วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 22 ธันวาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 08.30-17.30 น. ณ โรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

กรมการค้าต่างประเทศ จัดสัมมนา'เจาะตลาดการค้าการลงทุนในจีน (ตอนใต้)' 22 ธ.ค. นี้
    นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า จากการเปิดการค้าเสรีระหว่างอาเซียน – จีน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นมา การค้าของประเทศไทยและจีนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 35.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่าประมาณ 7.9 แสนล้านบาทโดยมูลค่าการค้าผ่านแดนระหว่างกันมีมูลค่า 14,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 200 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า 4,700 ล้านบาท
    เพื่อเป็นการผลักดัน และสนับสนุนการค้าและการลงทุนของไทยไปยังจีนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น กรมการค้าต่างประเทศในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้กำหนดจัดการสัมมนาในหัวข้อ “เจาะตลาดการค้าการลงทุนในจีน (ตอนใต้)” ในวันพุธที่ 22 ธันวาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 08.30-17.30 น. ณ โรงแรมริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
    การจัดการสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนไทยที่มีความสนใจที่จะไปลงทุนทำการค้าและทำธุรกิจในประเทศจีนได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับลู่ทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตมณฑลของจีนตอนใต้ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน พร้อมทั้งรับฟังประสบการณ์จากนักธุรกิจไทยที่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศจีน
    ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมการสัมมนาสามารถ Download กำหนดการสัมมนาและใบสมัครเข้าร่วมการสัมมนาได้ที่ http://www.dft.go.th และส่งใบสมัครได้ทางโทรสารหมายเลข 02 547 4728 ภายในวันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2553 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1385 หรือที่ 02 547 4730-32               
พาณิชย์ เดินหน้า รุกตลาดค้าชายแดนรับบาทแข็งหวังเพิ่มมูลค่าการค้า

    กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เร่งรุกตลาดค้าชายแดนไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 รับสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นหวังเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนไม่น้อยกว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
    นางสาวผ่องพรรณ  เจียรวิริยะพันธ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เดือนสิงหาคมของปีนี้ พบว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และประเทศเพื่อนบ้านคู่ค้าที่สำคัญของไทยอย่างมาเลเซียก็ประสบปัญหาค่าเงินริงกิตแข็งค่าเช่นเดียวกัน คาดว่ามูลค่าการค้าชายแดนไตรมาส 4 อาจจะลดลงจากปีที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศจึงได้เตรียมรับสถานการณ์โดยวางกลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างการค้าการลงทุน การสร้างเครือข่าย และพันธมิตรทางการค้ากับประเทศคู่ค้าและประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 จนถึงเดือนกันยายน 2554 ได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่องกฎระเบียบการค้าการลงทุน โดยวิทยากรซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเชี่ยวชาญจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ รวมทั้งการนำคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและเอกชนบุกตลาดประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา ลาว พม่า จีน เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอินเดีย เพื่อเจรจาธุรกิจและสร้างเครือข่ายการค้าการลงทุนร่วมกัน ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.dft.go.th หรือติดต่อได้โดยตรงที่ สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ Hot lines สายด่วน : 1385    
    รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า  ในปี 2553 (มกราคม-กันยายน) การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีมูลค่าการค้ารวม  584,929.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.0 แบ่งเป็นการส่งออก ที่มีมูลค่า 366,112.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 (จาก 256,472.3 ล้านบาท)  การนำเข้า ที่มีมูลค่า  218,816.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 (จาก 200,527.0 ล้านบาท) ไทยได้ดุลการค้า มูลค่า 106,813.4 ล้านบาท โดยเป็นการค้าชายแดนไทยกับมาเลเซียสูงสุด มีมูลค่า 376,037.8 ล้านบาท หรือร้อยละ  64.3 ของมูลค่าการค้าชายแดนรวม รองลงมา คือ  พม่า มูลค่า 103,397.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.9  ลาว มูลค่า 64,003.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.94  และกัมพูชา มูลค่า 41,492.3 หรือร้อยละ 7.1
    สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา มูลค่า 106,179.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.0 ของมูลค่าการส่งออก  เครื่องคอมพิวเตอร์ มูลค่า 30,716.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.4  ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ มูลค่า 18,479.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0  น้ำมันดีเซล มูลค่า 12,587.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5
    สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 61,384.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.1 ของมูลค่าการนำเข้า  ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ มูลค่า 18,095.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.3  สื่อบันทึก ข้อมูล ภาพ เสียง มูลค่า 16,588.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.6  เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ มูลค่า  13,686.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3      


วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น.ณ ห้องประชุม ๑ สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง

           ด้วยสำนักพระราชวัง ร่วมกับ บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กันตนา ออร์กาไนเซอร์ แอนด์ เมเนจเมนท์ จำกัด จะจัดการแสดง แสง เสียง และสื่อผสม "วัฒนธรรมทอง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา" ที่สนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พร้อมทั้งร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคล ๘๐ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕
          ทั้ง นี้ สืบเนื่องจากการที่สำนักพระราชวังและภาคเอกชนทั้ง ๒ หน่วยงานดังกล่าว ได้ร่วมกันจัดการแสดง แสง เสียง และสื่อผสม "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๗๒ พรรษา เฉลิมหล้าจอมราชัน" ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ และการแสดง "ธ สถิตในดวงใจ ไทยทั่วหล้า" ใน ๘ จังหวัดทั่วประเทศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา 
          ใน การนี้ นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง จะเป็นประธานในการแถลงข่าวการจัด การแสดงแสง เสียง และสื่อผสม "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา" 
          ณ ห้องประชุม ๑ สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง ในวันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านให้เกียรติร่วมงานแถลงข่าวตามวันและเวลาดังกล่าว โดยได้แนบกำหนดการและแผนที่มาพร้อมนี้ พร้อมทั้งขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
สำนักพระราชวัง
โทร. ๐ ๒๒๘๑ ๘๑๙๙ ต่อ ๑๑๐๕ - ๑๑๑๔
 
          กำหนดการ
          งานแถลงข่าวการแสดงแสง เสียง และสื่อผสม
          "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา"
          วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
          เวลา ๑๐.๐๐ น.
          ณ ห้องประชุม ๑ สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง 
 
          ๑๐.๐๐ น. - ลงทะเบียน / อาหารว่าง

          ๑๐.๓๐ น. - พิธีกรกล่าวต้อนรับ
          - วิดีทัศน์แนะนำการแสดง
          - การแถลงข่าว การแสดงแสง เสียง และสื่อผสม
          "วัฒนธรรมทองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ๘๔ พรรษามหาราชา" โดย
          · นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง 
          ประธานการจัดงาน
          · นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สำนักพระราชวัง 
          รองประธานการจัดงาน
          · นายเสริมคุณ คุณาวงศ์ 
          ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน)
          ผู้อำนวยการด้านการผลิต
          · นายจาฤก กัลย์จาฤก 
          ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา ออร์กาไนเซอร์ แอนด์ เมเนจเมนท์ จำกัด
          ผู้อำนวยการด้านบริหารโครงการ
          - ตัวอย่างการแสดง ในเพลงพระราชนิพนธ์ "เทวาพาคู่ฝัน"
          - แนะนำนักแสดงนำ : รินลณี ศรีเพ็ญ
          - ถ่ายภาพ / ตอบข้อซักถาม
          ๑๑.๑๕ น. - สิ้นสุดการแถลงข่าว
 
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์การแสดงฯ




วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ ห้องบอลรูมบี โรงแรมมารวยการ์เด้น

          สถาบัน วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กำหนดจัดการสัมมนาฟรี! เรื่อง “วว. สร้างธุรกิจ นำผลผลิตสร้างงาน : เครื่องดื่มยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ” ในวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา 08.30-13.00 น. ณ ห้องบอลรูมบี โรงแรมมารวยการ์เด้น ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. เผยแพร่สู่สาธารณชน โดยมีผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนจำนวน 100 คน ให้ความสนใจตอบรับเข้าร่วมการสัมมนา ซึ่งจะได้รับทราบถึงศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ วว. อย่างเป็นรูปธรรม อันจะนำไปสู่การนำผลงานวิจัย วว. ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ในอนาคต

กองประชาสัมพันธ์
โทร. 0 2577 9359-60
โทรสาร.0 2577 9362
E-mail : pr@tistr.or.th

          กำหนดการการสัมมนา
 
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน / ชมนิทรรศการผลงานวิจัยและพัฒนา วว.

09.00 – 09.10 น. ชมวิดิทัศน์แนะนำสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


09.10 - 09.15 น. กล่าวต้อนรับ โดย นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว.


09.15 – 10.30 น. “Click Marketing…Think Out of The Box : สร้างการตลาดและธุรกิจ
ด้วยความคิดสร้างสรรค์”
โดย ผศ.ดร.ชวนะ มหิทธิชาติกุล ภวกานันท์
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.30– 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 11.00 น. “ขั้นตอนการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ วว. เพื่อการผลิตสู่เชิงพาณิชย์”
โดย นายชวลิต ลีลาศิวพร
รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และพัฒนาธุรกิจ วว.

11.00 – 12.00 น. “วว.สร้างธุรกิจ...นำผลผลิตสร้างงาน : เครื่องดื่มยุคใหม่...ใส่ใจสุขภาพ”
w เครื่องดื่มผลไม้รวมเพื่อสุขภาพไลโคเอ็ม (Lyco-M)
โดย.. ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล
นักวิชาการ ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว.
w เครื่องดื่มน้ำผักเชียงดา
โดย..นางวิมลศรี พรรธนประเทศ นักวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว.
w เครื่องดื่มน้ำมะนาว / น้ำว่านหางจระเข้ / เครื่องดื่มสกัดจากปลายข้าว
โดย.. นางเรวดี มีสัตย์ นักวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร วว.
w น้ำผักหวานป่าพร้อมดื่ม
โดย.. นายสายันต์ ตันพานิช นักวิชาการ
รักษาการผู้อำนวยการสถานีวิจัยลำตะคอง วว.

12.00-12.30 น. ตอบข้อซักถาม

12.30 น. เป็นต้นไป รับประทานอาหารกลางวัน / ชมนิทรรศการ / ปิดการสัมมนา


 

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

[Gift for life] เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้



From: ศุภวัฒน์ เขียวเหลือง <boom_yutasan@hotmail.com>
Date: 2010/11/10
Subject: [Gift for life] เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้
To:

เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้




เปิดนิทรรศการต่อต้านทุจริตของไทย 10 - 13 พ.ย.นี้ (ไอเอ็นเอ็น)

          สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. จัดงาน "Thailand Anti-Corruption Expo 2010" วันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9:00 น. - 19:00 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน C ภายใต้แนวคิด "เมืองคนดี" 

          โซน 1 นิทรรศการ ป.ป.ช. กับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต : นำเสนอว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สถานการณ์การทุจริตในประเทศไทย 

          โซน 2 นิทรรศการ Thailand Changes : นำเสนอเรื่องของ Corruption Perception Index หรือ CPI ของไทย และแนวคิดในการยกระดับค่า CPI ภาครัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สากล

          โซน 3 นิทรรศการเครือข่ายเมืองคนดีภาครัฐ : นำเสนอเรื่องของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และหลักคุณธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การทำงานของ ป.ป.ช.

          โซน 4 นิทรรศการเครือข่ายเมืองคนดีภาคธุรกิจเอกชน : นำเสนอเรื่องของหลัก บรรษัทภิบาล และการดำเนินธุรกิจสีขาว

          โซน 5 นิทรรศการเครือข่ายเมืองคนดีภาคประชาสังคม : นำเสนอเรื่องความร่วมมือระหว่างองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นกับภาคประชาชน เน้นเรื่องการพิทักษ์ มิใช่ปราบปราม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

          โซน 6 นิทรรศการเครือข่ายภาคสื่อมวลชน : นำเสนอเรื่อง บทบาทของสื่อมวลชนในการร่วมมือนำเสนอ การต่อต้านคอร์รัปชั่น โซน 7 ส่วนเวทีและลานกิจกรรม : ส่วนกิจกรรมการแสดง จากศิลปิน 

          โซน 8 นิทรรศการฟื้นฟูประเทศไทย : นำเสนอเรื่องการดำเนินงานของ ป.ป.ช. กับเครือข่ายพันธมิตรพิชิตคอร์รัปชั่นในต่างประเทศ ร่วมกับภาคีเครือข่ายและองค์กรนานาชาติ และโครงการแนวร่วมปฏิบัติ Collective Action

          โซน 9 นิทรรศการเมืองเด็กคนดี "The Future by Kids." : นำเสนอเรื่อง แนวความคิดของเด็ก เกี่ยวกับ การต่อต้านการทุจริต

          โซน 10 นิทรรศการ Spiritual Anti-Corruption : The New Challenge : นำเสนอทางเลือกใหม่ ในการต่อต้านการทุจริต ผ่านการชำระจิตใจ โดยสมาธิวิปัสสนา





ขอขอบคุณภาพประกอบจาก muangkhondee.com





[BooM] คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว




From: ศุภวัฒน์ เขียวเหลือง <boom_yutasan@hotmail.com>
Date: 2010/11/9
Subject: [BooM] คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว
To:

คัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถึงไทยแล้ว




คัมภีร์พุทธ2พันปี อัญเชิญมายังไทย (ไทยโพสต์)

          อัญเชิญพระไตรปิฎกโบราณ อายุกว่า 2 พันปีที่ถือเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก นอร์เวย์ให้ไทยยืมมา ประดิษฐานที่พุทธมณฑล เปิดให้ศาสนิกชนได้เคารพบูชาเนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงครบ 7 รอบ

          ที่ห้องรับรองบุคคลทั่วไป ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 09.09 น. วันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้แทนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีเจริญชัยมงคลคาถาและอัญเชิญธรรมเจดีย์คัมภีร์ หรือพระไตรปิฎก โบราณ อายุกว่า 2,000 ปี จากประเทศนอร์เวย์ โดยมีบุคคลสำคัญ คณะสงฆ์ ประชาชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

          พิธีอัญเชิญธรรมเจดีย์เริ่มด้วยนายนิพิฏฐ์ และนางคัทยา คริสทีนา โนร์ดการ์ด เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ถวายนมัสการธรรมเจดีย์ จากนั้นนางคัทยาได้กล่าวถึงการค้นพบและกล่าวมอบธรรมเจดีย์มาประดิษฐานที่ ประเทศไทย 





          นายนิพิฏฐ์กล่าวต้อนรับว่า วันนี้นับเป็นวันมหามงคล และเป็นวันที่มีความ สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของโลก เป็นวันจัดพิธีรับธรรมเจดีย์พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณอันศักดิ์สิทธิ์มา ประดิษฐานและจัดแสดง ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา พุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นมากว่า 100 ปี นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือน นอร์เวย์เป็นครั้งแรก

          รมว.วัฒนธรรมกล่าวว่า การอัญเชิญธรรมเจดีย์มาสู่ประเทศไทยในครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อประเทศไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่จะได้สักการะธรรมเจดีย์ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า และจะได้ศึกษาเรื่องราวแห่งพระธรรมคำสั่งสอนจากนิทรรศการที่จะ ได้จัดให้มีขึ้นต่อไป

          จากนั้น พระพรหมเมธี เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสงฆ์ นำคณะสงฆ์สวดเจริญพุทธมนต์ นายนิพิฏฐ์รับมอบธรรมเจดีย์จากเอกอัครราชทูตราช อาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เพื่อถวายแด่พระธรรมสิทธินายก ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นผู้อัญเชิญธรรมเจดีย์เข้าสู่ ขบวนแห่ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดเตรียมไว้อย่างสมเกียรติ 

          จากนั้นอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบก เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิมุ่งหน้า สู่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งธรรมเจดีย์จะตั้งประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 โดยจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมและสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา

          ธรรมเจดีย์ดังกล่าว พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี และนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เดินทางไปรับมอบจากสถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มาถึงประเทศไทยในเช้าวันที่ 8 พ.ย. ทั้งนี้ ธรรมเจดีย์ถือเป็นต้นกำเนิดพระไตรปิฎก พระคัมภีร์พุทธศาสนาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ถูกค้นพบก่อนสงครามจะเกิดขึ้นในถ้ำบริเวณเทือกเขาบามิยัน ตั้งอยู่ห่างประมาณ 2 กม. จากพระพุทธรูปหินบามิยันสูง 53 เมตร ที่ถูกทำลายในปี พ.ศ.2544 ในอดีตดินแดนแถบนี้ชื่อว่าคันธารราฐ อยู่บนเส้นทางสายไหม เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนา และปัจจุบันดินแดนแถบ นี้เรียกว่าประเทศอัฟกานิสถาน
    
          สถาบันอนุรักษ์สเคอร์เยน ประเทศนอร์เวย์ ได้คัมภีร์โบราณชุดแรกในปี พ.ศ.2539 จากพ่อค้าของเก่าซัมฟ็อก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้วางแผนการขนย้ายคัมภีร์ทุกวิถีทาง ในช่วงปี พ.ศ.2540-2543 (ในปี พ.ศ.2544 ถ้ำแถบเทือกเขาบามิยันได้ถูกระเบิดทำลายจนหมดสิ้น รวมทั้งองค์หลวงพ่อบามิ ยันสูง 50 เมตร) ปัจจุบันสถาบันสามารถอนุรักษ์คัมภีร์โบราณไว้ได้ประมาณ 5,000 ชิ้นที่ยังเป็นชิ้นส่วนสมบูรณ์และแตกหักเล็กน้อย และส่วนที่เศษชิ้นเล็กๆ อีกประมาณ 8,000 ชิ้น ทั้งหมดมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6-12 การจารึกทำไว้ในใบลาน เปลือกไม้ หนังสัตว์และแผ่นทองเหลือง 
              
          นักโบราณคดีและภาษาศาสตร์นานาชาติใช้เวลา 12 ปีทำการชำระคัมภีร์โบราณ โดยสันนิษฐานสรุปว่าเป็นผลงานของพระอรหันต์ที่ได้จารึกพระธรรมวินัยเป็นตัว อักษรในราวพุทธศตวรรษที่ 6 หรือประมาณร่วม 2,000 ปีล่วงมาแล้ว





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก  ชมรมส่งเสริมท่องเที่ยวบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อุบลราชธานี








วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7283 ข่าวสดรายวัน


จุดพลุวาระแห่งชาติ แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก


คอลัมน์ รายงานพิเศษ



วิกฤตน้ำท่วมปีนี้ถือว่าเลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

เบื้อง ต้นใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้าน คาดว่ายังไม่พอ เพราะนี่เป็นเพียงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น ยังไม่ได้ประเมินความเสียหายด้านเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออก อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคเกษตร ฯลฯ

ทั้งที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิด ชอบเรื่องน้ำและการเตือนภัยอยู่ไม่น้อย แต่ที่ผ่านมาคนไทยกลับต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำกันแทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ท่วม หรือแล้งซ้ำซาก

ปัญหาน้ำท่วมคราวนี้จึงนับเป็นบทเรียนอันเจ็บปวดของคนไทย

สาเหตุเกิดจากอะไร และควรมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ทีมงานเศรษฐ กิจ"ข่าวสด"ได้สอบถามความเห็นจากหลากหลายบุคคล

เริ่ม จาก นายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงแผนป้องกันน้ำท่วมในอนาคตว่า ควรมีระบบเตือนภัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่รับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นกรมอุตุนิยม วิทยาซึ่งจะรู้ล่วงหน้าเรื่องสภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ กรมชลประทานรู้เรื่องระบบน้ำว่ามีมากน้อยแค่ไหน จะท่วมที่ใด หรือศูนย์เตือนภัยพิบัติ ต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ มันไม่ได้

และการเตือนภัยให้ประชาชนรับทราบเหตุการณ์ต่างๆ นี้ ต้องเตือนบ่อยๆ และอธิบายให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นๆ ได้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ไม่ใช่บอกแค่ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน เย็น มันไม่ได้ รวมทั้งต้องประสานผู้นำในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้เตือนประชาชนอีกแรง เพื่อให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะได้ไม่เครียด เพราะบางคนถึงกับหมดเนื้อหมดตัวไปเลยอย่างที่เราเห็นกันอยู่ ณ ขณะนี้

บท เรียนนี้ตนเห็นว่า ต้องมีคำสั่งออกมาเป็นนโยบายจากรัฐหรือเป็น "วาระแห่งชาติ" ซึ่งตนเชื่อว่าจะลดความเสียหายได้มาก หากคิดความเสียหายครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ มันประเมินค่าไม่ได้เลย

ส่วนที่มีคนบอกว่ารัฐบาลชุดนี้โดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจช้านั้นเห็นด้วย จริงๆ แล้วนายกรัฐมนตรีควรจะลงมาเล่นเองเหมือนกับนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน เมื่อมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นเขาจะลงมาบัญชาการเอง ซึ่งสามารถลดความสูญเสียไปได้มาก มีการย้ายคนออกได้เป็นแสนคน ไม่ใช่มาสั่งการให้รัฐมนตรีคนนั้นคนนี้ทำ หรือตั้งเป็นคณะกรรมการซึ่งมันไม่ทันการณ์ ตัวเองในฐานะเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจสูงสุดควรสั่งการเอง และถ้าหัวหน้าหน่วยงานไหนไม่ทำหรือทำไม่ได้ก็ต้องมีการลงโทษ

"ผม เห็นว่าเรื่องชีวิตของผู้คนนั้นสำคัญกว่าอย่างอื่นโดยเฉพาะทางด้านจิตใจที่ ไม่สามารถประเมินค่าได้ บางคนเครียดต้องฆ่าตัวตายเพราะหมดเนื้อหมดตัว น้ำท่วมนาข้าวเป็นพันๆ ไร่ แล้วรัฐบาลบอกว่าจะชดใช้ให้ไร่ละ 5 พันบาท มันคงทดแทนกันไม่ได้ แต่ถ้ารู้ก่อนล่วงหน้าและเตือนภัยให้ทุกคนเตรียมแผนป้องกัน เช่น รู้ว่าน้ำจะท่วมนาข้าวก็ให้รีบเกี่ยวข้าวไว้ก่อนเพื่อจะได้ช่วยลดความสูญ เสียลงไปได้"นายสมิทธ กล่าว

ด้าน นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน มองว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ตนเห็นว่าเกิดจากวัฏจักรของธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ และไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ ดังนั้นผู้คนจะต้องเข้าใจธรรมชาติ ความเสียหายที่เกิดขึ้นหากไม่ถูกแก้ไขเลยประชาชนก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงใน ทุกปี

เช่น ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อ 40 ปีก่อนแม้จะมีปริมาณน้ำไหลบ่าผ่านจังหวัดดังกล่าวในปริมาณที่ใกล้เคียงกับ ขณะนี้แต่ก็ไม่ได้ท่วมขังอย่างในปัจจุบัน สาเหตุเพราะมีช่องทางให้น้ำไหลผ่านเยอะและกว้าง แต่ขณะนี้บ้านเรือนแน่นหนามากขึ้นทำให้ขวางทางน้ำไหล ขณะที่ถนนหนทางแม้จะมีท่อระบายน้ำ แต่เมื่อถูกขวางด้วยบ้านเรือนก็ไม่สามารถระบายได้ ดังนั้นต้องมีการหาวิธีการขยายทางเดินของน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงลำ ตะคองให้เร็วและมากที่สุด

รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาระบบทำน้ำอ้อม เมืองที่กรมชลประทานทำได้สำเร็จในตัวจ.อุดรธานีมาแล้วก็ควรนำมาพิจารณา รวมถึงน้ำท่วมในจ.ชัยภูมิก็เช่นกัน แม้ว่าจะมีลำน้ำปะทาวผ่านใจกลางเมือง แต่เพราะเมืองครอบตัวลำน้ำไว้ทำให้น้ำไม่สามารถผ่านไปได้อย่างสะดวก จึงประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีและต้องมีการแก้ไขปัญหาเช่นเดียวกับนครราชสีมา

สำหรับ ปัญหาน้ำท่วมใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นั้น นายปราโมทย์ กล่าวว่า เกิดจากปริมาณน้ำที่เยอะเกินกว่าลำน้ำคูคลองต่างๆ จะรับไหว เนื่องจากคลองหรือปากทางรับน้ำแคบ ทำให้น้ำที่ไหลบ่าเข้ามาไหลระบายไม่ทัน ส่งผลให้ท่วมเข้าไปในตัวเมือง

ดังนั้นทางที่จะแก้ไขปัญหาคือการ สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในชุมชนในทุกพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วม ซึ่งคนในพื้นที่จะรู้ดีที่สุดมากกว่าคนนอกพื้นที่ และไม่ต้องรอให้หน่วยงานราชการเข้าไปออกคำสั่งว่าควรแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะคนในชุมชน โดยเฉพาะองค์การปกครองท้องถิ่นต่างๆต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันกำหนดแนวทาง การแก้ไขปัญหา

และในการเวนคืนที่ดินหากต้องมีการก่อสร้าง รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องจ่ายชดเชยให้กับประชาชนที่ได้รับผล กระทบในราคาที่เป็นธรรมและจูงใจให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการย้ายที่อยู่ เพื่อก่อสร้างคันกั้นน้ำ ขยาย หรือขุดลำคลองเพื่อรับน้ำ และทุกพื้นที่ต้องกำหนดโซนกั้นน้ำ ซึ่งจะอยู่รอบตัวเมือง เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าเขตเศรษฐกิจ เห็นได้จากพื้นที่ชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยา ประชาชนที่อาศัยนอกเขตโซนกั้นน้ำก็ต้องทำใจว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม

เพราะหากไม่กำหนดโซนจะทำให้ประชาชนปลูกบ้านเรือนอย่างไม่เป็นระเบียบและขวางทางน้ำไหลเช่นปัจจุบัน

นาย สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เท่าที่รู้ประเทศไทยยังมีการบริหารจัดการน้ำไม่ดี ดูได้จากการเกิดวิกฤตน้ำท่วมสลับกับแห้งแล้งกันตลอดแทบทุกปี

สาเหตุ สำคัญน่าจะเกิดจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องน้ำไม่ทำงานร่วมกัน หรือทำงานด้วยกันไม่ได้ ทะเลาะกันหลายเรื่อง ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือบูรณาการหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำมานั่งทำ งานเพื่อให้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดน้ำให้ไปด้วยกัน ให้เป็นแผนเดียวกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีเขื่อนขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก อาจไม่มีความจำเป็นนักที่ต้องสร้างเพิ่ม สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการจากนี้ต่อไป ต้องเป็นเขื่อนขนาดเล็ก แก้มลิง และฝายกั้นน้ำ เรื่องนี้คือเรื่องที่รัฐบาลต้องจัดการให้เร่งด่วนและเป็นรูปธรรม ไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะไม่สามารถบริหารจัดการกับน้ำให้เพียงพอ ไม่มากไป น้อยไปกับการใช้ในประเทศ

นอกจากนี้เรื่องปัญหาการจัดการน้ำ ถือว่ารัฐบาลไทยจัดการไม่ได้มานานแล้ว หรือจัดการได้ก็ไม่ดีนัก ดังนั้นรัฐบาลต้องเปิดทางให้เอกชนทำ หรือเข้ามาบริหารจัดการ หากใครต้องการใช้น้ำก็ต้องจ่ายค่าน้ำ โดยรัฐบาลจะต้องดูแลเรื่องค่าบริการไม่ให้สูงเกินไป แต่ต้องให้ระบบตลาดสามารถทำงานได้

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีระบบราชการ ที่มีปัญหามาตลอด ข้าราชการไทยต้องได้รับการกระตุ้น หรือให้สามารถขับเคลื่อนงานที่รับผิดชอบให้ได้เต็มประสิทธิภาพ

ส่วน แม่งานใหญ่อย่างกรมชลประทาน โดย นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัญหาการจัดการน้ำของกรมชลประทาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผ่านมาต้องพบอุปสรรคจากการต่อต้านการสร้าง เขื่อนที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังหาพื้นที่เหมาะสมในการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ได้ยาก เพราะพื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็มไม่เหมาะสมกับการสร้างอ่างเก็บน้ำ ส่งผลกระ ทบต่อเกษตรกรเป็นจำนวนมากไม่สามารถจะทำการเกษตรในพื้นที่ของตัวเองได้

ดัง นั้นจากนี้ต่อไปต้องให้ความสำคัญในการเร่งฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาน้ำและแหล่งเก็บน้ำให้สามารถประสานและควบคู่กันไปได้ เพื่อให้แผนการบริหารจัดการน้ำบรรลุผล

นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หลังน้ำลดคงต้องนำเรื่องของบประมาณปี ི ที่กรมชลประทานได้งบประมาณรวม 40,115.16 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 52.51% ของงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งหมดที่ได้ทั้งปี 76,207 ล้านบาท มาปรับปรุงและเกลี่ยใหม่เพื่อนำงบประมาณที่ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนมาดำเนินการ ใน 2 เรื่องคือ

1.การผันน้ำเลี่ยงเมือง เพื่อทำทางน้ำไหลผ่านใหม่ เพราะขณะนี้บ้านเมืองเกิดขึ้นมาก และส่วนใหญ่ก็สร้างอยู่ริมแม่น้ำ หากสามารถผันน้ำเลี่ยงเมืองได้ ก็จะกระทบ ต่อชุมชนไม่มาก เพราะที่ผ่านมากรมชลประทานดำเนินการนำร่องไปแล้ว 2 จังหวัดคือ มหาสารคาม และอุดรธานี ที่สร้างเสร็จแล้ว 3 ปีไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมอีกเลย

2.เร่ง ดำเนินการทำแก้มลิง หากมีปริมาณฝนและน้ำมาก ก็จะมีพื้นที่เก็บน้ำเพียงพอ ส่วนเรื่องของการทำเขื่อนขนาดใหญ่ ตามแผนของกรมชลประทาน ที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคทั้งเรื่องของการต่อต้าน การเวนคืน และเรื่องกฎหมาย

ดังนั้น จากนี้ต่อไปรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี คงต้องมี นโยบายเรื่องน้ำอย่างจริงจัง เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำสามารถบูรณาการและเดินหน้าขับเคลื่อนไปได้ โดยสั่งการให้แต่ละจังหวัดช่วยกันตรวจสอบสภาพบ้านเมือง และร่วมกันแก้ปัญหา ให้เป็นแผนยุทธศาสตร์บรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สรุปว่าหลังน้ำลดคราวนี้ น่าจะมีการสังคายนาแผนการบริหารจัดการน้ำครั้งใหญ่ และถ้าจะให้ดีควรทำเป็นวาระแห่งชาติ

เพื่อไม่ให้คนไทยต้องเผชิญชะตากรรมเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า


หน้า 8


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEEzTVRFMU13PT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB3Tnc9PQ==


--
เขียนโดย blogmon ถึง blogmon เวลา 11/06/2010 08:05:00 หลังเที่ยง