วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ขาดรูปใบเดียว อดสอบแพทย์


จาก: lee lee <thai9lee@gmail.com>
วันที่: 20 ตุลาคม 2553, 21:18
หัวเรื่อง: ขาดรูปใบเดียว อดสอบแพทย์
ถึง: 
 
 

เรียนท่านที่รักบ้านเมือง และสื่อมวลชน จดหมายจากคุณอำนวย            สุนทรโชติ

 
                         ชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ

                                                                                                  87/2 ถ.ศุขประยูร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

                                                                            20  ตุลาคม 53

เรื่อง              ขอชี้แจงกรณีน.ส.ศรัญญา ไม่มีสิทธิ์เข้าสอบและข้อเสนอเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในปีต่อๆไป

กราบเรียน    ศ.พญ.บุญมี  สถาปัตยวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการจัดสอบของกสพท.

                   ตามที่ท่านได้ให้ข่าวที่ปรากฎบนหน้าหนังสือพิมพ์ในวันที่ 20 ตุลาคม 53 กรณีที่กสพท.ตัดสิทธิ์น.ส.ศรัญญา จันนามวงค์ไม่ให้เข้าสอบนั้น ผมเห็นว่าท่านยังทราบข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนและการที่ท่านยืนยันว่ากรณีนี้เกิดขึ้นทุกปีนั้นแสดงให้เห็นว่าระบบยังมีปัญหาอยู่ผมจึงขอเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาแบบถาวรเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับนักเรียนในรุ่นต่อๆไปดังนี้

                     1.ตามที่ท่านให้ข่าวว่าทางอนุกรรมการได้ช่วยเหลือโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมจากเดิมภายในวันที่ 3 กย.53 เป็น 1 ตค.53 แต่นักเรียนไม่ติดตามข่าวทางเว็บไซต์ของกสพท.เองนั้น ผมคิดว่าแนวคิดและการกระทำดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเพราะตามประกาศฉบับแรกซึ่งถือเป็นฉบับหลักของกสพท.ที่นักเรียนทุกคนยึดถือนั้นระบุเพียงว่า “ให้ผู้สมัครสอบทุกคนตรวจสอบสถานภาพการสมัคร โดยคลิกที่ link ตรวจสอบสถานภาพการสมัครสอบและสถานที่สอบที่เว็บไซต์ www.9.si.mahidol.ac.th” เท่านั้นในข้อความดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ระบุว่าจะต้องเข้าตรวจสอบภายในเมื่อใดฉะนั้นนักเรียนก็สามารถเข้าตรวจสอบเมื่อไรก็ได้ตราบใดที่เป็นการตรวจสอบก่อนการสอบ ฉะนั้นการที่น.ส.ศรัญญาได้เข้าตรวจสอบในวันที่ 15 ตค.53 ซึ่งเป็นระยะเวลา 15 วันก่อนการสอบจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้ว ประกอบกับข้อความใช้คำว่า “สถานที่สอบ” ทำให้นักเรียนเข้าใจว่าการตรวจสอบจะเป็นการตรวจสอบว่าจะได้สอบในสถานที่ใดเหมือนกับของสทศ.ดังนั้นนักเรียนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่าเป็นการตรวจสอบสถานที่สอบซึ่งจะทำกันเมื่อใกล้การสอบจะมาถึง และผมขอยืนยันท่านว่านักเรียนส่วนใหญ่ที่สมัครสอบกับกสพท.นั้นคิดเข่นนี้และ ณ เวลานี้ก็ยังไม่ได้เข้าไปตรวจดังกล่าวเลย ฉะนั้นการเข้าใจประเด็นนี้ของน.ส.ศรัญญาจึงไม่ได้เกิดจากการตีความผิดของน.ส.ศรัญญาแต่เป็นการเขียนระเบียบไม่ชัดเจนของกสพท.เอง ประกอบกับตารางเวลารับสมัครที่อยู่ในประกาศก็ไม่มีข้อกำหนดว่าให้เข้าไปตรวจสอบได้ภายในเมื่อใดหรือหมดเขตการอุทธรณ์ปัญหาต่างๆเมื่อใดฉะนั้นนักเรียนจึงไม่ได้เข้าใจผิดหรือประมาทแต่อย่างใด

                      และการที่ท่านกล่าวว่า “นักเรียนไม่ติดตามข่าวสารทางเว็บไซต์ของกสพท.เอง” นั้นผมคิดว่าท่านนั้นมีสมมติฐานที่ผิดอย่างมากต่อนักเรียนและวิธีการรับสมัครระดับชาติ เพราะสิ่งที่ถูกต้องนั้นท่านจะต้องเขียนประกาศให้ครบและชัดเจนตั้งแต่ประกาศฉบับแรกที่ถือเป็นประกาศฉบับหลัก เพราะนักเรียนทุกคนจะยึดถือประกาศฉบับนี้เท่านั้น การมีประกาศใดๆเพิ่มเติมขึ้นมาในภายหลังนั้นมีความเสี่ยงอย่างมากที่นักเรียนทุกคนจะไม่รับทราบประกาศเพิ่มเติมดังกล่าวและจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างที่กิดขึ้น ซึ่งท่านก็ได้ยืนยันว่ามีเกิดขึ้นทุกปี และการที่ท่านตั้งสมมติฐานว่านักเรียนทุกคนจะต้องเข้าอ่านประกาศทางเว็บไซต์ของกสพท.อยู่เรื่อยๆหลังจากการสมัครและหลังจากการประกาศฉบับแรกแล้วนั้น เป็นสมมติฐานที่สร้างภาระให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันนักเรียนทุกคนนั้นมีภาระกิจมากอยู่แล้วทั้งการเรียนและการสอบการจะต้องบังคับให้นักเรียนที่สมัครไปแล้วจ่ายเงินและส่งเอกสารไปเรียบร้อยแล้วต้องมานั่งคอยระวังว่ากสพท.จะมีประกาศเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนั้นถือเป็นเรื่องที่สร้างภาระให้กับนักเรียนมากเกินไปและไม่ควรทำอย่างยิ่ง ยิ่งประเทศไทยมีปัญเรื่องการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลนั้นการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง

                      ฉะนั้นการที่ท่านอ้างว่าท่านได้ยืดระยะเวลาส่งเอกสารออกไปโดยการประกาศทางเว็บไซต์เพิ่มเติมนั้นไม่ถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาเพราะนักเรียนที่มีปัญหาจะไม่รับทราบประกาศดังกล่าว

                      2.ผมมีคำถามว่าทำไมการที่เจ้าหน้าที่ของกสพท.ทราบว่ามีนักเรียนไม่ว่ากี่คนก็ตามได้สมัครสอบและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ขาดเอกสารแค่บางอย่างนั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่านักเรียนคนนั้นสนใจที่จะเข้าสอบจริงๆ แต่การรับสมัครทางอินเตอร์เน็ตและการส่งเอกสารทางไปรษณีย์นั้นเป็นการสื่อสารทางเดียว นักเรียนอาจจะสมัครแต่ระบบไม่รับก็ได้ นักเรียนอาจจะจ่ายเงินแต่ท่านไม่ได้รับก็ได้ และนักเรียนอาจจะส่งเอกสารไปครบแต่ท่านได้รับไม่ครบก็ได้ ประกอบกับในใบสมัครนั้นท่านก็มีทั้งเบอร์โทร.ของนักเรียน เบอร์โทรของผู้ปกครอง ที่อยู่ของนักเรียน และอีเมล์ของนักเรียนทำไมท่านไม่เมตตาโทรหรือส่งจดหมายหรืออีเมล์ไปแจ้งนักเรียนที่มีปัญหานั้นซึ่งทำได้ง่ายมากและปัญหาจะจบ ซึ่งจำนวนนักเรียนที่มีปัญหาก็ไม่ควรจะมากจนท่านไม่สมารถติดต่อกลับไปได้ แต่ถ้าท่านจะอ้างว่าจำนวนนักเรียนที่มีปัญหานั้นมีจำนวนมากจนไม่สามารถติดต่อรายบุคคลได้นั้นก็จะแสดงให้เห็นว่าระบบการรับสมัครของท่านนั้นมีปัญหาจริงๆไม่เช่นนั้นคงไม่มีปัญจำนวนมากซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นท่านก็ควรปรับเปลี่ยนวิธีการรับสมัครให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับค่าสมัครสอบจำนวน 1200 บาทนั้นเมื่อเทียบกับการสอบ GAT/PAT แล้วถือว่าเป็นค่าสมัครที่แพงกว่าของ GAT/PAT เพราะการสอบ  GAT/PAT จะเสียค่าสมัครวิชาละ 150 บาทเท่านั้นซึ่งถ้าเป็นการสอบ 5 วิชาของกสพท.ก็ควรเสียค่าสมัครแค่ 750 บาทเท่านั้น และเมื่อการสอบ GAT/PAT ของสทศ.เก็บค่าสมัคร 750 บาทแล้วยังมีกำไรก็แสดงว่าการของของกสพท.น่าที่จะต้องมีกำไรเป็นเท่าทวี และยิ่งไปกว่านั้นการสอบ GAT/PAT ของสทศ.นั้นไปดำเนินการสอบที่ศูนย์สอบในทุกจังหวัดทำให้ยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายมากแต่ยังมีกำไร แต่การสอบของท่านกระทำในศูนย์สอบไม่กี่แห่งก็ยิ่งต้องมีกำไรมากขึ้นไปอีก แล้วเมื่อท่านมีกำไรจำนวนมากทำไมท่านไม่จัดงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้แก้ปํญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่นการติดต่อกับนักเรียนที่มีปัญหาทางโทรศัพท์หรือทางจดหมายซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายไม่มากเลยเมื่อเทียบกับกำไรที่ท่านได้รับ

                3.การที่ท่านกล่าวว่าการที่จะให้น.ส.ศรัญญาได้เข้าสอบนั้น “จะไม่ยุติธรรมกับคนอื่นๆ”นั้นผมไม่เข้าใจว่าการอนุญาตให้นักเรียนที่สมัครและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วได้เข้าสอบนั้นมันไม่ยุติธรรมกับคนอื่นอย่างไร ถ้าท่านจะหมายความว่าท่านก็ถือปฏิบัติเช่นนี้กับนักเรียนจำนวนมากที่มีปัญหาจนนักเรียนเหล่านั้นไม่สามารถเข้าสอบได้แล้ว ก็ต้องถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นตระหนกว่าท่านได้สร้างระบบและกติกาที่ส่งผลให้นักเรียนจำนวนมากไม่ได้เข้าสอบและเป็นเช่นนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงท่านควรกลับไปแก้ไขที่ระบบไม่ใช่โยนบาปไปให้นักเรียน โดยหลักการการสร้างกติกาสาธารณะแล้วการสร้างระบบหรือกติกาใดๆจะต้องยึดหลักว่าคนที่อ่อนแอที่สุดในสังคมจะต้องได้รับความสะดวกจากระบบนั้นได้ ไม่ใช่คิดแค่เพียงว่าถ้ามีคนจำนวนมากปฏิบัติได้ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่ยุติธรรมแล้ว

                 ผมขอยืนยันกับท่านว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิตของคนคนหนึ่ง เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นก็จะเป็นรอยบาปที่ติดตัวเขาไปตลอดชีวิต ซึ่งประเด็นนี้ยิ่งเมื่อได้เกิดขึ้นกับใครด้วยตนเองหรือเกิดกับลูกหลานของเขาเขาก็จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความเจ็บปวดดังกล่าว ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับนักเรียนในปีถัดๆไป ผมจึงขอเสนอวิธีการแก้ปัญหาดังนี้

                 ก. กำหนดกติกาให้ชัดเจนว่านักเรียนแต่ละคนจะต้องทำอะไรเมื่อไร และต้องไม่เปลี่ยนแปลงกติกาอีก เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ต้องคอยระวังที่จะต้องเข้าเช็คเว็บไซต์เป็นระยะๆเพราะกลัวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกติกา

                 ข. ถ้าท่านยังยืนยันที่จะใช้ระบบการรับสมัครแบบการสื่อสารทางเดียวแบบนี้ ควรแบ่งกำไรจำนวนหนึ่งมาเป็นค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับนักเรียนที่มีปัญหา

                 และสุดท้ายนี้ผมขอเรียนให้ท่านทราบว่าขณะนี้อนาคตของนักเรียนจำนวนหนึ่งกำลังขึ้นอยู่กับความเมตตาของท่าน เพียงแค่ท่านยอมลำบากในการแก้ไขเอกสารเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้มีอนาคตที่สวยงามต่อไป

                                                              อำนวย      สุนทรโชติ

                                                                 โทร.0865676052








วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๔๕ น. ณ ห้องมิ่งเมือง ชั้น ๔ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ หัวลำโพง กรุงเทพฯ

 
 
     วันพุธที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๓   เวลา ๐๘.๔๕ น. นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่างยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม ณ ห้องมิ่งเมือง ชั้น ๔ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ หัวลำโพง กรุงเทพฯ

--

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการเยาวชนชายขอบ "เปลี่ยนพื้นที่ตะโกน"

โครงการเยาวชนชายขอบ "เปลี่ยนพื้นที่ตะโกน"

Activity Date: 
Wed, 2010-10-20 09:00

สถานที่: ห้องประชุมสภาพัฒนาการเมือง ชั้น ๔ สภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการฯ

 

9.00 – 9.20 น. ละครข้างสุเหร่า "การเมืองดี...ชีวิตดี"

9.20 – 9.45 น. ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวต้อนรับและแนะนำสภาพัฒนาการเมือง

9.45 – 10.00 น. นำเสนอข้อค้นพบจากงานวิจัย "เยาวชนชายขอบหญิงชายกับการมีส่วนร่วมพัฒนาประชาธิปไตย"

10.00 – 11.30 น. เวทีเยาวชนเพื่อนำเสนอประเด็นสาธารณะที่สำคัญและห่วงใยของเยาวชนจากพื้นที่ชายขอบ

11.30 – 12.30 น. "เยาวชนชายขอบร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ใหญ่เมือง": รับฟังและแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาของพื้นที่กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยว ข้อง

------------------------------------------------------------------------

สถานที่: อาคารรัฐสภา

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น. เยาวชนชายขอบร่วมแลกเปลี่ยนกับนักการเมืองในรัฐสภา: เวทีเยาวชนเพื่อนำเสนอข้อห่วงใย/ประเด็นคำถาม และแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาของพื้นที่กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง
อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๓ เยาวชนจากสามจังหวัดชายแดนใต้ พบกับ สส. สว. ที่มาจาก สามจังหวัดชายแดนใต้

อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๔ เยาวชนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบกับ นักการเมืองที่เกี่ยวข้องในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

อาคารรัฐสภา ๒ ห้อง ๓๐๕ เยาวชนพบกับนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประเด็นธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน

14.30 – 14.45 น. ยื่นหนังสือให้กับผู้แทนรัฐบาล
14.45 – 15.00 น. เยาวชนชายขอบ: แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
----------------------------------------------------------------------

สถานที่: วีเทรน อินเตอร์เนชั่นแนลเฮ้าส์
15.30 – 16.00 น. กิจกรรมสันทนาการ
16.00 – 18.00 น. กิจกรรม "World Café" เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเยาวชนเมือง
18.30 – 21.30 น. อาหารเย็น และ กิจกรรม/การแสดงศิลปวัฒนธรรม

 

 

*เครือข่ายเยาวชนชายขอบเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย 17 องค์กร

ภาคเหนือ
1. กลุ่มตะกอนยม "โครงการศึกษาวิถีชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้"
2. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา "โครงการเสริมความรู้ทางด้านกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสถานะและสิทธิมนุษยชนจังหวัดเชียงราย"
3. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง "โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองในการจัดการที่ดินในเขต ป่าโดยรูปแบบโฉนด"
4. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย "พัฒนาศักยภาพเยาวชนชนเผ่าเพื่อให้เข้าถึงกลไกและการบริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบล"

ภาคอีสาน
1. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) (1) "โครงการพัฒนาทักษะแกนนำเยาวชนในการส่งเสริมประชาธิปไตย" (2) "โครงการโรงเรียนการเมือง ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน" (3) โครงการค่ายสิทธิมนุษยชนเพื่อคนรุ่นใหม่"
2. เครือข่ายที่ดินสมัชชาคนจน "โครงการเสริมสร้างขบวนการเรียนรู้การทำงานทางสังคมของเยาวชนหญิงชายในอีสาน"
3. Friend of Activist Network "โครงการสื่อสร้างสรรค์สะท้อนปัญหาเขื่อนโปร่งขุนเพชร"

อันดามัน
1. เครือข่ายเยาวชนอ่าวพังงา "โครงการค่ายฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรณรงค์และส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น"
2. องค์กรความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (1) "โครงการพัฒนาความร่วมมือภาคีสนับสนุนเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มเยาวชน อันดามัน" (2) "โครงการสร้างศักยภาพกลุ่มเยาวชนอันดามันและเครือข่ายเพื่อการพัฒนา ประชาธิปไตย"
3. เยาวชนกลุ่มเทียนไข "โครงการเยาวชนส่องสว่างสู่ชุมชน"
4. มูลนิธิประทีปธรรมเพื่อการศึกษา "การเมืองดี...ชีวิตดี โดยกลุ่มสื่อสาธารณะตัวน้อย"

สามจังหวัดชายแดนใต้
1. กลุ่มเยาวชนวิจัยเพื่อประชาธิปไตย "โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจประชาธิปไตย"
2. กลุ่มผู้หญิงกับสันติภาพ "โครงการสื่อวิทยุชุมชนสร้างสรรค์ประชาธิปไตยชุมชน"
3. เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ "โครงการเยาวชนจิตสาธารณะสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน"
4. เครือข่ายบัณฑิตอาสาพัฒนาสังคมจังหวัดชายแดนใต้ (1) " โครงการครูอาสาพัฒนาตาดีกา จังหวัดชายแดนภาคใต้" (2) "โครงการสื่อ InSouth สื่อทางเลือกชายแดนใต้"
5. มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ "โครงการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชนสู่การเรียนรู้ประชาธิปไตยทางการเมือง"
6. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ "โครงการสานสัมพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ"




วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา 07.00-13.00 น. ณ ชั้น 1 อาคารดุลโสภาคย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กำหนดจัดงาน “วันเบาหวานโลก 2553” World Diabetes Day 2010 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา 07.00-13.00 น. ณ บริเวณหน้าหน่วยตรวจสูติ-นรีเวชกรรม ชั้น 1 อาคารดุลโสภาคย์
          งานนี้เป็นการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตตามโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 จึงขอเชิญผู้สนใจร่วมงานตามกำหนดการดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพิชญ์วรา พันธุ์พิทย์แพทย์ โทรศัพท์ 0-2926-9340-2
          
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-9269310-1 นางสาวนภาพร บุญฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ 
          โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

--

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อดีตรมว.บัวแก้ว แนะคนไทยศึกษา-ถอดบทเรียนความขัดแย้งของชาติในอดีต

โดย เฉพาะพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศของ ร. 5 ควรนำมาประยุกต์ใช้ “สุรเกียรติ์” เปิดหน้าประวัติศาสตร์ชี้กรณีเขาพระวิหารที่หลายคนยังมีคำถาม  ถ้าศึกษาให้ดีจะเข้าใจสถานการณ์ตอนนั้น ประเทศไทยมีข้อจำกัดอย่างไร

 

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ และมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า จัดสัมมนาเชิงวิชาการ “รำลึก 100 ปีปิยมหาราชานุสรณ์: บทเรียนความอยู่รอดของชาติท่ามกลางความขัดแย้ง” ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันการต่างประเทศสราญรมย์ และเลขาธิการมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า กล่าวเปิดงาน

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวว่า พระราชวิเทโศบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการปฏิรูปแผ่น ดินสยามครั้งใหญ่ที่ผ่านมานั้น ควรถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการวางรากฐานและดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ของประเทศ ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม เกษตรกรรม การปกครอง การคลัง ความมั่นคงของชาติ หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฯลฯ ด้วย

“ โดยเฉพาะพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศของรัชกาลที่ 5 ก็ควรนำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพระองค์ทรงใช้นโยบายทางต่างประเทศที่ทำให้เกิดผล 3 เรื่องใหญ่ คือ เกิดการผสนผสานทางศิลปวัฒนธรรม ของตะวันตกอย่างกลมกลืน, นโยบายที่ต้องนำพาการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยขึ้นในทุกๆ ด้าน และทำให้เรารักษาดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศและเอกราชไว้ได้”

อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า อยากให้ประเทศไทยศึกษาพระราชวิเทโศบายที่ทรงให้ความสำคัญเรื่องการสร้าง สมดุลของชาติมหาอำนาจต่างๆ (Balancing of Power/ Balancing of Foreign) ท่ามกลางกระแสล่าอาณานิคมขณะนั้น ได้สร้างมิตรทั้งใกล้และไกลเพื่อหาเพื่อนร่วมสนับสนุนในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศแก่ไทย พร้อมการประสานประโยชน์แก่มหาอำนาจ ขณะนี้ไทยก็ควรตระหนักเรื่องนี้เช่นกัน

สำหรับการสร้างสมดุลกับประเทศมหาอำนาจ  อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายทางต่างประเทศที่เน้นความร่วมมือต่างๆ ที่ทำให้มหาอำนาจสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทำให้มหาอำนาจต่างๆ มีบทบาทที่สมดุลในภูมิภาคและประเทศไทย มีประเทศใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยไทยได้ใช้ทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคีในการสร้างความร่วมมือ เช่น ทวิภาคีที่ชัดเจนกับจีน อินเดีย รัสเซีย ฯลฯ และไม่ทิ้งความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา  ส่วนพหุภาคี เช่น กลุ่มประเทศยุโรป กลุ่มประเทศแม่น้ำอิระวดี-แม่โขง ประชาคมอาเซียน อีสเอเชียซัมมิท (EAS) ฯลฯ

“การสร้างสมดุลกับมหาอำนาจในสถานการณ์วิกฤติต่างๆ  ทำให้ประเทศไทยรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้ เพราะเรามีจุดยืนต่างประเทศที่สามารถยืนอยู่กับสหรัฐ อังกฤษ รัสเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศมุสลิมได้ด้วย ดังนั้นเราควรใช้พระราชวิเทโศบายการสร้างสมดุลมหาอำนาจมาใช้  โดยเฉพาะกับมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้”

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวว่า การศึกษาและความเข้าใจประวัติศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญในทางนิติศาสตร์ระหว่าง ประเทศ คือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ในห้วงเวลานั้นๆ ด้วย ว่า ช่วงที่กฎหมายฉบับนั้นๆ เกิดขึ้นภายใต้บริบทของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในขณะนั้นอย่างไรบ้าง จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพราะอะไร และมีแนวทางการบังคับใช้อย่างไร

“ผมเห็นว่าประเด็นปัญหาต่างๆ ในการพิจารณาผลของกฎต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ที่เราจะพอใจหรือไม่พอใจ โดยใช้เหตุการณ์ในปัจจุบันไปตัดสินเหตุการณ์ในอดีตนั้นคงไม่ได้”

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวถึงกรณีปราสาทเขาพระวิหารหลายคนตั้งคำถามว่า เราไม่ควรแพ้คดีในศาลโลกเพราะหลักกฎหมายปิดปาก ไทยไม่คัดค้านแผนที่ที่ฝรั่งเศสร้างขึ้น เรามีพฤติกรรมที่ยอมรับโดยปริยายตั้งแต่ปีค.ศ.1904 ที่มีอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส จนปีค.ศ.1907 ที่มีสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งผู้ใหญ่ของไทยในเวลานั้นก็ไปเยี่ยมเยียนพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่ได้ปฏิเสธการเป็นเจ้าของของฝรั่งเศส ทั้งที่เราเชื่อว่าเส้นของแผนที่ที่ร่างขึ้นบริเวณเขาพระวิหารนั้นไม่ถูก ต้อง เพราะฉะนั้นศาลจึงถือว่า กฎหมายปิดปากเรา ถือว่า เรายอมรับ เราไม่ได้ค้าน ซึ่งเรื่องนี้นั้นผู้รู้หลายท่านก็อธิบายให้เราเข้าใจได้ว่า ปีค.ศ.1907 นั้นเป็นปีที่เราเสียเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ เป็นปีที่เราเสียนครวัดนครธม แต่เราก็ได้จันทบุรีและตราดคืนมา

ดร.สุรเกียรติ์ กล่าวอีกว่า ถือว่าเป็นพระปรีชาสามารถอย่างมากด้านต่างประเทศ เพราะฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นมหาอำนาจผู้ล่าอาณานิคม คือเวลานั้นเราเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสไม่ใช่เสียให้กัมพูชา เพราะฉะนั้นในปีค.ศ.1907 ที่เราเสีย2-3 จังหวัดไป แต่ได้จันทบุรีและตราดกลับมา

“เราไม่ควรจะไปทักท้วงปราสาทเขาพระวิหาร โดยบอกว่าการลากเส้นปราสาทเขาพระวิหารของฝรั่งเศสนั้นผิดพลาด ทำให้ล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย ถ้าหยิบยกขึ้นฝรั่งเศสคงจะไม่ยอมฟัง แต่ฟังก็คงไม่ให้มาเปล่าๆ คงจะบีบบังคับเอาจังหวัดอะไรของเราไปอีกหลายจังหวัด ซึ่งก็คงไม่คุ้มกับปราสาทหนึ่งแห่งเป็นแน่ ถ้าเราศึกษาในมุมนี้ก็จะเข้าใจได้ว่า สถานการณ์ในตอนนั้น ประเทศไทยมีข้อจำกัดอย่างไร”

อดีตรมว.ต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า บรรพบุรุษของเรามีความฉลาดหลักแหลม ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียอย่างรอบคอบ และมียุทธศาสตร์สมบูรณ์แล้วอย่างไรบ้าง ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์การฑูตของรัชกาลที่ 5 จะทำให้เราเข้าใจผลต่างๆ ทั้งที่เราพอใจและอาจจะไม่พอใจบ้างก็ตาม แต่เราจะรู้ว่า เรื่องนั้นๆ มีที่มาอย่างไร มีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการเจรจาอย่างไรบ้าง

“บางครั้งผมเป็นห่วงการหยิบยกเรื่องของประเด็นเส้นเขตแดนมาเป็นประเด็น การเมืองภายในประเทศ เราโยงความรักชาติเข้าไปในอดีต ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ อารมณ์ต่างๆ จะทำให้เราเข้าใจผู้นำประเทศในยุคก่อนๆ คลาดเคลื่อนผิดไป ซึ่งจะทำให้เราสับสน จุดยืนในอดีต และจุดยืนที่เราควรกำหนดในปัจจุบัน”

อดีตรมว.ต่างประเทศ ยังกล่าวอีกว่า อยากให้ทุกคนศึกษาพระราชวิเทโศบายของรัชกาลที่ 5 น้อมมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทย ศึกษาถอดบทเรียนทางประวัติศาสตร์เพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและเพื่อ ประกอบจุดยืนของสังคมไทยเพื่อความอยู่รอดของชาติในเวทีระหว่างประเทศที่มี สมดุลทั้งกับประเทศมหาอำนาจ และสร้างมิตรกับประเทศไม่ใกล้ไม่ไกล เพื่อประโยชน์ทุกด้านของประเทศและคนไทยโดยส่วนรวมต่อไปด้วย

http://www.thaireform.in.th/news-education/1845-2010-09-01-09-06-33.html


 

วันที่ 20-26 ตุลาคม 2553 ณ ศูนย์การค้าย่านราชประสงค์ สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ สยามดิคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และเกษรพลาซ่า


ผุด Thailand Fashion Expo ชู กทม. ศูนย์กลางแฟชั่นเอเชีย

 

       "ก.พาณิชย์" เปิดตัวโครงการ Thailand Fashion Expo 2010 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวความคิด “Gate Way to Workld Fashion in Asia” เพื่อประกาศศักยภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยให้เป็นผู้นำด้านสินค้า แฟชั่นในเอเชีย-แปซิฟิก นำเสนอความยิ่งใหญ่ครั้งแรกแห่งปรากฎการณ์แฟชั่นระดับโลกในอาเซียนและเพื่อ ให้บรรลุเป้าหมายภายใต้วิสัยทัศน์ที่จะผลักดัน Thailand become the biggest high potential player in the world Fashion market in Asia โดยมีภาครัฐและเอกชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันโครงการคับคั่ง อาทิ กรมส่งเสริมการส่งออก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย สมาคมการค้าเครื่องประดับแฟชั่น สมาคมเครื่องหนังไทยศูนย์การค้าสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เกษรพลาซา และ อสมท.
       
       นาง พรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการ Thailand Fashion Expo2010 เป็นกลไกของกระทรวงพาณิชย์เพื่อที่จะขับเคลื่อนธุรกิจการค้าไทยโดยเฉพาะ สินค้าและบริการด้านแฟชั่นของประเทศ ให้สามารถขยายมูลค่าทางการค้าทั้งในประเทศและส่งออกสู่ตลาดโลก รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของ ภูมิภาค ASEAN และเอเชีย
       
       โครงการ Thailand Fashion Expo 2010 กำหนดให้มีขึ้นในเดือนตุลาคมศกนี้ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านแฟชั่น และเรียกคืนความเชื่อมั่นให้กลุ่มผู้ประกอบการโดยเฉพาะนักธุรกิจที่ได้รับผล กระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนบุคคลากรด้านการออกแบบแฟชั่นไทยให้มีโอกาสเข้า สู่ตลาดธุรกิจการค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่นในประเทศและตลาดโลกเพิ่มมากขึ้นผ่าน กิจกรรมที่จะมีขึ้นในวันงานดังนี้
       
       กิจกรรมที่ 1 Activities On Ground ระหว่างวัน ที่ 20-26 ตุลาคม ประกอบด้วย
       
       -ครั้ง แรกของเอเซียที่มีดีไซน์เนอร์ระดับโลก มาร่วมแสดงผลงานพร้อมกันสองคนได้แก่ วิเวียน เวสวู๊ส และ ก้อย สุวรรณเกตุ ร่วมด้วยดีไซน์เนอร์ไทยชื่อดัง กว่า 38 แบรนด์ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์
       
       -ครั้ง แรกในประวัติศาสตร์ที่ห้างสรรพสินค้าชื่อดังของเมืองไทย จับมือเพื่อร่วมผนึกกำลังสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่วงการแฟชั่นไทย ได้แก่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เซ็นทรัลเวิลด์ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และ เกษรพลาซ่า
       
       -การ แสดงแฟชั่นโชว์กว่า 40 รอบ จากผู้ประกอบการแฟชั่นไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก 2 เวที Grand Runway ที่สยามพารากอน และเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย
       
       -มหกรรม การแสดงสินค้าแฟชั่น ณ ย่านการค้าราชประสงค์ ปทุมวัน โดยรวบรวมผู้ประกอบการสินค้าแฟชั่นแบรนด์ไทยจำนวนทั้งสิน 300 คูหา ณ บริเวณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่
       
       -การจับคู่ทางธุรกิจ [Business Matching] โดยกระทรวงพาณิชย์ ร่วมด้วยกรมส่งเสริมการส่งออกส่งเทียบเชิญนักธุรกิจที่คร่ำหวอดในแวดวง แฟชั่นจากทั่วโลกร่วมงานกว่า รายเพื่อร่วมงาน ทั้งนี้ตลอดทั้ง 7 วัน ของการจัดงาน จะมีผู้ซื้อรายใหญ่จากกลุ่มห้างสรรพสินค้าทั่วโลกร่วมงานอย่างคับคั่ง
       
       -Gala Night งานแสดงแฟชั่นโชว์ ที่ยิ่งใหญ่ โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในวันที่ 21 ตุลาคม ศกนี้
       
       -สัมมนาพิเศษเรื่อง EFFECTIVE DESIGN โดย ก้อย สุวรรณเกตุ ในวันที่ 22 ตุลาคม 2553
       
       ด้าน นางบุษบา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้สนับสนุนการจัดงาน กล่าวว่า เซ็นทรัลรู้สึกยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการจังาน Thailand Fashion Expo2010 ครั้งนี้ในฐานะที่เซ็นทรัลเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการค้าปลีกอย่างยาวนาน ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการขับเคลื่อนแบรนด์ไทย ซึ่งจากการสำรวจยอดซื้อสินค้าภายในเซ็นทรัลต่อใบเสร็จจะเห็นได้ว่าด้าน แฟชั่นมียอดเติบโตทุกปี การที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเปิดตลาดต่างประเทศ รวมถึงการนำลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามาเมืองไทย ครั้งนี้ก็เชื่อมั่นว่าอนาคตแฟชั่นแบรนด์ที่สร้างสรรค์โดยไทยดีไซน์เนอร์ของ เราก็จะสามารถนำเม็ดเงินกลับเข้ามาหมุนเวียนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
       
       นาย เกรียงศักดิ์ ตันติพิภพ ผู้บริหารอาวุโสสายการตลาด บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า การร่วมงานครั้งนี้สยามพารากอน ได้เตรียมพื้นที่ที่บริเวณลานพาร์คพารอน ให้เป็นแกรนด์รันเวย์ ซึ่งเป็นพื้นที่การจัดโชว์ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพื้นที่สำคัญที่มีความโดดเด่น สามารถสร้างการรับรู้ได้ในวงกว้าง เพราะพาร์คพารากอนนั้นอยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม ซึ่งมีผู้ใช้บริการหมุนเวียนวันละ 4-5 แสน คนต่อวัน ประกอบกับลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่หมุนเวียนมาจับจ่ายใช้สอยในสยาม พารากอนจำนวน 200,000 คนต่อวัน เชื่อว่าเฉพาะที่สยามพารากอนจะสามารถโชว์ผลงานผ่านสายตาผู้คนนับล้านคน เชื่อมั่นว่าการจัดงานในครั้งนี้สยามพารากอนจะเป็นหนึ่งในพลังการขับเคลื่อน แฟชั่นไทยของเราให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน อย่างแน่นอน
       
       สำหรับ งาน Thailand Fashion Expo2010 จัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าย่านราชประสงค์ สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ สยามดิคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และเกษรพลาซ่า ระหว่างวันที่ 20-26 ตุลาคม 2553
       
       ****ข้อมูลจาก
www.smethailandclub.com****

 

 

ที่มา  :  ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2553



--

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553 เวลา 10.00 - 19.00 น. ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กำหนดการกิจกรรม
งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย  ประจำปี 2553
วันพุธที่  20  ตุลาคม  2553  เวลา 10.00 – 19.00 น.
ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ 2  อิมแพ็ค  เมืองทองธานี

9.00 - 12.00 น.

Consultative Workshop on Promotion of National Innovation Systems in the Least Developed Countries of the Asia-Pacific Region
โดย MOST + APCTT-ESCAP (ห้องจูปิเตอร์ 4)

ฝึกอบรมอาชีพ
เพ้นท์รองเท้าผ้าใบ / การจัดดอกไม้สดในพิธีต่างๆ / การจัดสวนถาด / ประดิษฐ์ป้ายไม้ธรรมชาติ / กระเป๋าผ้าเพ้นสีน้ำมัน

13.00 - 17.00 น.

Consultative Workshop on Promotion of National Innovation Systems in the Least Developed Countries of the Asia-Pacific Region
โดย MOST + APCTT-ESCAP (ณ ห้อง จูปิเตอร์ 4)

Workshop เทคนิคเป่าขลุ่ยแนวใหม่ โดย อ. ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี (ห้องจูปิเตอร์ 5)

การฝึกฝนทางอาชีพ
เพ้นท์รองเท้าผ้าใบ / การจัดดอกไม้สดในพิธีต่างๆ / การจัดสวนถาด / ประดิษฐ์ป้ายไม้ธรรมชาติ/ กระเป๋าผ้าเพ้นท์สีน้ำมัน

โชว์ นวัตกรรมจาก อพวช. (เวทีกลาง)




วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 08.30-16.30 น / วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จะจัดให้มีการสัมมนาเปิดตัวสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขึ้นในวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 08.30-16.30 น. รวมทั้งมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้าน “การออกแบบเพื่อนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรม” และ “อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางล้อ” ในวันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์


ทั้งนี้ ขอเชิญอาจารย์/นักวิจัยที่สนใจเข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว ส่งแบบตอบรับหรือลงทะเบียนออนไลน์ที่ http://164.115.5.161/limesurvey/index.php?sid=13972&newtest=Y&lang=th
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นางสาวกมลีพร สงสกุล โทร. 0-2160-5430-7 ต่อ 503 
 

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 13 - 14 ตุลาคม 2553 เวลา 08.30-16.30 น.ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์

ขอเชิญร่วมเปิดตัว "สถาบันวิทยาศาสตร์ฯ" และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) จะจัดให้มีการสัมมนาเปิดตัวสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ขึ้นในวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 08.30-16.30 น. รวมทั้งมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้าน “การออกแบบเพื่อนวัตกรรมภาคอุตสาหกรรม” และ “อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางล้อ” ในวันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์


ทั้งนี้ ขอเชิญอาจารย์/นักวิจัยที่สนใจเข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว ส่งแบบตอบรับหรือลงทะเบียนออนไลน์ที่ http://164.115.5.161/limesurvey/index.php?sid=13972&newtest=Y&lang=th
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นางสาวกมลีพร สงสกุล โทร. 0-2160-5430-7 ต่อ 503



"กลไกปฏิรูปสื่อภาคพลเมือง"

วางเป้าเป็นปากเสียงแทนผู้บริโภค “ตรวจสอบ-เฝ้าระวัง-รู้เท่าทันสื่อ” ด้าน 2 นักวิชาการนิเทศฯ แนะเปิดพท.ปชช.ร่วม หนุนสร้างวัฒนธรรมคนไทยบริโภคสื่อเชิงรุก รู้จักคิดวิพากษ์สื่อเป็น ขณะที่ “วสันต์” รับสื่อมีส่วนมอมเมาคนในสังคม ทำให้รู้สึกเหมือน “วนิดา”  หวังสักวันชีวิตจะดีขึ้น

วันนี้ (6 ต.ค.) คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน (คพส.) ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปสื่อภาคพลเมือง จัดสัมมนาสาธารณะ “กลไกปฏิรูปสื่อภาคพลเมือง" ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ หลักสี่ เพื่อระดมความเห็นจัดทำข้อเสนอในประเด็นต่างๆ ดังนี้ การสร้างองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคสื่อ,การพัฒนากฎหมายและจรรยาวิชาชีพสื่อ, การคุ้มครองผู้บริโภคและตรวจสอบสื่อ, การรู้เท่าทันสื่อ และกลไกการเฝ้าระวังสื่อ

นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคพส.และประธานคณะกรรมการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป สมัชชาปฏิรูป (คสป.) กล่าวถึงวิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางความคิดและการเมืองในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาว่า ได้นำสังคมไปสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศในทุกด้าน รวมถึงประเด็นการปฏิรูปสื่อ หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ทุกฝ่ายพยายาม ผลักดันให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะมีความพยายามปรับปรุงและพัฒนากฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสื่อมวลชน ที่ขณะนี้ยังไม่สำเร็จเพราะการปฏิรูปสื่อจำเป็นจะต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

“ขณะนี้กำลังจะเสนอปรับปรุงหลักสูตรด้านสื่อมวลชน และเสนอปรับปรุงพัฒนาการทำงานขององค์กรเฝ้าระวังการทำงานของสื่อมวลชนด้วย ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชนทั้ง 5 ชุดย่อย  ได้แก่ คณะทำงานพัฒนากลไกควบคุมกันเองทางวิชาชีพ คณะทำงานพัฒนาบุคคลากรในวิชาชีพ คณะทำงานปรับปรุงกฎหมายด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน คณะทำงานปรับปรุงกฎหมายด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และคณะทำงานพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ก็กำลังประชุมขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง”

จากนั้นมีการอภิปราย เรื่อง "กลไกภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ" โดยรศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สสส.และรองประธานคณะกรรมการสื่อสารเพื่อการปฏิรูป คสป. กล่าวถึงการปฏิรูปสื่อว่า ต้องเน้นการปฏิรูปโครงสร้างกฎหมายสื่อ-ความเป็นเจ้าของสื่อ และการสร้างกลไกคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ต้องปฏิรูปคู่ขนานกัน ทั้งด้านสิทธิ คุณภาพของฝ่ายผู้ผลิตสื่อ และความเข้มแข็งของฝ่ายผู้รับสื่อผู้บริโภคสื่อด้วย

"ที่ผ่านมาการปฏิรูปสื่อให้ด้านผู้ผลิตพูดเท่านั้น จากนี้ควรให้ภาคประชาชนได้พูดเรื่องปฏิรูปสื่อด้วย โจทย์สำคัญปฏิรูปอีกโจทย์คือสร้างความเข้มแข็งประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล รับรู้ข้อมูลข่าวสาร  เพื่อการเฝ้าระวังและรู้เท่าทันสื่อ"

ส่วนประเด็นการสร้างความเข้มแข็งแก่ผู้บริโภคสื่อนั้น รศ.ดร.วิลาสินี กล่าวว่า ต้องยกระดับให้เกิดองค์กรเฝ้าระวังสื่อที่มีความเป็นอิสระได้รับการยอมรับจากองค์กรวิชาชีพ วิชาการ และภาคนโยบาย โดยให้มีงบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจนเพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนได้ โดยมีช่องทางเชื่อมต่อกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลสะท้อนกลับและเกิดการแก้ไขได้จริง ซึ่งอาจต้องมีกฎหมายรองรับเพื่อให้องค์กรนี้มีสถานะและบทบาทที่ชัดเจน

“หากรอให้ร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมมีผลบังคับใช้เพื่อจัดตั้งองค์กรขึ้นมาดูแลคุ้มครองผู้บริโภค อาจต้องใช้เวลานาน1-2 ปี ดังนั้นการรวมตัวของภาคประชาชนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการจัดตั้งองค์กรอิสระ เป็นกลไกคุ้มครองและเฝ้าระวังสื่อ น่าจะเป็นแนวทางที่เกิดได้เร็วกว่า เบื้องต้นอาจจัดตั้งเป็นสถาบันวิชาการอยู่ในสถานศึกษาก่อนเพื่อสร้างให้ภาคประชาชนเกิดองค์ความรู้และเห็นความสำคัญ”

รศ.ดร.วิลาสินี กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ควรจะต้องเกิดขึ้นต่อไปของการปฏิรูปสื่อ คือ ควรจะต้องทำให้เกิดสถาบันทางวิชาการกับสังคมในเรื่องสื่อ, ทำให้เกิดระบบบริหารจัดการสื่อแบบมืออาชีพ, เกิดวัฒนธรรมการบริโภคสื่อเชิงรุกของคนไทย และต้องมีระบบงบประมาณสนับสนุนเรื่องสื่อที่แน่นอน

ด้านดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์  ประธานสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชนและในฐานะนักวิชาการนิเทศศาสตร์ กล่าวว่า ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ถึงฉบับปัจจุบันมีเจตนารมณ์ให้ภาคประชาชนมีสิทธิในคลื่นและดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ แต่การปฏิรูปสื่อเพื่อไปสู่แนวทางดังกล่าวก็ยังไม่บรรลุผล แม้มีหัวขบวนระดับประเทศและผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกจังหวัด แต่ยังขาดพลัง ขาดเอกภาพ และการมีเจ้าภาพที่ทำหน้าที่อย่างจริงจัง

ประธานสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน กล่าวถึงการปฏิรูปสื่อต้องปฏิรูปที่โครงสร้างอย่างแท้จริง โดยโครงสร้างสื่อต้องเป็นอิสระเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ ให้ประชาชนเข้ามีบทบาทในเชิงโครงสร้างนั้นด้วย เนื่องจากการปฏิรูปสื่อที่ผ่านมาไม่ใช่การปฏิรูปที่แท้จริง ซึ่งก็เห็นด้วยหากจะมีการตั้งสถาบันอบรมเรื่องสื่อมวลชนแก่ทั้งประชาชน ตัวสื่อมวลชนในวิชาชีพ  ภาควิชาการ แต่โจทย์สำคัญการอบรมนั้นต้องเน้นสาระว่า ทำไมต้องทำ ไม่ควรเน้นที่รูปแบบว่าจะต้องอบรมอย่างไร

ปฏิรูปสื่อต้องไปให้ไกลกว่าประเด็นตัวเนื้อหาของสื่อ ทั้งในส่วนสื่อหลักและสื่อประชาชน ต้องทำให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นได้มากว่าแค่ชอบหรือไม่ชอบ ต้องทำให้ประชาชนรู้จักคิดวิพากษ์สื่อเป็นมากขึ้น (Critical Thinking) สิ่งนี้สำคัญมากต่อการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน อย่างไรก็ตาม การสร้างสื่อภาคประชาชนขึ้นนั้นไม่ใช่การลดคุณค่าสื่อกระแสหลัก แต่เป็นการช่วยกันสร้างสรรค์วัฒนธรรมสื่อสารในสังคม ต้องช่วยกันสร้างสังคมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสื่อหลักกับสื่อประชาชน”

ส่วนกลไกเฝ้าระวังสื่อ ดร.เอื้อจิต กล่าวว่า ภาคประชาชนไม่ควรไปทำตัวปฏิปักษ์กับสื่อ แต่ควรช่วยกันหนุนเสริมการทำงานแก่กัน ประชาชนบ่นแล้วก็ต้องทำด้วย ไม่ใช่เพียงว่าสื่อทำงานไม่ดี แต่เราทุกคนควรตั้งคำถามสะท้อนกลับไปด้วยว่าสื่อทำหน้าที่อะไรแก่พวกเราบ้าง และมีอะไรที่สื่อไม่ได้ทำบ้างต่างหาก

ส่วนนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ทีวีไทย) กล่าวว่า การปฏิรูปสื่อนั้นต้องเคลื่อนด้วยวิชาชีพและประชาชนเป็นหลัก รัฐไม่ควรเข้ามา และผู้ประกอบวิชาชีพควรจะเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพราะจะทำให้การถือครองสื่อกระจายตัวมากขึ้น ควรมีการจัดสรรสื่อโดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดสื่อสาธารณะมากขึ้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

นายวสันต์ กล่าวอีกว่า ควรมีกฎหมายรับรองการทำงานของสื่อมวลชนให้มากกว่าที่มี และควรต้องปรับปรุงทำให้กลไกการควบคุมกำกับกันเองให้แข็งแรงขึ้น ไม่ใช่เพียงเสือกระดาษ และควรมีองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ จากภาคประชาชนคอยกำกับการนำเสนอเนื้อหาของสื่อให้อยู่ในแนวทางที่เหมาะสมและให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ

“ยอมรับว่าช่วงหลังมานี้มีการติดตาม จับจ้องเฝ้ามองการทำงานของสื่อมวลชนมากขึ้น ยอมรับ สื่อมีส่วนมอมเมาสังคม หลายครั้งที่สื่อก็มอมเมาคนในสังคมทำให้รู้สึกเหมือน วนิดา ว่า สักวันหนึ่ง ชีวิตจะดีขึ้น ดังนั้นก็ควรมีองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสื่อขึ้นด้วย”ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าว

สุดท้ายนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ควรจะต้องมีองค์กรกำกับสื่อจากภาคประชาชนเพื่อควบคุมกำกับการทำงานของสื่อมวลชนอีกชั้นหนึ่ง ให้เป็นปากเสียงแทนให้ผู้บริโภคสื่อด้วยกันได้ ส่วนสื่อภาคประชาชนนั้นต้องทำให้เป็นอิสระจากกลุ่มการเมืองและกลุ่มทุนให้ได้ จึงจะสื่อสารเพื่อผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง โดยยึดสิ่งสำคัญ คือ การนำเสนอสื่อเพื่อยกระดับปัญญาของประชาชนเป็นหลัก 


วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 18.00 - 21.00 น.ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

เครือข่ายพลังบวก จัดเวทีพูดสร้างแรงบันดาลใจปลุกพลังบวกคนไทย "Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2" วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 18.00 - 21.00 น.ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในครั้งนี้มีวิทยากรร่วมสร้างแรงบันดาลใจ 18 ท่าน ได้แก่

ดร. ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ เริ่มต้นออกเดินเท้าจาก จ.เชียงใหม่ กลับสู่บ้านเกิดที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยระยะเวลา 66 วัน ผ่านระยะทางกว่า 1,000 ก.ม. นำมาซึ่งการถ่ายทอดเรื่องราวตลอดระยะเวลาของการก้าวย่าง สะท้อนคุณค่าของการมีชีวิตอยู่กับชั่วขณะปัจจุบันผ่านหนังสือ "เดินสู่อิสรภาพ" และอีกหลายเรื่องราวที่อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ค้นพบจากการสังเกตชีวิต และได้ถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือ เช่น "เราจะเดินไปไหน", "ประมวลความรัก" เป็นต้น

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา วิศวกรชาวไทย ผู้มีส่วนร่วมและคิดค้นระบบการลงจอดของยานอวกาศบนดาวอังคาร ร่วมกับองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกา ผู้ก่อตั้งและบริหารโรงเรียนสัตยาไส โรงเรียนสร้างคนดี ที่อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี นอกนี้ท่านยังสนใจในด้านพลังจิต-สมาธิ รวมถึงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนามายาวนานอีกด้วย

คุณสิริยากร พุกกะเวส (อุ้ม)จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอกโฆษณา (เกียรตินิยมอันดับ 2) เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเล่นละครโทรทัศน์เรื่องสามใบไม่เถา เมื่อปี 2538 จากนั้นมีผลงานหลากหลาย ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ละครเวที พิธีกร พรีเซ็นเตอร์โฆษณา ... ปี 2546 สิริยากรตั้งบริษัท บ้านอุ้ม จำกัด เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ บ้านอุ้ม และนิตยสาร OOM (โอโอเอ็ม) ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของใช้ในบ้าน Baanoom Living Day และสำนักพิมพ์โอโอเอ็ม...นอกจากงานธุรกิจแล้ว สิริยากรยังให้ความสนใจกับโครงการเพื่อสังคมต่าง ๆ เธอก่อตั้งโครงการหางานให้คนตาบอด ประสานงานโครงการ "น้ำจิต น้ำใจ" เพื่อหารายได้สร้างสถานปฏิบัติธรรมที่ จ.ฉะเชิงเทรา... และล่าสุด เธอกำลังสนใจการใช้ชีวิตให้สอดคล้องนอบน้อมกับธรรมชาติ และตั้งใจว่าจะปลูกข้าวกินเองให้ได้ในอีกไม่ช้านี้

ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กรรมการปฏิรูป (คปร.) ในขณะที่คนไทยเคยชินกับการพบ เห็นคนตาบอดในลักษณะต่าง ๆ เช่น เล่นดนตรี ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ แต่ครั้งหนึ่งสังคมไทยต้องตื่นเต้น และรู้สึกมหัศจรรย์ไปกับข่าวการประสบความสำเร็จของคนตาบอดที่ชื่อ "วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์" ผู้พิการตาบอดคว้าตำแหน่งที่ 1 ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับทุนภูมิพล, เป็นผู้พิการคนที่เป็นข้าราชการคนแรกของประเทศไทย... ปัจจุบัน อาจารย์รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ี้ นอกจากนี้อาจารย์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการผ่านองค์กรเพื่อผู้พิการ เช่น ประธานฝ่ายกฎหมายและสิทธิเสรีภาพมนุษยชน สภาคนพิการแห่งประเทศไทย ฯลฯ

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ (ปราชญ์ชาวบ้าน)
หัวข้อ : วิจัยไทยบ้าน
ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ผู้เรียกตนเองว่า “คนนอกระบบ” เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่น 1 ด้านเกษตรกรรม (การปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม) เจ้ากรมราษฎรส่งเสริม บ้านปากช่อง ต. สนามชัย อ. สตึก จ. บุรีรัมย์ เป็นหนึ่งในจอมยุทธ์ปราชญ์ชาวบ้านพหุภาคีอีสานใต้ ชักชวนคนดีมารู้จักกัน ในนามเครือข่ายเฮฮาศาสตร์ นัดพบกันประจำในบล็อกลานปัญญา นำพากันไปสู่การสร้างสังคมอุดมปัญญา ปีนี้เอาใบไม้มาสับเลี้ยงโค ตัวอ้วนโตลงพุง ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพ ประเทศชาติมีต้นไม้เพิ่มขึ้น


คุณธนา เธียรอัจฉริยะ
"ถ้าเราคิดว่าต้นทุนชีวิตเราไม่มาก เราก็กล้าลองมันไปเรื่อยๆ บางทีมันก็เวิร์ค หรือบางทีก็ไม่เวิร์ค แต่ทุกอย่างมันก็จะต่อยอดออกไปได้เอง..." คุณธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ซึ่งเชื่อมั่น และมักย้ำเสมอ ๆ ในหลักการเรื่องความพอดีในการใช้ชีวิต และวันนี้เขารู้สึกมีความสุขได้ในทุกวัน

คุณทนงศักดิ์ ศุภการ
นักแสดงชื่อดัง ที่มีผลงานละครอย่างต่อเนื่องมาให้ชมกัน ...นอกจากนี้ยังควบตำแหน่งช่างภาพมือทองให้กับนิตยสารพลอยแกมเพชรอีกด้วย และในอีกแง่มุมหนึ่งของคุณทนงศักดิ์ คือ การผันตัวมาวิ่ง วิ่ง และวิ่งอย่างจริงจัง ... "คน เราน่าจะมองเห็นภาพว่าความเจ็บป่วยเป็นทุกข์แค่ไหน และในทางกลับกัน การออกกำลังทำให้พวกเขาเป็นสุขและหนีจากความทุกข์ เหล่านั้นได้"... วันนี้คุณทนงศักดิ์ ไม่เพียงแค่วิ่งเพื่อตัวเองเท่านั้น การวิ่งหลายรายการของเขานอกจากจะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครอีกหลายคนหันมาสนใจ สุขภาพตัวเองแล้ว ยังสร้างคุณค่าให้กับสังคมในอีกหลายด้าน หลายมุม เช่น มาราธอน เพื่อเด็กตาบอด, เสียเหงื่อเพื่อชาติ อโยธยามาราธอน เป็นต้น

คุณสรกล อดุลยานนท์ (หนุ่มเมืองจันท์)
"หนุ่มเมืองจันท์" เป็นนามปากกาของ คุณสรกล อดุลยานนท์ ผู้ จัดการสำนักพิมพ์มติชน บัณฑิตคณะสังคมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของผลงานเขียนเข้าตา ถึงใจของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็น คอลัมภ์ยอดนิยม "ฟาสท์ฟู้ดธุรกิจ"... เดาะโลกดีดี แล้วตีลังกา, มองโลกง่าย ง่าย สบายดี, อารมณ์ดีกับชีวิต, ชีวิตไม่ยาก ถ้าตั้งโจทย์ง่าย, เหยียบโลกไว้ไม่ต้องเครียด, ความสุข ณ จุดที่ยืน, ฝันใกล้ ใกล้ ไปช้า ช้า ฯลฯ และอีกมากมายที่แค่เห็นชื่อผลงาน ก็พอจะมองเห็นถึงพลังของ Positive Thinking ในตัวหนุ่มเมืองจันท์อย่างชัดเจน

คุณจิตร์ ตัณฑเสถียร
เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาโฆษณา Vitamins Consulting & Research, บรรณาธิการวารสารพลัม และอีกมุมหนึ่งของคุณจิตร์ ตัณฑเสถียร เขา คือศิษย์เอกคนหนึ่ง ของท่าน ติช นัท ฮันห์ พระอาจารย์นิกายเซน แห่งหมู่บ้านพลัม (Plum Village) และเป็นผู้แปล และถ่ายทอดผลงานเขียน “ศิลปะแห่งอำนาจ (The Art of Power)” โดยท่านติช นัท ฮันห์ ซึ่งเป็นหนังสือขายดีติดอันดับ Bestseller ของนิวยอร์คไทม์ เป็นภาษาไทย ...."หนังสือเล่มนี้เป็นดั่งระฆังแห่งสติ สมาธิ และปัญญาของพระอาจารย์ ติช นัท ฮันท์ ที่ปลุกให้เราตื่นขึ้น เพื่อดูแลรับผิดชอบชีวิตผ่านอำนาจที่ตัวเองมี ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร เราจะได้รู้จักอำนาจอย่างถ่องแท้ เรียนรู้ที่จะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์ แทนที่จะตกเป็นเหยื่อของอำนาจ"

คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล
หัวข้อ : By Heart จากใจคนพิการ
ผู้ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรจากอุบัติเหตุ ซึ่งในปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ PWD Outsource Management Co., Ltd.บริษัท ที่ก่อตั้งโดยคนพิการเพื่อคนพิการ โดยเป็นผู้สนับสนุนเครือข่ายสินค้าเพื่อสร้างอาชีพให้กับผู้พิการ ที่ผ่านมาได้ทำโครงการที่ประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย


คุณคงยศ วงษ์วิกย์กรณ์
คุณคงยศ วงษ์วิกย์กรณ์ หรือ ป๋วย P2WARSHIP หนึ่ง ในผู้ก่อตั้งวงดนตรีครีเอทีฟอารมณ์ดี ที่สรรสร้างเพลงดี ชวนกระตุกต่อมคิด มาแล้วมากมาย ด้วยเพลงฮิตอย่าง จอมยุทธ์, อย่า อยู่ อย่าง อยาก และ ตื่นเถิดชาวยุทธ์ เป็นต้น แล้วงานนี้เขาจะมีอะไรดี ๆ มาบอกเราอีก ติดตามได้ที่นี่เท่านั้น
คุณรัฐภูมิ อยู่พร้อม

"ผมชอบลุยสุด ๆ ในทุกอย่างที่คนชอบบอกว่า ทำไม่ได้" ... คุณรัฐภูมิ อยู่พร้อม ผู้บริหารมูลนิธิ 1500 ไมล์ จากการพายเรือรอบทะเลไทยกว่า 2 ปี เพื่ออุทิศให้กับคุณแม่ของเขา ทำ ให้มีผู้คนจำนวนมากมายคอยติดตามข่าวคราวจนมีการรวมตัวของกลุ่มคนเหล่านั้น ขึ้นภายใต้ชื่อ "ชมรม 1500 ไมล์" ซึ่งมีกิจกรรมต่อเนื่องตั้งแต่คุณรัฐภูมิยังพายเรืออยู่ จนกระทั่งหลังจากพายสุดท้ายที่เกาะช้าง ก็ยังคงมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

คุณภาณุมาศ ทองธนากุล (ใบพัด)
นักเขียนที่ประกาศตัวชัดเจนในทุกๆ เล่มว่า อยู่เคียงข้างคนขี้แพ้ คนที่ไม่มั่นใจในตัวเอง และคนเก่งที่ยังหาตัวเองไม่เจอ โดยบอกเล่าเรื่องราวผ่านความเป็น “มวยรอง” ของตัวเขาเอง ด้วยอารมณ์ขันอย่างร้ายกาจ ทำให้ผู้อ่านได้ฉุกคิดและพบคุณค่าที่พวกเขามี และล่าสุดหนังสือ "การลาออกครั้งสุดท้าย" ที่เขียนขึ้นจากประสบการณ์จริง ได้สะท้อนข้อคิดในมุมที่หลายคนนึกไม่ถึง ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนมาร่วมค้นหาคำตอบกับการมี “ชีวิตที่ดี” ในแบบของตัวเอง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทนทุกข์กับการทำงานที่ไม่ได้รักไปตลอดชีวิต!

ดร. อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ
หัวข้อ : บทเพลง ความสุข และการแบ่งปัน
อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้มีความสุขกับการเล่นดนตรีโดยเฉพาะขิม และได้แบ่งปันความสุขนั้นผ่านการถ่ายทอดบทเพลงต่างๆ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ด้วยรูปแบบที่แปลกใหม่ โดยประยุกต์ขิมซึ่งเป็นเครื่องดนตรีไทย เข้ากับดนตรีสากล เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าใครก็สามารถจุดประกายความสุขและสิ่งดีๆ ให้แก่สังคมได้จริง จากการทำในสิ่งที่ตัวเองรัก

คุณสมคิด ชัยจิตวนิช
“คราวนี้เอง ภาพถ่ายจะได้ทำหน้าที่ของเขาให้ดีที่สุด” คือ คำพูดของช่างภาพใจดี สมคิด ชัยจิตวนิช ผู้ก่อตั้งโครงการ กรุณาแห่งรัก (Art Care) ด้วย ความเชื่อว่า ถ้าหัวใจของทุกคนมาหลอมรวมกัน ด้วยเป้าหมายเดียว คือช่วยเยียวยาเพื่อนผู้ที่อยู่ในห้วงทุกข์กายและใจ ทุกอย่างก็เป็นไปได้ไม่ยาก ... เป็นเวลากว่า 17 ปีที่สมคิดได้เดินทางเพื่อถ่ายทอดภาพชีวิตของคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดาทั้งใน ประเทศไทยและอีกหลากหลายประเทศ เธอเป็นช่างภาพให้กับแผนกโฟกัส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ก่อนจะมาเป็นช่างภาพแผนกเอาท์ลุค หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์อีกกว่า 12 ปี ปัจจุบันสมคิดสบายใจกับการทำงานที่เธอรักในฐานะช่างภาพอิสระ
คุณธวัชชัย แสงธรรมชัย

คุณธวัชชัย แสงธรรมชัย หรือ อู๋ (ทหารเอกแห่ง iCARE ) เขาคือชายธรรมดา ชาวกรุงเทพ ผู้มีชีวิตมนุษย์ออฟฟิศดั่งเช่นคนทั่วไป ได้ร่วมออกเดินทางไปกับเหล่านักอนุรักษ์ชื่อก้อง บนเรือธงแห่งการปกป้องสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซ "Rainbow Warrior" ก่อนออกเดินทาง คำถามที่มีในใจเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของพวกเขา ... ทำไมไม่ทำมาหากินเหมือนคนปกติ... นิวเคลียร์จำเป็นหรือไม่จำเป็นสำหรับประเทศไทย... แล้วเขาจะมาถ่ายทอดให้พวกเราฟัง กับ โครงการ Follow the Rainbow “ตามติดภารกิจนักรบสายรุ้ง”

คุณวิลาวัลย์ บุญจันทร์
ที่ ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ดาวิน ชอยส์ และอาสาสมัครทำงานเพื่อสังคม(อิสระ) ... หลังจากใช้เวลาทุกวันพุธดูแลเด็กกำพร้าที่บ้านปากเกร็ดมากว่า 3 ปี ทำให้ค้นพบว่าความหมายของ "การให้และรักโดยปราศจากเงื่อนไข" ที่แปรเปลี่ยนเป็นความสุขที่คืนให้กับตนเองและสังคมได้อย่างเรียบง่าย เพราะเชื่อมั่นว่า งานอาสาฯที่ทำด้วยใจ ใคร ๆ ก็ทำได้ลุค แคสซาดี-ดอเรียน (Luke Cassady-Dorion)

ใน 33 ปี่ที่ผ่านมาชีวิตของลุควกไปวนมา จากบ้านที่เกิดในรัฐนิวยอร์ก ไปที่เมืองซานฟรานซิสโก แล้วในที่สุดก็มาที่กรุงเทพฯ เป็นชีวิตทีตามความสุขโดยเปิดโอกาสให้ความบังเอิญเข้ามาตลอด ตอนอายุสิบเก้าลุคเขียนหนังสือเล่มที่สองเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้วออก จากมหาวิทยาลัยเพื่อไปทำงานในวงการอินเทอร์เน็ต ลุคประสบความสำเร็จอย่างมากตอนเศรษฐกิจดีแล้วประสบทุกข์อย่างมากตอนเศรษฐกิจตกต่ำ พอตระหนักว่าจะไม่เจอความสุขกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ลุคได้หันมาทางโยคะ ซึ่งพาลุคไปอินเดียก่อนจากนั้นค่อยไปเมืองไทยต่อ และพอค้นพบถึงความชอบที่มีให้กับดินแดนใหม่นี้ ลุคจึงตัดสินใจกลับมาเรียนหนังสือ และได้ลงทะเบียนเรียนปริญญาตรีเอกวิชาภาษาไทยที่รามคำแหง ...



--