื่องใหญ่ คือ เกิดการผสนผสานทางศิลปวัฒนธรรม ของตะวันตกอย่างกลมกลืน, นโยบายที่ต้องนำพาการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยขึ้นในทุกๆ ด้าน และทำให้เรารักษาดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศและเอกราชไว้ได้”

อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า อยากให้ประเทศไทยศึกษาพระราชวิเทโศบายที่ทรงให้ความสำคัญเรื่องการสร้าง สมดุลของชาติมหาอำนาจต่างๆ (Balancing of Power/ Balancing of Foreign) ท่ามกลางกระแสล่าอาณานิคมขณะนั้น ได้สร้างมิตรทั้งใกล้และไกลเพื่อหาเพื่อนร่วมสนับสนุนในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศแก่ไทย พร้อมการประสานประโยชน์แก่มหาอำนาจ ขณะนี้ไทยก็ควรตระหนักเรื่องนี้เช่นกัน

สำหรับการสร้างสมดุลกับประเทศมหาอำนาจ  อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายทางต่างประเทศที่เน้นความร่วมมือต่างๆ ที่ทำให้มหาอำนาจสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทำให้มหาอำนาจต่างๆ มีบทบาทที่สมดุลในภูมิภาคและประเทศไทย มีประเทศใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยไทยได้ใช้ทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคีในการสร้างความร่วมมือ เช่น ทวิภาคีที่ชัดเจนกับจีน อินเดีย รัสเซีย ฯลฯ และไม่ทิ้งความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา  ส่วนพหุภาคี เช่น กลุ่มประเทศยุโรป กลุ่มประเทศแม่น้ำอิระวดี-แม่โขง ประชาคมอาเซียน อีสเอเชียซัมมิท (EAS) ฯลฯ

“การสร้างสมดุลกับมหาอำนาจในสถานการณ์วิกฤติต่างๆ  ทำให้ประเทศไทยรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้ เพราะเรามีจุดยืนต่างประเทศที่สามารถยืนอยู่กับสหรัฐ อังกฤษ รัสเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศมุสลิมได้ด้วย ดังนั้นเราควรใช้พระราชวิเทโศบายการสร้างสมดุลมหาอำนาจมาใช้  โดยเฉพาะกับมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้”

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวว่า การศึกษาและความเข้าใจประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในทางนิติศาสตร์ระหว่าง ประเทศ คือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ในห้วงเวลานั้นๆ ด้วย ว่า ช่วงที่กฎหมายฉบับนั้นๆ เกิดขึ้นภายใต้บริบทของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในขณะนั้นอย่างไรบ้าง จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพราะอะไร และมีแนวทางการบังคับใช้อย่างไร

“ผมเห็นว่าประเด็นปัญหาต่างๆ ในการพิจารณาผลของกฎต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ที่เราจะพอใจหรือไม่พอใจ โดยใช้เหตุการณ์ในปัจจุบันไปตัดสินเหตุการณ์ในอดีตนั้นคงไม่ได้”

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวถึงกรณีปราสาทเขาพระวิหารหลายคนตั้งคำถามว่า เราไม่ควรแพ้คดีในศาลโลกเพราะหลักกฎหมายปิดปาก ไทยไม่คัดค้านแผนที่ที่ฝรั่งเศสร้างขึ้น เรามีพฤติกรรมที่ยอมรับโดยปริยายตั้งแต่ปีค.ศ.1904 ที่มีอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส จนปีค.ศ.1907 ที่มีสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งผู้ใหญ่ของไทยในเวลานั้นก็ไปเยี่ยมเยียนพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่ได้ปฏิเสธการเป็นเจ้าของของฝรั่งเศส ทั้งที่เราเชื่อว่าเส้นของแผนที่ที่ร่างขึ้นบริเวณเขาพระวิหารนั้นไม่ถูก ต้อง เพราะฉะนั้นศาลจึงถือว่า กฎหมายปิดปากเรา ถือว่า เรายอมรับ เราไม่ได้ค้าน ซึ่งเรื่องนี้นั้นผู้รู้หลายท่านก็อธิบายให้เราเข้าใจได้ว่า ปีค.ศ.1907 นั้นเป็นปีที่เราเสียเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ เป็นปีที่เราเสียนครวัดนครธม แต่เราก็ได้จันทบุรีและตราดคืนมา

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวอีกว่า ถือว่าเป็นพระปรีชาสามารถอย่างมากด้านต่างประเทศ เพราะฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นมหาอำนาจผู้ล่าอาณานิคม คือเวลานั้นเราเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสไม่ใช่เสียให้กัมพูชา เพราะฉะนั้นในปีค.ศ.1907 ที่เราเสีย2-3 จังหวัดไป แต่ได้จันทบุรีและตราดกลับมา

“เราไม่ควรจะไปทักท้วงปราสาทเขาพระวิหาร โดยบอกว่าการลากเส้นปราสาทเขาพระวิหารของฝรั่งเศสนั้นผิดพลาด ทำให้ล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย ถ้าหยิบยกขึ้นฝรั่งเศสคงจะไม่ยอมฟัง แต่ฟังก็คงไม่ให้มาเปล่าๆ คงจะบีบบังคับเอาจังหวัดอะไรของเราไปอีกหลายจังหวัด ซึ่งก็คงไม่คุ้มกับปราสาทหนึ่งแห่งเป็นแน่ ถ้าเราศึกษาในมุมนี้ก็จะเข้าใจได้ว่า สถานการณ์ในตอนนั้น ประเทศไทยมีข้อจำกัดอย่างไร”

อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า บรรพบุรุษของเรามีความฉลาดหลักแหลม ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียอย่างรอบคอบ และมียุทธศาสตร์สมบูรณ์แล้วอย่างไรบ้าง ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์การฑูตของรัชกาลที่ 5 จะทำให้เราเข้าใจผลต่างๆ ทั้งที่เราพอใจและอาจจะไม่พอใจบ้างก็ตาม แต่เราจะรู้ว่า เรื่องนั้นๆ มีที่มาอย่างไร มีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการเจรจาอย่างไรบ้าง

“บางครั้งผมเป็นห่วงการหยิบยกเรื่องของประเด็นเส้นเขตแดนมาเป็นประเด็น การเมืองภายในประเทศ เราโยงความรักชาติเข้าไปในอดีต ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ อารมณ์ต่างๆ จะทำให้เราเข้าใจผู้นำประเทศในยุคก่อนๆ คลาดเคลื่อนผิดไป ซึ่งจะทำให้เราสับสน จุดยืนในอดีต และจุดยืนที่เราควรกำหนดในปัจจุบัน”

อดีตรมว.ต่างประเทศ ยังกล่าวอีกว่า อยากให้ทุกคนศึกษาพระราชวิเทโศบายของรัชกาลที่ 5 น้อมมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทย ศึกษาถอดบทเรียนทางประวัติศาสตร์เพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและเพื่อ ประกอบจุดยืนของสังคมไทยเพื่อความอยู่รอดของชาติในเวทีระหว่างประเทศที่มี สมดุลทั้งกับประเทศมหาอำนาจ และสร้างมิตรกับประเทศไม่ใกล้ไม่ไกล เพื่อประโยชน์ทุกด้านของประเทศและคนไทยโดยส่วนรวมต่อไปด้วย

http://www.thaireform.in.th/news-education/1845-2010-09-01-09-06-33.html


 

วันที่ 20-26 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์การค้าย่านราชประสงค์ สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ สยามดิคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และเกษรพลาซ่า


ผุด Thailand Fashion Expo ชู กทม. ศูนย์กลางแฟชั่นเอเชีย

 

       "ก.พาณิชย์" เปิดตัวโครงการ Thailand Fashion Expo 2010 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด “Gate Way to Workld Fashion in Asia” เพื่อประกาศศักยภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยให้เป็นผู้นำด้านสินค้า แฟชั่นในเอเชีย-แปซิฟิก นำเสนอความยิ่งใหญ่ครั้งแรกแห่งปรากฎการณ์แฟชั่นระดับโลกในอาเซียนและเพื่อ ให้บรรลุเป้าหมายภายใต้วิสัยทัศน์ที่จะผลักดัน Thailand become the biggest high potential player in the world Fashion market in Asia โดยมีภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันโครงการคับคั่ง อาทิ กรมส่งเสริมการส่งออก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย สมาคมการค้าเครื่องประดับแฟชั่น สมาคมเครื่องหนังไทยศูนย์การค้าสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เกษรพลาซา และ อสมท.
       
       นาง พรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการ Thailand Fashion Expo2010 เป็นกลไกของกระทรวงพาณิชย์เพื่อที่จะขับเคลื่อนธุรกิจการค้าไทยโดยเฉพาะ สินค้าและบริการด้านแฟชั่นของประเทศ ให้สามารถขยายมูลค่าทางการค้าทั้งในประเทศและส่งออกสู่ตลาดโลก รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของ ภูมิภาค ASEAN และเอเชีย
       
       โครงการ Thailand Fashion Expo 2010 กำหนดให้มีขึ้นในเดือนตุลาคมศกนี้ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านแฟชั่น และเรียกคืนความเชื่อมั่นให้กลุ่มผู้ประกอบการโดยเฉพาะนักธุรกิจที่ได้รับผล กระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนบุคคลากรด้านการออกแบบแฟชั่นไทยให้มีโอกาสเข้า สู่ตลาดธุรกิจการค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่นในประเทศและตลาดโลกเพิ่มมากขึ้นผ่าน กิจกรรมที่จะมีขึ้นในวันงานดังนี้
       
       กิจกรรมที่ 1 Activities On Ground ระหว่างวัน ที่ 20-26 ตุลาคม ประกอบด้วย
       
       -ครั้ง แรกของเอเซียที่มีดีไซน์เนอร์ระดับโลก มาร่วมแสดงผลงานพร้อมกันสองคนได้แก่ วิเวียน เวสวู๊ส และ ก้อย สุวรรณเกตุ ร่วมด้วยดีไซน์เนอร์ไทยชื่อดัง กว่า 38 แบรนด์ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์
       
       -ครั้ง แรกในประวัติศาสตร์ที่ห้างสรรพสินค้าชื่อดังของเมืองไทย จับมือเพื่อร่วมผนึกกำลังสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่วงการแฟชั่นไทย ได้แก่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เซ็นทรัลเวิลด์ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และ เกษรพลาซ่า
       
       -การ แสดงแฟชั่นโชว์กว่า 40 รอบ จากผู้ประกอบการแฟชั่นไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก 2 เวที Grand Runway ที่สยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย
       
       -มหกรรม การแสดงสินค้าแฟชั่น ณ ย่านการค้าราชประสงค์ ปทุมวัน โดยรวบรวมผู้ประกอบการสินค้าแฟชั่นแบรนด์ไทยจำนวนทั้งสิน 300 คูหา ณ บริเวณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่
       
       -การจับคู่ทางธุรกิจ [Business Matching] โดยกระทรวงพาณิชย์ ร่วมด้วยกรมส่งเสริมการส่งออกส่งเทียบเชิญนักธุรกิจที่คร่ำหวอดในแวดวง แฟชั่นจากทั่วโลกร่วมงานกว่า รายเพื่อร่วมงาน ทั้งนี้ตลอดทั้ง 7 วัน ของการจัดงาน จะมีผู้ซื้อรายใหญ่จากกลุ่มห้างสรรพสินค้าทั่วโลกร่วมงานอย่างคับคั่ง
       
       -Gala Night งานแสดงแฟชั่นโชว์ ที่ยิ่งใหญ่ โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในวันที่ 21 ตุลาคม ศกนี้
       
       -สัมมนาพิเศษเรื่อง EFFECTIVE DESIGN โดย ก้อย สุวรรณเกตุ ในวันที่ 22 ตุลาคม 2553
       
       ด้าน นางบุษบา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้สนับสนุนการจัดงาน กล่าวว่า เซ็นทรัลรู้สึกยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการจังาน Thailand Fashion Expo2010 ครั้งนี้ในฐานะที่เซ็นทรัลเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการค้าปลีกอย่างยาวนาน ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการขับเคลื่อนแบรนด์ไทย ซึ่งจากการสำรวจยอดซื้อสินค้าภายในเซ็นทรัลต่อใบเสร็จจะเห็นได้ว่าด้าน แฟชั่นมียอดเติบโตทุกปี การที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเปิดตลาดต่างประเทศ รวมถึงการนำลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามาเมืองไทย ครั้งนี้ก็เชื่อมั่นว่าอนาคตแฟชั่นแบรนด์ที่สร้างสรรค์โดยไทยดีไซน์เนอร์ของ เราก็จะสามารถนำเม็ดเงินกลับเข้ามาหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
       
       นาย เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า การร่วมงานครั้งนี้สยามพารากอน ได้เตรียมพื้นที่ที่บริเวณลานพาร์คพารอน ให้เป็นแกรนด์รันเวย์ ซึ่งเป็นพื้นที่การจัดโชว์ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพื้นที่สำคัญที่มีความโดดเด่น สามารถสร้างการรับรู้ได้ในวงกว้าง เพราะพาร์คพารากอนนั้นอยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม ซึ่งมีผู้ใช้บริการหมุนเวียนวันละ 4-5 แสน คนต่อวัน ประกอบกับลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่หมุนเวียนมาจับจ่ายใช้สอยในสยาม พารากอนจำนวน 200,000 คนต่อวัน เชื่อว่าเฉพาะที่สยามพารากอนจะสามารถโชว์ผลงานผ่านสายตาผู้คนนับล้านคน เชื่อมั่นว่าการจัดงานในครั้งนี้สยามพารากอนจะเป็นหนึ่งในพลังการขับเคลื่อน แฟชั่นไทยของเราให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน อย่างแน่นอน
       
       สำหรับ งาน Thailand Fashion Expo2010 จัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าย่านราชประสงค์ สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ สยามดิคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และเกษรพลาซ่า ระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคม 2553
       
       ****ข้อมูลจาก
www.smethailandclub.com****

 

 

ที่มา  :  ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2553



--