วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

อ.นิติฯ มธ. พลิกกม.ป้องกันฯ ปี 50 ชี้ชัดอปท.มีอำนาจสูงสั่งจัดการน้ำ

 

อ.นิติฯ มธ. พลิกกม.ป้องกันฯ ปี 50 ชี้ชัดอปท.มีอำนาจสูงสั่งจัดการน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2012 เวลา 01:12 น. เขียนโดย สาธินีย์ วิสุทธาธรรม หมวด isranewsข่าว

"กิตติศักดิ์ ปรกติ" แจงละเอียด กม.ป้องกันและบรรเทาฯ เป็นเครื่องมือจัดการน้ำสำคัญ แต่รบ.ใช้ไม่เป็น ยันอปท.-นายกอบต. หน่วยงานหลัก รับผิดชอบโดยตรง กลับถูกรัฐส่วนกลางรวบอำนาจ เครื่องมือไว้

วันที่ 25 มกราคม ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. กล่าวถึงมุมมองด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาด้านสาธารณภัย ในงานอาทรเสวนา "อภิมหาโปรเจกต์ สู้น้ำ : คิดดี คิดชอบ คิดรอบ หรือยัง?" ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาฯ 

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปี  2554 แท้จริงแล้วประเทศไทยมีเครื่องมือ มีโครงสร้าง กลไกการผันน้ำและควบคุมน้ำ แต่ใช้ไม่เป็น นั่นคือ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปี 2550  อีกทั้งความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับน้ำของคนในประเทศไทยก็มีมากพอ แต่คนที่มีความรู้ไม่ถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม หรือไม่ถูกนำไปใช้เลย 

"ในทางการเมืองมีหน่วยงานอย่าง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมีรัฐธรรมนูญที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน รวมทั้งหลักในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เนื่องจากภาครัฐส่วนกลางไม่มีทางที่จะมีความรู้รายละเอียดทั้งหมด เพียงแค่รับเรื่องและส่งเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือส่วนท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ลงมือปฏิบัติ แต่น้ำท่วมที่ผ่านมา ท้องถิ่นไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เพราะถูกภาครัฐส่วนกลางรวบอำนาจและเครื่องมือไว้"

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในแง่กฎหมายที่เกี่ยวกับอุทกภัยมีอยู่กว่า 20 ฉบับ ฉบับที่สำคัญ คือ กฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปี 2550 ที่ประกาศใช้และให้อำนาจเต็มที่แก่เจ้าหน้าที่ เฉกเช่นกับเหตุสงคราม แต่เนื่องจากผู้ที่ได้รับมอบหมาย คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่อยู่ในฐานะที่ใช้ได้ และใช้ไม่เป็น

"ตามรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ  กำหนดให้พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ในการป้องกันพิบัติภัย เช่นเดียวกับที่พลเมืองชายทุกคน มีหน้าที่เป็นทหารป้องกันภัยสงครามของประเทศ โดยหากผู้นำออกคำสั่งใดๆ เพื่อป้องกันภัยพิบัติก็ไม่สามารถขัดแย้งได้ แต่อุทกภัยที่ผ่านมา นอกจากพลเมืองไม่ร่วมกันบริหารจัดการแล้ว ยังเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและหน่วยงานรับอีกด้วย" 

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวอีกว่า กฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้ทุกหน่วยงานมีหน้าที่ โดยมี รมว.มหาดไทย มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งประธานศูนย์ฯ และมีบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นผู้อำนวยการ 

"หน่วยที่สำคัญ คือ ผู้อำนวยการท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บรรดานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีอำนาจโดยตรงและอำนาจมากที่สุด สามารถร้องขอให้ผู้อำนวยการระดับสูงกว่า ให้ความความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนได้ ซึ่งขัดแย้งกับภาพการให้สัมภาษณ์ของหน่วยงานท้องถิ่น และนายกเทศมนตรีจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ที่อ้างว่า ไม่สามารถบริหารจัดการใดๆ ได้ เนื่องจากไม่มีงบประมาณและการสนับสนุนลงมจากภาครัฐส่วนกลาง"

 ทั้งนี้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ยังกำหนดให้ผู้อำนวยการสามารถสั่งการหน่วยงานรัฐในเขตพื้นที่ตนเองได้ทั้งหมด ยกเว้นทหารที่ต้องใช้วิธีขอความร่วมมือ เช่น เครื่องมือของทหาร รวมทั้งสั่งการให้ผู้ใดกระทำการ ไม่กระทำการ หรือรื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ขวางทางน้ำ หรือขวางการป้องกันและบรรเทาภัยได้

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ประชาชนอาจโดนจำกัดสิทธิเสรีภาพในการบริหารจัดการของรัฐตามกฎหมายนี้  แต่ก็จะได้รับการชดเชย และมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อให้การช่วยเหลือรัฐในการบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างง่ายขึ้น เห็นได้ชัดว่า แท้จริงแล้วอำนาจหน้าที่มี แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ และตามหลักการทางกฎหมายแพ่ง ก็ระบุว่าการกักน้ำไว้จนเกินจำเป็น หรือปฏิเสธไม่รับน้ำไม่สามารถทำได้ ต้องปล่อยให้ไหลตามธรรมชาติ หรือหากทำได้ก็ต้องชดเชยอย่างเหมาะสม

"ในกรณีกรุงเทพฯ เป็นเส้นทางที่น้ำต้องผ่าน ก็ต้องรับน้ำ แต่หากจะดำเนินการกักไม่ให้น้ำผ่าน จะต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องเฉลี่ยน้ำให้ได้ ทั้งในช่วงรับน้ำแล้งและน้ำท่วม" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าว และว่า สำหรับกฎหมายอาญา เจ้าพนักงานที่ได้รับบริจาค หรือมีหน้าที่ในการดูแลรักษาของบริจาค หากเบียดบัง หรือแจกจ่ายของอย่างไม่สมควรก็ถือว่าผิดต่อระเบียบกฎหมาย 

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการ กยน.อ้างว่า น้ำปี 2554 มีมากกว่าปกติ มีพายุตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม กันยายนและตุลาคม ทำให้การพยากรณ์ไม่แม่นยำ และจำเป็นต้องระบายน้ำในเขื่อนออกแม่น้ำเดียว โดยที่ระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ หรือเสื่อมสภาพ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า กยน.ไม่ได้กล่าวถึง ความผิดพลาดทางนโยบาย ความสับสนในอำนาจหน้าที่ รวมถึงการละเลย ความบกพร่องในการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

ป้องกันฯ เลย อีกทั้งการสื่อสารภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ล้มเหลวมากที่สุด ไม่สื่อสารด้วยความจริงและความรู้ ทำให้ประชาชนป้องกันไม่ทัน หรือตระหนกเกินไปจนเกิดภาวะขาดแคลนตามมา

http://goo.gl/XVxhd

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบคำขอจดแจ้งองค์กรภาคประชาสังคม

แบบคำขอจดแจ้งองค์กรภาคประชาสังคม
..................................................

                                  ที่...........................................
                     วันที่............เดือน........................พ.ศ............

เรียน  เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
   ข้าพเจ้า ชื่อ .....................................................นามสกุล......................................................
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน...
อยู่บ้านเลขที่....................หมู่ที่........................ตรอก/ซอย...............................................................
ถนน....................................ตำบล/แขวง.....................................อำเภอ/เขต..................................
จังหวัด..........................................โทรศัพท์......................................โทรสาร..................................
มือถือ...........................................รหัสไปรษณีย์
ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนองค์กร..................................................................................................
ประสงค์จะขอจดแจ้งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมี
รายละเอียดดังนี้
๑.   สถานที่ตังองค์กร เลขที่...........หมู่ที่......................ตรอก/ซอย...........................................
ถนน......................................ตำบล/แขวง..................................อำเภอ/เขต...................................
จังหวัด...........................................โทรศัพท์..................................โทรสาร.....................................
รหัสไปรษณีย์   

๒.   สถานที่ติดต่อ เลขที่............หมู่ที่....................ตรอก/ซอย................................................
ถนน......................................ตำบล/แขวง..................................อำเภอ/เขต...................................
จังหวัด...........................................โทรศัพท์..................................โทรสาร.....................................
รหัสไปรษณีย์

๓.   องค์กรจัดตั้งเมื่อวันที่.................เดือน.........................พ.ศ...................
๔.   สถานภาพขององค์กร
    ( )   เป็นสมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร หรือรายได้
      มาแบ่งปันกัน
   ( )   เป็นกลุ่ม ชมรม เครือข่าย คณะบุคคลซึ่งมิได้เป็นนิติบุคคล ซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ในการ
      แสวงหากำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน

         ๒

   ( )   ไม่เป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมซึ่งรวมกันเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบล
      ตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน
   ( )   ผู้บริหารขององค์กร ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุด
      ว่าได้กระทำความผิดฐานทุจริต หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือ
      ถูกไล่ออก หรือปลดออกจากตำแหน่งเพราะทุจริต
๕.   จดทะเบียนที่หน่วยงาน................................................................................................
จังหวัด...........................................เมื่อวันที่..............เดือน.............................พ.ศ..........................
ทะเบียนเลขที่......................................
๖.   วัตถุประสงค์การจัดตั้ง................................................................................................
...
...
...
...
...
...
...
๗.   กิจกรรมที่ดำเนินการ
   ( )   การพัฒนาประชาธิปไตย
   ( )   การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นที่มิได้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔ (๑)
      ของระเบียบสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดแจ้งการจัดตั้ง
      องค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ๒๕๕๑
   ( )   การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
   ( )   การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง
   ( )   การผลักดันนโยบายสาธารณะระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น
   ( )   การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
   ( )   การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์
   ( )   การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพประชาชน ชุมชนในการจัดการ อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์
      จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
   ( )   การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
   ( )   อื่นๆ...
         
         ๓

๘.   ผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (โดยสรุป).......................................
...
...
...
...
...
...
...
๙.   ได้แนบหลักฐานพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ดังต่อไปนี้
๙.๑ สำเนาหลักฐานหนังสือสำคัญหรือเอกสารที่แสดงถึงการจัดตั้งองค์กร
๙.๒ สำเนาหลักฐานที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ ข้อบังคับหรือระเบียบหลักเกณฑ์ขององค์กร รวมทั้ง
หนังสือที่แสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนองค์กร
   ๙.๓ สำเนาหลักฐานซึ่งแสดงการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องขององค์กรไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันจดแจ้ง
   ๙.๔ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นซึ่งทางราชการ หน่วยงานของรัฐออกให้ของผู้มีอำนาจกระทำการแทนองค์กรหรือเป็นผู้รับมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี
   ๙.๕ เอกสารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา

   ขอรับรองว่าข้อความและหลักฐานดังกล่าวข้างต้นถูกต้องและเป็นจริงทุกประการ
   ในกรณีที่ตรวจพบข้อความข้างต้นนี้เป็นเท็จและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ข้าพเจ้าถือเป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าเองทั้งสิ้น*


               (ลงชื่อ)...................................................ผู้มีอำนาจทำการแทน
                         (...............................................)   




*การให้ข้อมูลเป็นเท็จเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
แบบเสนอชื่อผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม
เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
................................

๑.   ชื่อองค์กร...
ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมดังระบุชื่อข้างต้น  ชื่อ........................นามสกุล.......................หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน.............................................อยู่บ้านเลขที่..................หมู่ที่................ตรอก/ซอย.................ถนน.............................ตำบล/แขวง......................อำเภอ/เขต.........................จังหวัด...............................................โทรศัพท์...................................โทรสาร..................................ขอเสนอผู้แทนองค์กรเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ชื่อ...........................................นามสกุล...................................................เกิดวันที่..................เดือน.................พ.ศ.........................อายุ...........ปี  เพศ..............สัญชาติ.............ศาสนา....................อาชีพปัจจุบัน....................................อยู่บ้านเลขที่.................หมู่ที่..............ตรอก/ซอย..................................ถนน.....................................ตำบล/แขวง......................................อำเภอ/เขต................................จังหวัด....................................โทรศัพท์...........................................โทรสาร.....................................มือถือ.....................................รหัสไปรษณีย์
๒.   การศึกษาของผู้ได้รับการเสนอชื่อ (ถ้ามี)
๒.๑...
๒.๒...
๒.๓...
๓.   ความสัมพันธ์กับองค์กรของผู้ได้รับการเสนอชื่อ
   ( )  เป็นสมาชิก
   ( )  เคยดำเนินกิจกรรมร่วมกับองค์กร
๔.   ความรู้  ความเชี่ยวชาญ  หรือประสบการณ์ของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ........................................
...

   ๒

๕.   ผลงานที่สำคัญของผู้ได้รับการเสนอชื่อ...............................................................................
...
...
๖.   ข้าพเจ้าขอรับรองว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองข้างต้น
เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ.๒๕๕๑
๗.   ได้แนบหลักฐานพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องของผู้ได้รับการเสนอชื่อ  ดังต่อไปนี้
   ๗.๑ สำเนาทะเบียนบ้าน
   ๗.๒ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นซึ่งทางราชการ  หน่วยงานของรัฐออกให้
   ๗.๓ รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๓ รูป
   ๗.๔ สำเนาหลักฐานที่แสดงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ (ถ้ามี)
   
ขอรับรองว่าข้อความและหลักฐานดังกล่าวข้างต้นถูกต้องและเป็นจริงทุกประการ
ในกรณีที่ตรวจพบข้อความข้างต้นนี้เป็นเท็จและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น  ข้าพเจ้าถือเป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าเองทั้งสิ้น*
               
            (ลงชื่อ)....................................................ผู้มีอำนาจทำการแทน
               (................................................)






*การให้ข้อมูลเป็นเท็จเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หนังสือยินยอม
เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
............................................

ที่........................................
วันที่...............เดือน.........................พ.ศ...............

๑.   ข้าพเจ้า ชื่อ ............................................นามสกุล........................................................
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน...
เกิดวันที่..............เดือน...............................พ.ศ.......................  อายุ...............ปี  เพศ.....................
สัญชาติ........................ศาสนา....................อาชีพปัจจุบัน.................................................................
อยู่บ้านเลขที่................หมู่ที่..................ตรอก/ซอย.....................................ถนน..............................
ตำบล/แขวง.....................................อำเภอ/เขต.......................................จังหวัด............................
โทรศัพท์........................................โทรสาร.........................................มือถือ...................................
รหัสไปรษณีย์                 E-mail......................................................................
ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรภาคประชาสังคม  ชื่อ...............................................................................
ให้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
๒.   การศึกษา
๒.๑ ...
๒.๒ ...
๒.๓ ...
   ๓.  ความสัมพันธ์กับองค์กร
   ( ) เป็นสมาชิกขององค์กรภาคประชาสังคม ชื่อ ................................................................
      ตั้งแต่.................................................จนถึง...........................................................
   ( ) เคยดำเนินกิจกรรมร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม  ชื่อ..................................................
      ตั้งแต่.................................................จนถึง...........................................................
      ...
      ...
      ...
๔.   ข้าพเจ้าขอรับรองว่า  ข้าพเจ้า
(ก)   ไม่เป็นกรรมการสรรหาสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
(ข)   มีสัญชาติไทย


(ค)   มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการสรรหา
(ง)   ไม่เป็นภิกษุ  สามเณร  นักพรตหรือนักบวช
(จ)   ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(ฉ)   ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก  และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือเป็นผู้ที่เคยต้อง        คำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันที่ได้รับการสรรหา  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(ช)   ไม่อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง
(ซ)   ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารของพรรคการเมือง กรรมการพรรคการเมืองประธานสาขาพรรคการเมือง ข้าราชการการเมือง  หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(ฌ)   ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการ      ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ญ)   เป็นผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน  มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริต
๕.   ข้าพเจ้ายินยอมให้องค์กร................................................................................................
เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
   ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อความข้าต้นเป็นความจริงทุกประการ  และหากข้าพเจ้าได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองแล้ว  ข้าพเจ้ายินดีเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองและจะทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและส่วนรวมเพื่อพัฒนาการเมืองให้เจริญก้าวหน้าสืบไป*


            (ลงชื่อ).....................................................ผู้ให้ความยินยอม
               (..................................................)





*การให้ข้อมูลเป็นเท็จเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หนังสือมอบหมายทำการแทน
ขององค์กรภาคประชาสังคม
.................................................

ที่............................................
วันที่...............เดือน.........................พ.ศ.............
เรื่อง   มอบหมายให้ทำการแทน
เรียน   เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

   ข้าพเจ้า  ชื่อ......................................................นามสกุล.....................................................
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน...
ตำแหน่ง......................................................ชื่อองค์กร...................................................................
เลขที่.........................หมู่ที่......................ตรอก/ซอย......................................................................
ถนน....................................ตำบล/แขวง..................................อำเภอ/เขต.....................................
จังหวัด...............................................รหัสไปรษณีย์ 
ได้มอบหมายบุคคลต่อไปนี้
๑.   ...
๒.   ...
เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนองค์กรภาคประชาสังคม  ชื่อ .......................................................................

   เพื่อเป็นหลักฐาน  ข้าพเจ้า .........................................................จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน


               (ลงชื่อ).......................................................ผู้มอบหมาย
                  (....................................................)

               (ลงชื่อ).......................................................ผู้รับมอบหมาย
                  (.....................................................)

               (ลงชื่อ).......................................................พยาน
                  (....................................................)

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

เปิดข้อมูล กทช.ใช้เงินกระจาย!

กทช.ใช้เงินกระจาย!

รถหรู 33 ล้าน -วิทยุแจกกรมวังผู้ใหญ่-โปรยแข่งกอล์ฟ วปอ.นับแสน

Author by admin 18/01/12

เปิดข้อมูล กทช.ใช้เงินกระจาย!

รถประจำตำแหน่ง. 7 อรหันต์ 33 ล้าน รถตรวจสอบ 9 คัน 142.5 ล้าน จ้างที่ปรึกษา 3 G 26 ล้าน ซื้อวิทยุแจกกรมวังผู้ใหญ่ โปรยให้ด๊อกเตอร์ทำพีอาร์งานแข่งกอล์ฟ วปอ. จัดงานเลี้ยงเชื่อมสัมพันธ์นักศึกษา บยป.นับแสน

การใช้งบประมาณแผ่นดินขององค์กรอิสระอย่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ปัจจุบันแปลงร่างมาเป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างหนัก  เพราะนอกจากมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนแล้ว ยังใช้สนับสนุนภารกิจอื่นด้วย

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ตรวจสอบพบว่า กรณีรถยนต์ประจำตำแหน่งของคณะกรรมการ กทช.  เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2550  สำนักงาน กทช.ได้เช่าจาก บริษัท ไทยเพรสทิจ เร้นท์ เอ คาร์ จำกัด จำนวน 7 คัน ยี่ห้อ เมอร์ซิเดสเบนซ์ รุ่น E230 จำนวน 1 คัน  เมอร์ซิเดสเบนซ์ รุ่น E200 จำนวน 5 คัน และ BMW 5231i จำนวน 1 คัน

ยังพบว่า เช่ารถตู้ 12 ที่นั่ง 17 คัน Toyota Commuter High Roof 2.5L เช่ารถบรรทุกดีเซล ดับเบิ้ลแคป 1 ตัน Toyota Hilux Vigo 13 คัน  จากบริษัท ไทย เพรสทิจ เร้นท์ เอ คาร์ จำกัด 33,420,000 บาท เมื่อ 21 ธ.ค. 50

เช่ารถตู้ขนาด 7 ที่นั่ง วีไอพี จำนวน 3 คัน บริษัท ไทยเพรสทิจ เร้นท์ เอ คาร์ จำกัด 14,926,500 บาท เมื่อ   31 ม.ค. 51

ซื้อรถยนต์ตรวจสอบหาทิศวิทยุพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 9 คัน จาก บริษัท Thales Communications S.A. และ บริษัท วิริยะกิจ (1995) จำกัด วงเงิน 142,565,409 บาท  ( 18 ธ.ค. 50)

ซื้อรถพยาบาลและระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จาก หจก.ณัฎฐนนท์ ซัพพลาย  4,726,510  บาท เมื่อ 20 มี.ค. 52

เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Notebook) จำนวน 58 เครื่อง จากบริษัท อุดมสุข อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด (นายมัธยม รัชตเมธี เจ้าของ)  4,229,033.76 บาท  (เครื่องละ 72,914 บาท) เมื่อ 30 ธ.ค. 51

จ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการศึกษาด้านเศรษฐกิจและแนวทางกำกับดูแลสำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond) บริษัท NATIONAL ECONOMIC RESEARCH ASSOCIATES, INC. จำนวน 2 ครั้ง 26,851,013 บาท แบ่งเป็น 2 สัญญา ทำสัญญาวันเดียวกัน(23 ก.ค. 52)  จ้างเพื่อประมูลคลื่นความถี่สำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond) 14,999,570 บาท และ จ้างเพื่อดำเนินโครงการศึกษาด้านเศรษฐกิจและแนวทางกำกับดูแลสำหรับการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (IMT หรือ 3G and Beyond)  11,851,443 บาท

จ้างบริษัท ดับเบิลยู แอนด์ เอสเดคคอเรชั่น จำกัด ปรับปรุงห้องประชุม ชั้นที่ 1 อาคารอำนวยการ เป็นห้องรับรองสำหรับแขกพิเศษ  8,456,368 บาท เมื่อ 20 มิ.ย. 54

จ้างบริษัท เอส อาร์ พี สุวรรณภูมิ คอนสตรัคชั่น จำกัด ปรับปรุงห้องน้ำอาคารหอประชุม 2,300,000 บาท เมื่อ 1 ส.ค. 54

จ้างเอกชนปรับปรุงภูมิทัศน์อุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คลองสาน กรุงเทพฯ (บริษัท ชยาเขต จำกัด) 4,750,000 บาท

ซื้อเครื่องวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM จำนวน 3 เครื่อง และชนิดมือถือ จำนวน 18 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อสนับสนุนให้กรมวังผู้ใหญ่ใช้งาน จาก บริษัท เซลโฟล จำกัด (นายชวน ยิบยินธรรม ถือหุ้นใหญ่) โดยวิธีพิเศษ  4,371,000 บาท เมื่อ 12 ก.ย. 54

ซื้อเครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์เพื่อใช้ในราชการสำนักราชเลขาธิการจากบริษัท เอ็ม โซลูชั่น จำกัด  (เครือเอ็มลิงค์) 30,105,520 บาท เมื่อ 10 พ.ย. 51

จ้างบุคคลประชาสัมพันธ์องค์กรในงานการแข่งขันกอล์ฟการกุศล วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

(ดร.ธีอัศญ์ สีหสินอิทธ) เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 54 จำนวน 200,000 บาท

จ้างดำเนินการจัดงานเลี้ยงเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงาน กสทช. กับนักศึกษาหลักสูตรนัก

บริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บยป.)  โดยบริษัท เจนิเว่ จำกัด  เมื่อ 15 ส.ค. 54 วงเงิน 145,432 บาท

จ้างเหมาบริการจัดพิธีสืบสานประเพณีไทยเนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ในวันสงกรานต์ พฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554 โดย  บริษัท เจ.เอ.มายด์ จากัด  274,455  บาท

บริษัท ไทย เพรสทิจ เร้นท์ เอ คาร์ จำกัด ในเครือพระนคร ยนตรการ จำกัด นาย บรรเทิง จึงสงวนพรสุข   ถือหุ้นใหญ่  ส่วน  บริษัท ชยาเขต จำกัด ทุน จดทะเบียน  1  ล้านบาท  นางกรกาญจน์ รักเผ่าพันธุ์ นายไพสิฐ กูลชัย  ถือหุ้นใหญ่

กรรมการ กทช.ชุดแรก ประกอบด้วย นายเหรียญชัย เรียววิไลสุข นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ  รองศาสตราจารย์สุธรรม อยู่ในธรรม   ศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ   พลเอกชูชาติ พรหมพระสิทธิ์  ศาสตราจารย์ เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์  และ นายอาทร จันทวิมล

ต่อมาได้รับสรรหาใหม่ 4 คนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553  แทนนายอาทรที่ลาออก และกรรมการ 3 คนพ้นวาระ  ได้แก่ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร  นายพนา ทองมีอาคม  พันเอกนที สุกลรัตน์ นายบัณฑูร สุภัควณิช (ปัจจุบันเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทุยโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ งบประมาณ พนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)

กรรมการ กสทช.ชุดปัจจุบันที่ได้รับเลือกจากวุฒิสภาเมื่อวันที่  5 ก.ย.2554  จำนวน 11 คน ได้แก่

1.พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กิจการโทรคมนาคม

2.นายสุทธิพล ทวีชัยการ ด้านนิติศาสตร์

3.พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า ด้านนิติศาสตร์

4.พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ กิจการโทรคมนาคม

5.พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ภาคกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์

6.พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กิจการกระจายเสียงโทรทัศน์

7.นายประเสริฐ ศลีพิพัฒน์  ด้านเศรษฐศาสตร์

8.นายธวัชชัย จิตรภาษนันท์ ด้านเศรษฐศาสตร์

9.น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์

10.นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กิจการโทรคมนาคม

11.พ.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ด้านการศึกษา วัฒนธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย

(ตอนหน้าว่าด้วยการใช้เม็ดเงิน 200 ล้านทำประชาสัมพันธ์)

http://www.prasong.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/33/