From: ศุภวัฒน์ เขียวเหลือง <boom_yutasan@hotmail.com>
Date: 2010/11/9
Subject: [BooM] คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว
To:
คัมภีร์พุทธ2พันปี อัญเชิญมายังไทย (ไทยโพสต์)
อัญเชิญพระไตรปิฎกโบราณ อายุกว่า 2 พันปีที่ถือเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นอร์เวย์ให้ไทยยืมมา ประดิษฐานที่พุทธมณฑล เปิดให้ศาสนิกชนได้เคารพบูชาเนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงครบ 7 รอบ
ที่ห้องรับรองบุคคลทั่วไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 09.09 น. วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีเจริญชัยมงคลคาถาและอัญเชิญธรรมเจดีย์คัมภีร์ หรือพระไตรปิฎก โบราณ อายุกว่า 2,000 ปี จากประเทศนอร์เวย์ โดยมีบุคคลสำคัญ คณะสงฆ์ ประชาชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
พิธีอัญเชิญธรรมเจดีย์เริ่มด้วยนายนิพิฏฐ์ และนางคัทยา คริสทีนา โนร์ดการ์ด เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ถวายนมัสการธรรมเจดีย์ จากนั้นนางคัทยาได้กล่าวถึงการค้นพบและกล่าวมอบธรรมเจดีย์มาประดิษฐานที่ ประเทศไทย
นายนิพิฏฐ์กล่าวต้อนรับว่า วันนี้นับเป็นวันมหามงคล และเป็นวันที่มีความ สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของโลก เป็นวันจัดพิธีรับธรรมเจดีย์พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอันศักดิ์สิทธิ์มา ประดิษฐานและจัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา พุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นมากว่า 100 ปี นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน นอร์เวย์เป็นครั้งแรก
รมว.วัฒนธรรมกล่าวว่า การอัญเชิญธรรมเจดีย์มาสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประเทศไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่จะได้สักการะธรรมเจดีย์ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า และจะได้ศึกษาเรื่องราวแห่งพระธรรมคำสั่งสอนจากนิทรรศการที่จะ ได้จัดให้มีขึ้นต่อไป
จากนั้น พระพรหมเมธี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์ นำคณะสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์ นายนิพิฏฐ์รับมอบธรรมเจดีย์จากเอกอัครราชทูตราช อาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เพื่อถวายแด่พระธรรมสิทธินายก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นผู้อัญเชิญธรรมเจดีย์เข้าสู่ ขบวนแห่ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดเตรียมไว้อย่างสมเกียรติ
จากนั้นอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบก เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิมุ่งหน้า สู่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งธรรมเจดีย์จะตั้งประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 โดยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมและสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา
ธรรมเจดีย์ดังกล่าว พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี และนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เดินทางไปรับมอบจากสถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มาถึงประเทศไทยในเช้าวันที่ 8 พ.ย. ทั้งนี้ ธรรมเจดีย์ถือเป็นต้นกำเนิดพระไตรปิฎก พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถูกค้นพบก่อนสงครามจะเกิดขึ้นในถ้ำบริเวณเทือกเขาบามิยัน ตั้งอยู่ห่างประมาณ 2 กม. จากพระพุทธรูปหินบามิยันสูง 53 เมตร ที่ถูกทำลายในปี พ.ศ.2544 ในอดีตดินแดนแถบนี้ชื่อว่าคันธารราฐ อยู่บนเส้นทางสายไหม เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา และปัจจุบันดินแดนแถบ นี้เรียกว่าประเทศอัฟกานิสถาน
สถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน ประเทศนอร์เวย์ ได้คัมภีร์โบราณชุดแรกในปี พ.ศ.2539 จากพ่อค้าของเก่าซัมฟ็อก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้วางแผนการขนย้ายคัมภีร์ทุกวิถีทาง ในช่วงปี พ.ศ.2540-2543 (ในปี พ.ศ.2544 ถ้ำแถบเทือกเขาบามิยันได้ถูกระเบิดทำลายจนหมดสิ้น รวมทั้งองค์หลวงพ่อบามิ ยันสูง 50 เมตร) ปัจจุบันสถาบันสามารถอนุรักษ์คัมภีร์โบราณไว้ได้ประมาณ 5,000 ชิ้นที่ยังเป็นชิ้นส่วนสมบูรณ์และแตกหักเล็กน้อย และส่วนที่เศษชิ้นเล็กๆ อีกประมาณ 8,000 ชิ้น ทั้งหมดมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-12 การจารึกทำไว้ในใบลาน เปลือกไม้ หนังสัตว์และแผ่นทองเหลือง
นักโบราณคดีและภาษาศาสตร์นานาชาติใช้เวลา 12 ปีทำการชำระคัมภีร์โบราณ โดยสันนิษฐานสรุปว่าเป็นผลงานของพระอรหันต์ที่ได้จารึกพระธรรมวินัยเป็นตัว อักษรในราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือประมาณร่วม 2,000 ปีล่วงมาแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ชมรมส่งเสริมท่องเที่ยวบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี
วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7283 ข่าวสดรายวัน
จุดพลุวาระแห่งชาติ แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
วิกฤตน้ำท่วมปีนี้ถือว่าเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
เบื้อง ต้นใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้าน คาดว่ายังไม่พอ เพราะนี่เป็นเพียงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น ยังไม่ได้ประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออก อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคเกษตร ฯลฯ
ทั้งที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิด ชอบเรื่องน้ำและการเตือนภัยอยู่ไม่น้อย แต่ที่ผ่านมาคนไทยกลับต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำกันแทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ท่วม หรือแล้งซ้ำซาก
ปัญหาน้ำท่วมคราวนี้จึงนับเป็นบทเรียนอันเจ็บปวดของคนไทย
สาเหตุเกิดจากอะไร และควรมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ทีมงานเศรษฐ กิจ"ข่าวสด"ได้สอบถามความเห็นจากหลากหลายบุคคล
เริ่ม จาก นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงแผนป้องกันน้ำท่วมในอนาคตว่า ควรมีระบบเตือนภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยม วิทยาซึ่งจะรู้ล่วงหน้าเรื่องสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ กรมชลประทานรู้เรื่องระบบน้ำว่ามีมากน้อยแค่ไหน จะท่วมที่ใด หรือศูนย์เตือนภัยพิบัติ ต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ มันไม่ได้
และการเตือนภัยให้ประชาชนรับทราบเหตุการณ์ต่างๆ นี้ ต้องเตือนบ่อยๆ และอธิบายให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นๆ ได้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ไม่ใช่บอกแค่ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน เย็น มันไม่ได้ รวมทั้งต้องประสานผู้นำในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เตือนประชาชนอีกแรง เพื่อให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะได้ไม่เครียด เพราะบางคนถึงกับหมดเนื้อหมดตัวไปเลยอย่างที่เราเห็นกันอยู่ ณ ขณะนี้
บท เรียนนี้ตนเห็นว่า ต้องมีคำสั่งออกมาเป็นนโยบายจากรัฐหรือเป็น "วาระแห่งชาติ" ซึ่งตนเชื่อว่าจะลดความเสียหายได้มาก หากคิดความเสียหายครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ มันประเมินค่าไม่ได้เลย
ส่วนที่มีคนบอกว่ารัฐบาลชุดนี้โดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจช้านั้นเห็นด้วย จริงๆ แล้วนายกรัฐมนตรีควรจะลงมาเล่นเองเหมือนกับนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน เมื่อมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นเขาจะลงมาบัญชาการเอง ซึ่งสามารถลดความสูญเสียไปได้มาก มีการย้ายคนออกได้เป็นแสนคน ไม่ใช่มาสั่งการให้รัฐมนตรีคนนั้นคนนี้ทำ หรือตั้งเป็นคณะกรรมการซึ่งมันไม่ทันการณ์ ตัวเองในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจสูงสุดควรสั่งการเอง และถ้าหัวหน้าหน่วยงานไหนไม่ทำหรือทำไม่ได้ก็ต้องมีการลงโทษ
"ผม เห็นว่าเรื่องชีวิตของผู้คนนั้นสำคัญกว่าอย่างอื่นโดยเฉพาะทางด้านจิตใจที่ ไม่สามารถประเมินค่าได้ บางคนเครียดต้องฆ่าตัวตายเพราะหมดเนื้อหมดตัว น้ำท่วมนาข้าวเป็นพันๆ ไร่ แล้วรัฐบาลบอกว่าจะชดใช้ให้ไร่ละ 5 พันบาท มันคงทดแทนกันไม่ได้ แต่ถ้ารู้ก่อนล่วงหน้าและเตือนภัยให้ทุกคนเตรียมแผนป้องกัน เช่น รู้ว่าน้ำจะท่วมนาข้าวก็ให้รีบเกี่ยวข้าวไว้ก่อนเพื่อจะได้ช่วยลดความสูญ เสียลงไปได้"นายสมิทธ กล่าว
ด้าน นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน มองว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ตนเห็นว่าเกิดจากวัฏจักรของธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ ดังนั้นผู้คนจะต้องเข้าใจธรรมชาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นหากไม่ถูกแก้ไขเลยประชาชนก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงใน ทุกปี
เช่น ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อ 40 ปีก่อนแม้จะมีปริมาณน้ำไหลบ่าผ่านจังหวัดดังกล่าวในปริมาณที่ใกล้เคียงกับ ขณะนี้แต่ก็ไม่ได้ท่วมขังอย่างในปัจจุบัน สาเหตุเพราะมีช่องทางให้น้ำไหลผ่านเยอะและกว้าง แต่ขณะนี้บ้านเรือนแน่นหนามากขึ้นทำให้ขวางทางน้ำไหล ขณะที่ถนนหนทางแม้จะมีท่อระบายน้ำ แต่เมื่อถูกขวางด้วยบ้านเรือนก็ไม่สามารถระบายได้ ดังนั้นต้องมีการหาวิธีการขยายทางเดินของน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงลำ ตะคองให้เร็วและมากที่สุด
รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาระบบทำน้ำอ้อม เมืองที่กรมชลประทานทำได้สำเร็จในตัวจ.อุดรธานีมาแล้วก็ควรนำมาพิจารณา รวมถึงน้ำท่วมในจ.ชัยภูมิก็เช่นกัน แม้ว่าจะมีลำน้ำปะทาวผ่านใจกลางเมือง แต่เพราะเมืองครอบตัวลำน้ำไว้ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านไปได้อย่างสะดวก จึงประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีและต้องมีการแก้ไขปัญหาเช่นเดียวกับนครราชสีมา
สำหรับ ปัญหาน้ำท่วมใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นั้น นายปราโมทย์ กล่าวว่า เกิดจากปริมาณน้ำที่เยอะเกินกว่าลำน้ำคูคลองต่างๆ จะรับไหว เนื่องจากคลองหรือปากทางรับน้ำแคบ ทำให้น้ำที่ไหลบ่าเข้ามาไหลระบายไม่ทัน ส่งผลให้ท่วมเข้าไปในตัวเมือง
ดังนั้นทางที่จะแก้ไขปัญหาคือการ สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในชุมชนในทุกพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม ซึ่งคนในพื้นที่จะรู้ดีที่สุดมากกว่าคนนอกพื้นที่ และไม่ต้องรอให้หน่วยงานราชการเข้าไปออกคำสั่งว่าควรแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะคนในชุมชน โดยเฉพาะองค์การปกครองท้องถิ่นต่างๆต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันกำหนดแนวทาง การแก้ไขปัญหา
และในการเวนคืนที่ดินหากต้องมีการก่อสร้าง รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องจ่ายชดเชยให้กับประชาชนที่ได้รับผล กระทบในราคาที่เป็นธรรมและจูงใจให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการย้ายที่อยู่ เพื่อก่อสร้างคันกั้นน้ำ ขยาย หรือขุดลำคลองเพื่อรับน้ำ และทุกพื้นที่ต้องกำหนดโซนกั้นน้ำ ซึ่งจะอยู่รอบตัวเมือง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าเขตเศรษฐกิจ เห็นได้จากพื้นที่ชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนที่อาศัยนอกเขตโซนกั้นน้ำก็ต้องทำใจว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม
เพราะหากไม่กำหนดโซนจะทำให้ประชาชนปลูกบ้านเรือนอย่างไม่เป็นระเบียบและขวางทางน้ำไหลเช่นปัจจุบัน
นาย สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เท่าที่รู้ประเทศไทยยังมีการบริหารจัดการน้ำไม่ดี ดูได้จากการเกิดวิกฤตน้ำท่วมสลับกับแห้งแล้งกันตลอดแทบทุกปี
สาเหตุ สำคัญน่าจะเกิดจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องน้ำไม่ทำงานร่วมกัน หรือทำงานด้วยกันไม่ได้ ทะเลาะกันหลายเรื่อง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือบูรณาการหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำมานั่งทำ งานเพื่อให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดน้ำให้ไปด้วยกัน ให้เป็นแผนเดียวกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก อาจไม่มีความจำเป็นนักที่ต้องสร้างเพิ่ม สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการจากนี้ต่อไป ต้องเป็นเขื่อนขนาดเล็ก แก้มลิง และฝายกั้นน้ำ เรื่องนี้คือเรื่องที่รัฐบาลต้องจัดการให้เร่งด่วนและเป็นรูปธรรม ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะไม่สามารถบริหารจัดการกับน้ำให้เพียงพอ ไม่มากไป น้อยไปกับการใช้ในประเทศ
นอกจากนี้เรื่องปัญหาการจัดการน้ำ ถือว่ารัฐบาลไทยจัดการไม่ได้มานานแล้ว หรือจัดการได้ก็ไม่ดีนัก ดังนั้นรัฐบาลต้องเปิดทางให้เอกชนทำ หรือเข้ามาบริหารจัดการ หากใครต้องการใช้น้ำก็ต้องจ่ายค่าน้ำ โดยรัฐบาลจะต้องดูแลเรื่องค่าบริการไม่ให้สูงเกินไป แต่ต้องให้ระบบตลาดสามารถทำงานได้
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีระบบราชการ ที่มีปัญหามาตลอด ข้าราชการไทยต้องได้รับการกระตุ้น หรือให้สามารถขับเคลื่อนงานที่รับผิดชอบให้ได้เต็มประสิทธิภาพ
ส่วน แม่งานใหญ่อย่างกรมชลประทาน โดย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัญหาการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมาต้องพบอุปสรรคจากการต่อต้านการสร้าง เขื่อนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ได้ยาก เพราะพื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็มไม่เหมาะสมกับการสร้างอ่างเก็บน้ำ ส่งผลกระ ทบต่อเกษตรกรเป็นจำนวนมากไม่สามารถจะทำการเกษตรในพื้นที่ของตัวเองได้
ดัง นั้นจากนี้ต่อไปต้องให้ความสำคัญในการเร่งฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาน้ำและแหล่งเก็บน้ำให้สามารถประสานและควบคู่กันไปได้ เพื่อให้แผนการบริหารจัดการน้ำบรรลุผล
นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หลังน้ำลดคงต้องนำเรื่องของบประมาณปี ི ที่กรมชลประทานได้งบประมาณรวม 40,115.16 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 52.51% ของงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมดที่ได้ทั้งปี 76,207 ล้านบาท มาปรับปรุงและเกลี่ยใหม่เพื่อนำงบประมาณที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนมาดำเนินการ ใน 2 เรื่องคือ
1.การผันน้ำเลี่ยงเมือง เพื่อทำทางน้ำไหลผ่านใหม่ เพราะขณะนี้บ้านเมืองเกิดขึ้นมาก และส่วนใหญ่ก็สร้างอยู่ริมแม่น้ำ หากสามารถผันน้ำเลี่ยงเมืองได้ ก็จะกระทบ ต่อชุมชนไม่มาก เพราะที่ผ่านมากรมชลประทานดำเนินการนำร่องไปแล้ว 2 จังหวัดคือ มหาสารคาม และอุดรธานี ที่สร้างเสร็จแล้ว 3 ปีไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมอีกเลย
2.เร่ง ดำเนินการทำแก้มลิง หากมีปริมาณฝนและน้ำมาก ก็จะมีพื้นที่เก็บน้ำเพียงพอ ส่วนเรื่องของการทำเขื่อนขนาดใหญ่ ตามแผนของกรมชลประทาน ที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคทั้งเรื่องของการต่อต้าน การเวนคืน และเรื่องกฎหมาย
ดังนั้น จากนี้ต่อไปรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี คงต้องมี นโยบายเรื่องน้ำอย่างจริงจัง เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำสามารถบูรณาการและเดินหน้าขับเคลื่อนไปได้ โดยสั่งการให้แต่ละจังหวัดช่วยกันตรวจสอบสภาพบ้านเมือง และร่วมกันแก้ปัญหา ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สรุปว่าหลังน้ำลดคราวนี้ น่าจะมีการสังคายนาแผนการบริหารจัดการน้ำครั้งใหญ่ และถ้าจะให้ดีควรทำเป็นวาระแห่งชาติ
เพื่อไม่ให้คนไทยต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEEzTVRFMU13PT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB3Tnc9PQ==
--
เขียนโดย blogmon ถึง blogmon เวลา 11/06/2010 08:05:00 หลังเที่ยง
Date: 2010/11/9
Subject: [BooM] คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว
To:
คัมภีร์พุทธ2พันปี อัญเชิญมายังไทย (ไทยโพสต์)
อัญเชิญพระไตรปิฎกโบราณ อายุกว่า 2 พันปีที่ถือเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นอร์เวย์ให้ไทยยืมมา ประดิษฐานที่พุทธมณฑล เปิดให้ศาสนิกชนได้เคารพบูชาเนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงครบ 7 รอบ
ที่ห้องรับรองบุคคลทั่วไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 09.09 น. วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีเจริญชัยมงคลคาถาและอัญเชิญธรรมเจดีย์คัมภีร์ หรือพระไตรปิฎก โบราณ อายุกว่า 2,000 ปี จากประเทศนอร์เวย์ โดยมีบุคคลสำคัญ คณะสงฆ์ ประชาชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
พิธีอัญเชิญธรรมเจดีย์เริ่มด้วยนายนิพิฏฐ์ และนางคัทยา คริสทีนา โนร์ดการ์ด เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ถวายนมัสการธรรมเจดีย์ จากนั้นนางคัทยาได้กล่าวถึงการค้นพบและกล่าวมอบธรรมเจดีย์มาประดิษฐานที่ ประเทศไทย
นายนิพิฏฐ์กล่าวต้อนรับว่า วันนี้นับเป็นวันมหามงคล และเป็นวันที่มีความ สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของโลก เป็นวันจัดพิธีรับธรรมเจดีย์พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอันศักดิ์สิทธิ์มา ประดิษฐานและจัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา พุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นมากว่า 100 ปี นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน นอร์เวย์เป็นครั้งแรก
รมว.วัฒนธรรมกล่าวว่า การอัญเชิญธรรมเจดีย์มาสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประเทศไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่จะได้สักการะธรรมเจดีย์ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า และจะได้ศึกษาเรื่องราวแห่งพระธรรมคำสั่งสอนจากนิทรรศการที่จะ ได้จัดให้มีขึ้นต่อไป
จากนั้น พระพรหมเมธี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์ นำคณะสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์ นายนิพิฏฐ์รับมอบธรรมเจดีย์จากเอกอัครราชทูตราช อาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เพื่อถวายแด่พระธรรมสิทธินายก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นผู้อัญเชิญธรรมเจดีย์เข้าสู่ ขบวนแห่ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดเตรียมไว้อย่างสมเกียรติ
จากนั้นอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบก เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิมุ่งหน้า สู่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งธรรมเจดีย์จะตั้งประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 โดยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมและสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา
ธรรมเจดีย์ดังกล่าว พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี และนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เดินทางไปรับมอบจากสถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มาถึงประเทศไทยในเช้าวันที่ 8 พ.ย. ทั้งนี้ ธรรมเจดีย์ถือเป็นต้นกำเนิดพระไตรปิฎก พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถูกค้นพบก่อนสงครามจะเกิดขึ้นในถ้ำบริเวณเทือกเขาบามิยัน ตั้งอยู่ห่างประมาณ 2 กม. จากพระพุทธรูปหินบามิยันสูง 53 เมตร ที่ถูกทำลายในปี พ.ศ.2544 ในอดีตดินแดนแถบนี้ชื่อว่าคันธารราฐ อยู่บนเส้นทางสายไหม เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา และปัจจุบันดินแดนแถบ นี้เรียกว่าประเทศอัฟกานิสถาน
สถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน ประเทศนอร์เวย์ ได้คัมภีร์โบราณชุดแรกในปี พ.ศ.2539 จากพ่อค้าของเก่าซัมฟ็อก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้วางแผนการขนย้ายคัมภีร์ทุกวิถีทาง ในช่วงปี พ.ศ.2540-2543 (ในปี พ.ศ.2544 ถ้ำแถบเทือกเขาบามิยันได้ถูกระเบิดทำลายจนหมดสิ้น รวมทั้งองค์หลวงพ่อบามิ ยันสูง 50 เมตร) ปัจจุบันสถาบันสามารถอนุรักษ์คัมภีร์โบราณไว้ได้ประมาณ 5,000 ชิ้นที่ยังเป็นชิ้นส่วนสมบูรณ์และแตกหักเล็กน้อย และส่วนที่เศษชิ้นเล็กๆ อีกประมาณ 8,000 ชิ้น ทั้งหมดมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-12 การจารึกทำไว้ในใบลาน เปลือกไม้ หนังสัตว์และแผ่นทองเหลือง
นักโบราณคดีและภาษาศาสตร์นานาชาติใช้เวลา 12 ปีทำการชำระคัมภีร์โบราณ โดยสันนิษฐานสรุปว่าเป็นผลงานของพระอรหันต์ที่ได้จารึกพระธรรมวินัยเป็นตัว อักษรในราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือประมาณร่วม 2,000 ปีล่วงมาแล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ชมรมส่งเสริมท่องเที่ยวบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี
วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7283 ข่าวสดรายวัน
จุดพลุวาระแห่งชาติ แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
วิกฤตน้ำท่วมปีนี้ถือว่าเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
เบื้อง ต้นใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้าน คาดว่ายังไม่พอ เพราะนี่เป็นเพียงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น ยังไม่ได้ประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออก อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคเกษตร ฯลฯ
ทั้งที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิด ชอบเรื่องน้ำและการเตือนภัยอยู่ไม่น้อย แต่ที่ผ่านมาคนไทยกลับต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำกันแทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ท่วม หรือแล้งซ้ำซาก
ปัญหาน้ำท่วมคราวนี้จึงนับเป็นบทเรียนอันเจ็บปวดของคนไทย
สาเหตุเกิดจากอะไร และควรมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ทีมงานเศรษฐ กิจ"ข่าวสด"ได้สอบถามความเห็นจากหลากหลายบุคคล
เริ่ม จาก นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงแผนป้องกันน้ำท่วมในอนาคตว่า ควรมีระบบเตือนภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยม วิทยาซึ่งจะรู้ล่วงหน้าเรื่องสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ กรมชลประทานรู้เรื่องระบบน้ำว่ามีมากน้อยแค่ไหน จะท่วมที่ใด หรือศูนย์เตือนภัยพิบัติ ต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ มันไม่ได้
และการเตือนภัยให้ประชาชนรับทราบเหตุการณ์ต่างๆ นี้ ต้องเตือนบ่อยๆ และอธิบายให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นๆ ได้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ไม่ใช่บอกแค่ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน เย็น มันไม่ได้ รวมทั้งต้องประสานผู้นำในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เตือนประชาชนอีกแรง เพื่อให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะได้ไม่เครียด เพราะบางคนถึงกับหมดเนื้อหมดตัวไปเลยอย่างที่เราเห็นกันอยู่ ณ ขณะนี้
บท เรียนนี้ตนเห็นว่า ต้องมีคำสั่งออกมาเป็นนโยบายจากรัฐหรือเป็น "วาระแห่งชาติ" ซึ่งตนเชื่อว่าจะลดความเสียหายได้มาก หากคิดความเสียหายครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ มันประเมินค่าไม่ได้เลย
ส่วนที่มีคนบอกว่ารัฐบาลชุดนี้โดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจช้านั้นเห็นด้วย จริงๆ แล้วนายกรัฐมนตรีควรจะลงมาเล่นเองเหมือนกับนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน เมื่อมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นเขาจะลงมาบัญชาการเอง ซึ่งสามารถลดความสูญเสียไปได้มาก มีการย้ายคนออกได้เป็นแสนคน ไม่ใช่มาสั่งการให้รัฐมนตรีคนนั้นคนนี้ทำ หรือตั้งเป็นคณะกรรมการซึ่งมันไม่ทันการณ์ ตัวเองในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจสูงสุดควรสั่งการเอง และถ้าหัวหน้าหน่วยงานไหนไม่ทำหรือทำไม่ได้ก็ต้องมีการลงโทษ
"ผม เห็นว่าเรื่องชีวิตของผู้คนนั้นสำคัญกว่าอย่างอื่นโดยเฉพาะทางด้านจิตใจที่ ไม่สามารถประเมินค่าได้ บางคนเครียดต้องฆ่าตัวตายเพราะหมดเนื้อหมดตัว น้ำท่วมนาข้าวเป็นพันๆ ไร่ แล้วรัฐบาลบอกว่าจะชดใช้ให้ไร่ละ 5 พันบาท มันคงทดแทนกันไม่ได้ แต่ถ้ารู้ก่อนล่วงหน้าและเตือนภัยให้ทุกคนเตรียมแผนป้องกัน เช่น รู้ว่าน้ำจะท่วมนาข้าวก็ให้รีบเกี่ยวข้าวไว้ก่อนเพื่อจะได้ช่วยลดความสูญ เสียลงไปได้"นายสมิทธ กล่าว
ด้าน นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน มองว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ตนเห็นว่าเกิดจากวัฏจักรของธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ ดังนั้นผู้คนจะต้องเข้าใจธรรมชาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นหากไม่ถูกแก้ไขเลยประชาชนก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงใน ทุกปี
เช่น ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อ 40 ปีก่อนแม้จะมีปริมาณน้ำไหลบ่าผ่านจังหวัดดังกล่าวในปริมาณที่ใกล้เคียงกับ ขณะนี้แต่ก็ไม่ได้ท่วมขังอย่างในปัจจุบัน สาเหตุเพราะมีช่องทางให้น้ำไหลผ่านเยอะและกว้าง แต่ขณะนี้บ้านเรือนแน่นหนามากขึ้นทำให้ขวางทางน้ำไหล ขณะที่ถนนหนทางแม้จะมีท่อระบายน้ำ แต่เมื่อถูกขวางด้วยบ้านเรือนก็ไม่สามารถระบายได้ ดังนั้นต้องมีการหาวิธีการขยายทางเดินของน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงลำ ตะคองให้เร็วและมากที่สุด
รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาระบบทำน้ำอ้อม เมืองที่กรมชลประทานทำได้สำเร็จในตัวจ.อุดรธานีมาแล้วก็ควรนำมาพิจารณา รวมถึงน้ำท่วมในจ.ชัยภูมิก็เช่นกัน แม้ว่าจะมีลำน้ำปะทาวผ่านใจกลางเมือง แต่เพราะเมืองครอบตัวลำน้ำไว้ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านไปได้อย่างสะดวก จึงประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีและต้องมีการแก้ไขปัญหาเช่นเดียวกับนครราชสีมา
สำหรับ ปัญหาน้ำท่วมใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นั้น นายปราโมทย์ กล่าวว่า เกิดจากปริมาณน้ำที่เยอะเกินกว่าลำน้ำคูคลองต่างๆ จะรับไหว เนื่องจากคลองหรือปากทางรับน้ำแคบ ทำให้น้ำที่ไหลบ่าเข้ามาไหลระบายไม่ทัน ส่งผลให้ท่วมเข้าไปในตัวเมือง
ดังนั้นทางที่จะแก้ไขปัญหาคือการ สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในชุมชนในทุกพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม ซึ่งคนในพื้นที่จะรู้ดีที่สุดมากกว่าคนนอกพื้นที่ และไม่ต้องรอให้หน่วยงานราชการเข้าไปออกคำสั่งว่าควรแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะคนในชุมชน โดยเฉพาะองค์การปกครองท้องถิ่นต่างๆต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันกำหนดแนวทาง การแก้ไขปัญหา
และในการเวนคืนที่ดินหากต้องมีการก่อสร้าง รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องจ่ายชดเชยให้กับประชาชนที่ได้รับผล กระทบในราคาที่เป็นธรรมและจูงใจให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการย้ายที่อยู่ เพื่อก่อสร้างคันกั้นน้ำ ขยาย หรือขุดลำคลองเพื่อรับน้ำ และทุกพื้นที่ต้องกำหนดโซนกั้นน้ำ ซึ่งจะอยู่รอบตัวเมือง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าเขตเศรษฐกิจ เห็นได้จากพื้นที่ชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนที่อาศัยนอกเขตโซนกั้นน้ำก็ต้องทำใจว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม
เพราะหากไม่กำหนดโซนจะทำให้ประชาชนปลูกบ้านเรือนอย่างไม่เป็นระเบียบและขวางทางน้ำไหลเช่นปัจจุบัน
นาย สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เท่าที่รู้ประเทศไทยยังมีการบริหารจัดการน้ำไม่ดี ดูได้จากการเกิดวิกฤตน้ำท่วมสลับกับแห้งแล้งกันตลอดแทบทุกปี
สาเหตุ สำคัญน่าจะเกิดจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องน้ำไม่ทำงานร่วมกัน หรือทำงานด้วยกันไม่ได้ ทะเลาะกันหลายเรื่อง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือบูรณาการหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำมานั่งทำ งานเพื่อให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดน้ำให้ไปด้วยกัน ให้เป็นแผนเดียวกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก อาจไม่มีความจำเป็นนักที่ต้องสร้างเพิ่ม สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการจากนี้ต่อไป ต้องเป็นเขื่อนขนาดเล็ก แก้มลิง และฝายกั้นน้ำ เรื่องนี้คือเรื่องที่รัฐบาลต้องจัดการให้เร่งด่วนและเป็นรูปธรรม ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะไม่สามารถบริหารจัดการกับน้ำให้เพียงพอ ไม่มากไป น้อยไปกับการใช้ในประเทศ
นอกจากนี้เรื่องปัญหาการจัดการน้ำ ถือว่ารัฐบาลไทยจัดการไม่ได้มานานแล้ว หรือจัดการได้ก็ไม่ดีนัก ดังนั้นรัฐบาลต้องเปิดทางให้เอกชนทำ หรือเข้ามาบริหารจัดการ หากใครต้องการใช้น้ำก็ต้องจ่ายค่าน้ำ โดยรัฐบาลจะต้องดูแลเรื่องค่าบริการไม่ให้สูงเกินไป แต่ต้องให้ระบบตลาดสามารถทำงานได้
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีระบบราชการ ที่มีปัญหามาตลอด ข้าราชการไทยต้องได้รับการกระตุ้น หรือให้สามารถขับเคลื่อนงานที่รับผิดชอบให้ได้เต็มประสิทธิภาพ
ส่วน แม่งานใหญ่อย่างกรมชลประทาน โดย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัญหาการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมาต้องพบอุปสรรคจากการต่อต้านการสร้าง เขื่อนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ได้ยาก เพราะพื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็มไม่เหมาะสมกับการสร้างอ่างเก็บน้ำ ส่งผลกระ ทบต่อเกษตรกรเป็นจำนวนมากไม่สามารถจะทำการเกษตรในพื้นที่ของตัวเองได้
ดัง นั้นจากนี้ต่อไปต้องให้ความสำคัญในการเร่งฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาน้ำและแหล่งเก็บน้ำให้สามารถประสานและควบคู่กันไปได้ เพื่อให้แผนการบริหารจัดการน้ำบรรลุผล
นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หลังน้ำลดคงต้องนำเรื่องของบประมาณปี ི ที่กรมชลประทานได้งบประมาณรวม 40,115.16 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 52.51% ของงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมดที่ได้ทั้งปี 76,207 ล้านบาท มาปรับปรุงและเกลี่ยใหม่เพื่อนำงบประมาณที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนมาดำเนินการ ใน 2 เรื่องคือ
1.การผันน้ำเลี่ยงเมือง เพื่อทำทางน้ำไหลผ่านใหม่ เพราะขณะนี้บ้านเมืองเกิดขึ้นมาก และส่วนใหญ่ก็สร้างอยู่ริมแม่น้ำ หากสามารถผันน้ำเลี่ยงเมืองได้ ก็จะกระทบ ต่อชุมชนไม่มาก เพราะที่ผ่านมากรมชลประทานดำเนินการนำร่องไปแล้ว 2 จังหวัดคือ มหาสารคาม และอุดรธานี ที่สร้างเสร็จแล้ว 3 ปีไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมอีกเลย
2.เร่ง ดำเนินการทำแก้มลิง หากมีปริมาณฝนและน้ำมาก ก็จะมีพื้นที่เก็บน้ำเพียงพอ ส่วนเรื่องของการทำเขื่อนขนาดใหญ่ ตามแผนของกรมชลประทาน ที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคทั้งเรื่องของการต่อต้าน การเวนคืน และเรื่องกฎหมาย
ดังนั้น จากนี้ต่อไปรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี คงต้องมี นโยบายเรื่องน้ำอย่างจริงจัง เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำสามารถบูรณาการและเดินหน้าขับเคลื่อนไปได้ โดยสั่งการให้แต่ละจังหวัดช่วยกันตรวจสอบสภาพบ้านเมือง และร่วมกันแก้ปัญหา ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สรุปว่าหลังน้ำลดคราวนี้ น่าจะมีการสังคายนาแผนการบริหารจัดการน้ำครั้งใหญ่ และถ้าจะให้ดีควรทำเป็นวาระแห่งชาติ
เพื่อไม่ให้คนไทยต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEEzTVRFMU13PT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB3Tnc9PQ==
--
เขียนโดย blogmon ถึง blogmon เวลา 11/06/2010 08:05:00 หลังเที่ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น