จับตากองทุนสื่อ ต้องอิสระ โปร่งใส เน้นสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย
Wed, 2010-12-22 22:25
ภาค ประชาชนและผู้ผลิตสื่อน้ำดีผนึกกำลังจับตา กองทุนสื่อฯ ดันควรเป็นองค์กรอิสระ โครงสร้างชัดเจน โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม เข้าถึงได้ มุ่งสร้างสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัยเพื่อเด็กและสังคมไทย
ในช่วงที่ผ่านมามีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นหลายต่อหลายครั้งเกี่ยวกับ การมี "กองทุนสื่อ"ที่จะมาช่วยผลักดันให้เกิดการผลิตสื่อดีที่สร้างสรรค์และ ปลอดภัยต่อเยาวชน ด้วยการกำหนดให้กองทุนมีบทบาทในการสนับสนุนผู้ผลิตที่ต้องการหลุดกรอบธุรกิจ มาสู่การผลิตรายการดีเพื่อเด็กเพื่อสังคมอย่างแท้จริงและอยู่ได้ ซึ่งเชื่อว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตเหล่านี้อยู่จำนวนไม่น้อย ทั้งในกลุ่มสื่อกระแสหลัก กลุ่มสื่อทางเลือกและสื่อพื้นบ้าน กลุ่มสื่อหนังสือและวรรณกรรม กลุ่มนักวิจัยด้านสื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก และกลุ่มเด็กและเยาวชนทำสื่อ
ล่าสุดในเวทีสาธารณะ "จับตากองทุนสื่อ เครื่องมือหนุนอนาคตชาติ" ซึ่งกลุ่มบ้านรักดี ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ที่โรงแรมเอเชีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยว กับ เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้กองทุนดังกล่าวเป็นไปตามความต้องการของประชาชนโดยแท้จริงนั้น กลุ่มผู้ผลิตสื่อด้านต่าง ๆ รวมทั้งผู้แทนจากภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยว กับความคาดหวังต่อกองทุน รูปแบบการสนับสนุน การเข้าถึงกองทุน ฯลฯ
นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน (คพส.) กล่าวเปิดการสัมมนาโดยระบุว่า กองทุนนี้น่าจะเกิดขึ้นได้แล้ว ที่ผ่านมาก็ไม่รู้ว่าไปติดตรงไหน แต่อยากผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะจากวัตถุประสงค์และที่มาของกองทุนมีความเป็นไปได้และจะเกิดประโยชน์กับ ประเทศชาติ โดยเฉพาะเยาวชน ตามวัตถุประสงค์ 5 อย่างที่จะผลิตและพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ดีน่าสนับสนุน แต่ปัญหาว่าเมื่อมาเป็นกฎหมายจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจกันไว้ เพราะกฎหมายเวลาร่างเป็นอย่างหนึ่ง เวลาออกมาเป็นอย่างหนึ่ง ระหว่างทางมีการแปลงสารที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ อย่างไรก็ตามการผลักดันกฎหมายนี้ก็มีหลายช่องทางเช่น หากรัฐบาลไม่เสนอผลักดันกันมานาน 7 ปีกองทุนนี้ยังไม่เกิด ภาคประชาชนก็สามารถรวบรวมรายชื่อเสนอเองได้และเป็นเรื่องดี สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้าใจถึงเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกองทุนอย่างกว้างขวางและมาร่วมผลัก ดัน
นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า การผลักดันให้เกิด "(ร่าง)พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์"เกิดจากการรวมตัว ของเครือข่ายกว่า 37 องค์กร ทั้งภาคนักวิชาการ ประชาชนเครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายเด็ก สภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งฝ่ายราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรสื่อที่เกี่ยวข้อง จนในปัจจุบันได้ผ่านมติรัฐมนตรี เข้าสู่การพิจารณาของคณะกฤษฎีกาแล้ว หาก"พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์" ผ่านออกประกาศใช้ย่อมเป็นโอกาสของผู้ผลิตในการสร้างสรรค์สื่อดีๆให้กับเด็ก และเยาวชนกว่า 26 ล้านคนทั่วประเทศทำให้เกิดสื่อที่ดี มีคุณภาพ สร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อเด็ก เยาวชน และสังคมไทยเพิ่มขึ้น
ในเวทีสาธารณะภาคประชาชนได้แสดงความห่วงใยต่อการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้วัตถุประสงค์ของการผลักดันให้เกิดกองทุนนี้ผิดไปจาก เจตนาเดิม โดยมี 2 เรื่องหลัก คือ คณะกรรมการกองทุน และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ
1) คณะกรรมการกองทุน ซึ่งในร่างของกฤษฎีกามีการเพิ่มจาก 2 ชุด เป็น 3 ชุด ข้อสังเกตของภาคประชาชนคือ การเปลี่ยนแปลงให้มีคณะกรรมการที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในเรื่องการตรวจ สอบสื่อที่ไม่เหมาะสม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานและยังมีองค์ประกอบกรรมการที่ มาจากของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องปราบปราบสื่อที่ไม่เหมาะสมมากก ว่าการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์ อีกทั้งในเรื่องการบริหารกองทุน โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนั้น เป็นการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกองทุนเป็นหลัก และมีการแต่งตั้งกรรมการอื่น ๆ มาประกอบ ซึ่งจะทำให้การทำงานอยู่ภายใต้ระบบราชการมากกว่าการเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งจากบทเรียนในอดีตพบว่าการบริหารกองทุนในลักษณะดังกล่าวมีจุดอ่อนมาก
2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ตามร่างที่ผ่านมติครม.กำหนดนโยบายการบริหารงานให้ความเห็นชอบแผนการดำเนิน งานของกองทุน แต่ในร่างปรับใหม่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกามีการเพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะ กรรมการ ในลักษณะของการตรวจสอบสื่อ ซึ่งแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.ฯเดิมที่เน้นการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์ และเน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่จะเฝ้าระวังสื่อ
ทั้งนี้ภายหลังการระดมความคิดเห็นจะได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการจัดตั้ง กองทุนสื่อจากภาคประชาชน ที่ผู้ผลิตสื่อน้ำดีได้มีโอกาสเข้าถึงและสร้างสรรค์สื่อดีเพื่อเด็กและสังคม ได้อย่างแท้จริง โดยจะเสนอต่อรัฐบาลและสาธารณะต่อไป หวังว่ารัฐบาลจะผลักดันกองทุนสื่อให้เกิดขึ้นเป็นของขวัญแก่เด็กและเยาวชนใน ปี 2554 นี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น