วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความเชื่อมั่นของญี่ปุ่น

 
วันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 00:01 น.  ข่าวสดออนไลน์ 


ความเชื่อมั่นของญี่ปุ่น 

วงค์ ตาวัน

 

 

นายกฯหญิงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังไปเยือนญี่ปุ่นอยู่ในเวลานี้ เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งไปอย่างสง่าผ่าเผย ไม่ใช่เป็นพวกเงาตะคุ่มๆ มั่วๆ ซั่วๆ ไปเรื่อย

การสร้างความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน เป็นภารกิจใหญ่ 

เพราะกิจการญี่ปุ่นได้รับผลกระทบมากมายในช่วงมหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมา

แต่ที่ช่วยปูทางให้นายกฯไปเยือนได้อย่าง ไม่ต้องตะขิดตะขวงใจ

ก็คือการค้นหาความจริงในคดี 10 เมษายน 2553

รัฐบาลยุคนี้โดยรองนายกฯเฉลิม อยู่บำรุง เปิดไฟเขียวให้ตำรวจเดินหน้าคดี 91 ศพอย่างตรงไปตรงมา ตาม เนื้อผ้า

กรณีการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่น จึงมีข้อสรุปเสียที!

ไม่มีอ้ำอึ้งอย่างการทำคดีของพนักงานสอบสวนในช่วงรัฐบาลชุดก่อน

ทีแรกดีเอสไอก็สรุปไปแล้วว่า ตายเพราะถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิง 

ต่อมาก็อ้างเรื่องสงสัยยิงจากอาก้า อ้างว่าไม่มีพยานหลักฐานชัดเจน 

ลงเอยสรุปว่าไม่รู้ใครยิง!?

จนสุดท้ายพนักงานสอบสวนชุดล่าสุดซึ่งมี พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผบช.น.มือสอบสวนทำสำนวนที่ได้มาตรฐาน หาพยานหลักฐานจนยืนยันได้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ยิงแน่นอน

และขณะนี้เป็น 1 ใน 16 สำนวนที่ส่งถึงอัยการ เตรียมนำขึ้นไต่สวนในชั้นศาลไปแล้ว

ไม่เท่านั้น รัฐบาลชุดนี้ซึ่งเห็นคุณค่าของประชาชน ที่ล้มตายในการประท้วงทางการเมือง

รวมทั้งเห็นว่าเมื่อประชาชนเสียชีวิตด้วยความรุนแรง รัฐบาลนั้นแหละต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ในฐานะผู้ดูแลควบคุมสถานการณ์ แต่ไม่มีประสิทธิ ภาพเพียงพอในการทำให้คลี่คลายด้วยสันติวิธี

รัฐบาลที่มีความรับผิดชอบต้องไม่โบ้ยใส่ ผู้ก่อการร้าย ต้องไม่โยนไปให้ชุดดำซึ่งไม่รู้ คือใคร!?

ในเมื่อมีรัฐบาลมีตัวตนอยู่แล้ว ก็ต้องรับผิดชอบเต็มๆ จะไปมั่วใส่ใครที่ไหนก็ไม่รู้ได้อย่างไร

ด้วยหลักแห่งรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบต่อความตายของประชาชนในทางการเมือง จึงเดินหน้าเงินเยียวยา 7.75 ล้านบาท


 

ฮิโรยูกิ อยู่ในข่ายด้วย

รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงไปเยือนญี่ปุ่นได้อย่างไม่ลำบากใจ ยืดอกได้อย่างคนมีความรับผิดชอบ

ซึ่งต่างจากพวกยืดอกแบบคนจิตผิดปกติ!

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เปิดตัว "ปิยมหาราชการุณย์ " รพ.คู่แฝด "ศิริราช" บริการแบบเอกชนแต่คิดถูกกว่า 30%

 

เปิดตัว "ปิยมหาราชการุณย์ " รพ.คู่แฝด "ศิริราช" บริการแบบเอกชนแต่คิดถูกกว่า 30%

Share 



ผู้สื่อข่าวรายงาน เปิดตัว โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์  (หรือ SiPH)  โดยรองศาสตราจารย์นายแพทย์ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เปิดเผยว่า โรงพยาบาลศิรราช ปิยมหาราชการุณย์ ถือได้ว่าเป็นอีกมิติหนึ่งทางการแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และเพื่อให้SiPH แบ่งเบาภาระของคณะแพทย์ ที่จะทำให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยการนำรายจากการดำเนินงานคืนกลับสู่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยจะให้บริการเหมือนโรงพยาบาลเอกชน จุดเด่น คือการให้บริการที่สะดวก

สบายมากขึ้น และรักษาโรคที่ซับซ้อนหรือรักษาได้ยาก เพราะใช้บุคคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์สูง 

 

ส่วนด้านค่ารักษาจะมีอัตราค่ารักษาเหมือนโรงพยาบาลเอกชน แต่เมื่อเทียบกันแล้วจะอยู่ราวๆ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป เพราะทางโรงพยาบาลไม่ได้มุ่งทำกำไร ซึ่งจะคิดกำไรไม่เกิน 12 เปอร์เซ็นต์  และโรงพยาบาลไม่ได้รองรับการใช้ประกันสังคมและการเบิกค่ารักษาของข้าราชการ แต่ใช้กับประกันสุขภาพของบริษัทประกันได้

 

โรงพยาบบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์ มีห้องบริการผู้ป่วยนอก 177 ห้อง ห้องผ่าตัด 17 ห้อง ห้องผู้ป่วย 284 ห้อง หอผู้ป่วยวิกฤต 61 ห้อง และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบันการก่อสร้างโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เกือบจะสมบูรณ์แล้ว และจะสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยได้ในพื้นที่ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่โดยจะเปิดให้บริการในวันที่ 26 เมษายนนี้  ต่อจากนั้นจะเพิ่มพื้นที่ให้บริการเป็นร้อยละ 50 ในปีที่สอง และครบทั้งหมดในปีที่สาม  
 

 


วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มาเลย์สั่งประหาร 20 คนไทย ยัดโคเคนในครรภ์ส่งขายกรุงเทพ




 

มาเลย์สั่งประหาร 20 คนไทย ยัดโคเคนในครรภ์ส่งขายกรุงเทพ

Tue, 2012-02-07 23:24

อารีด้า สาเม๊าะ 
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)

กรมการกงสุลเผย  พบสาวเหนือ-อีสานถูกตุ๋นค้ากามในแดนเสือเหลืองเป็นพัน เตือนหญิงชายแดนใต้มีสิทธิเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เผยชีวิตรันทด สาวเหยื่อแก๊งค์ไนจีเรีย ชวนเที่ยวต่างประเทศ ตีสนิทจนท้อง ยัดโคเคนในครรภ์ส่งกลับไทย

ภาพจาก http://icare.kapook.com/missing.php?ac=detail&s_id=61&id=3004

 

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555 ที่โรงแรม บีพี แกรนด์ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายสุวัฒน์ แก้วสุข ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ การดูแลคนไทยในต่างประเทศ ในการสัมมนานักจัดรายการวิทยุมุสลิมระดับภูมิภาค ระหว่างวันที่ 6 - 7 กุมภาพันธ์ 2555 มีนักจัดรายการวิทยุจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมประมาณ 80 คน

นายสุวัฒน์ บรรยายว่า กรมการกงสุลเคยบันทึกสถิติไว้ว่า มีคนไทยที่ไปติดคุกในประเทศมาเลเซียมากถึง 1,400 คน ในจำนวนนี้มีถึง 400 คนที่ถูกจับกุมข้อหามีสารเสพติดไว้ครอบครัว และ 24 คนถูกศาลมาเลเซียตัดสินประหารชีวิต

นายสุวัฒน์ บรรยายว่า ทุกวันนี้มีคนไทยเดินทางออกนอกประเทศทุกวัน โดยเป็นนักท่องเที่ยวกว่า 2,000,000 คน เดินทางไปตั้งรกรากในต่างประเทศทั่วโลกกว่าร้อยประเทศ รวม 1,000,000 กว่าคน และขายรายงานกว่า 500,000 คน ในจำนวนนี้ เป็นแรงงานในโควตาของกระทรวงต่างประเทศปีละ 100,000 คน

นายสุวัฒน์ บรรยายว่า คนไทยในต่างประเทศจำนวนหนึ่งสร้างปัญหาซับซ้อนให้เจ้าของประเทศมาก เนื่องจากไปละเมิดกฎหมายต่างประเทศ แต่การช่วยเหลือและติดต่อขอให้ส่งตัวกลับประเทศไทย เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก เพราะบางคนถูกตัดสินโทษประหารชีวิต ซึ่งสำนักงานกงสุลไทยในประเทศเหล่านั้นเข้าไปช่วยเหลือไม่ได้

นายสุวัฒน์ บรรยายว่า คนไทยที่มีพฤติกรรมชอบละเมิดกฎหมายต่างประเทศ ต้องระวังให้ดีเพราะกฎหมายต่างประเทศเข้มแข็งกว่าไทย กรมการกงสุลไทยแทบจะไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ตัวอย่าง 24 รายที่ถูกศาลมาเลเซียสั่งประหารชีวิต หลังจากจับได้ว่าค้ายาเสพติด กรมการกงสุลจะช่วยเหลือด้านคดียากมาก ถ้าไม่ใช่ครอบครัวผู้เสียหายจัดการเอง แต่หลายคนจะเข้าใจผิด คิดว่าสถานกงสุลไทยในต่างประเทศจะสามารถช่วยเหลือด้านคดีได้

นายสุวัฒน์ บรรยายอีกว่า ปัญหาใหม่ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ตอนนี้คือ มีคนไทยจำนวนไม่น้อยถูกหลอกไปใช้แรงงานในประเทศมาเลเซีย โดยมีนายหน้ามารับตัวไป แล้วส่งไปอยู่ตามร้านเสริมสวย สปา และส่วนมากถูกบังคับให้ค้าประเวณีด้วย บางรายถูกเจ้านายข่มขืนจนตั้งท้อง เนื่องจากกฎหมายมาเลเซียห้ามทำแท้ง ทำให้ต้องปล่อยให้คลอดลูกออกมา จึงยิ่งตอกย้ำให้ชีวิตในต่างแดนรันทดมากขึ้น

"ปีที่ผ่านมา มีสถิติที่ได้จากการร้องเรียนว่าถูกบังคับให้ขายบริการทางเพศเกินกว่า 1,000 ราย ซึ่งนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีอีกส่วนที่ยินยอมค้าประเวณี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนภาคอีสานและภาคเหนือ แต่ยังไม่ทราบชัดเจนว่า มีสาวมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ค้าประเวณีด้วยหรือไม่" นายสุวัฒน์ กล่าว

นายสุวัฒน์ บรรยายว่า ผู้ที่หลอกสาวไทยไปค้าประเวณีส่วนใหญ่ มักเป็นผู้ใกล้ชิดหรือญาติสนิทที่หลอกว่าจะหางานให้ทำในต่างแดน แต่เมื่อข้ามชายแดนไปแล้วจะมีผู้รอรับไปส่งยังสถานที่เป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารไทย หรือร้านสปานวดเท้า จึงขอให้ระวังตัวด้วย เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อาจจะประสบกับบุตรหลานของชาวจังหวัดชายแดนใต้ได้ เนื่องจากเดินทางไปฝั่งมาเลเซียบ่อย

นายสุวัฒน์ บรรยายด้วยว่า ยังมีหญิงไทยที่มักถูกแก็งค์ชาวต่างชาติหลอกให้ขนยาเสพติดข้ามประเทศทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยเฉพาะจากหนุ่มชาวประเทศไนจีเรียที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทยเฝ้าติดตามมาระยะหนึ่งนั้น พบว่า มีการทำเป็นขบวนการที่ซับซ้อนและมีการกระทำทารุณต่อผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่ออย่างมาก

นายสุวัฒน์ บรรยายว่า เส้นทางการลำเลียงยาเสพติดของชาวไนจีเรีย จะมีการติดต่อสื่อสารกับสาวไทยผ่านโปรแกรมแชททางอินเตอร์เน็ต ซึ่งสาวไทยจะรับสัมพันธ์ด้วยแม้ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน โดยชายชาวไนจีเรียกลุ่มนี้จะซื้อตั๋วเที่ยวต่างประเทศและโอนเงินให้สาวไทยใช้หลายครั้ง เพื่อให้เหยื่อตายใจ และเมื่อถึงขั้นสนิทสนมกันแล้ว ก็จะหลอกให้ส่งของกลับมายังประเทศไทย โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว หลังจากนั้นหนุ่มไนจีเรียจะข่มขืนเหยื่อจนตั้งท้อง เพื่อให้สามารถส่งของผ่านด่านตรวจได้ง่ายขึ้น

"แก๊งค์ค้ายาจะให้สาวท้องกลืนโคเคนเข้าไปในท้อง เมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ก็จะให้เหยื่อถ่ายออกมา แล้วส่งต่อให้พ่อค้ายาเสพติดในประเทศไทย" นายสุวัฒน์ กล่าว

นายสุวัฒน์ บรรยายต่อไปว่า รายล่าสุดที่กรมการกงสุลสามารถช่วยเหลือมาได้ คือเหยื่อสาวไทยที่ถูกจับได้ในประเทศกัมพูชา และถูกศาลประเทศกัมพูชาตัดสินจำคุก 29 ปี แต่สาวไทยคนนี้คลอดลูกในเรือนจำที่นั่น ซึ่งสร้างความโกลาหนให้เจ้าหน้าที่กัมพูชามาก กรมการกงสุลจึงติดต่อขอตัวเด็กกลับมาจดทะเบียนเป็นคนไทยและส่งตัวให้สถานดูแลเด็กกำพร้าเลี้ยงดูต่อไป

 




วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เตือนอีกครั้ง! ค่ายมือถือเมินคำสั่ง กสทช. ปรับวันละ2 หมื่น

 

เตือนอีกครั้ง! ค่ายมือถือเมินคำสั่ง กสทช. ปรับวันละ2 หมื่น

กสทช.เตือนค่ายมือถือไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการมือถือแบบพรีเพด อาจถูกปรับวันละ 2 หมื่นบาท ให้เวลา 30 วัน หลังส่งหนังสือแจ้งเตือนไปเมื่อวันที่ 26 ม.ค.55...

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช.ด้านกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. วันนี้มีวาระการประชุมเรื่อง การลงทะเบียนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเรียกเก็บเงินล่วงหน้า โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน หรือ พรีเพด เนื่องจากประกาศของ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรร และบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ข้อ 38 กำหนดให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ พรีเพด จัดเก็บข้อมูล และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ แต่ขณะนี้ผู้ให้บริการยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประกาศ ดังนั้น สำนักงาน กสทช.จึงทำหนังสือเตือนไปยังผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายใน 30 วัน 

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า หากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง กสทช.จะต้องพิจารณากำหนดค่าปรับทางปกครอง ตามมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ต่อไป ในอัตราไม่น้อยกว่า 2 หมื่นบาท/วัน โดยล่าสุด สำนักงาน กสทช. ตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการมือถือระบบเติมเงินแล้วเมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา แต่เบื้องต้นต้องเชิญผู้เกี่ยวข้องมาหารือในแนวทางการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นไปได้ รวมทั้ง เชิญฝ่ายความมั่นคงเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากปัจจุบันมีการนำมือถือระบบเติมเงินไปใช้ติดต่อเพื่อส่งยาเสพติดด้วย

ด้าน นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งหนังสือมายัง กสทช.ว่าไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น กทค.จึงมีความเห็นให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือแจ้งเตือนเพื่อเป็นการบังคับใช้ตามประกาศต่อไป

อย่างไรก็ตาม ความเห็นของส่วนงานเลขานุการ สำนักงาน กสทช. ระบุว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ จึงควรดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์ และวิธีในการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจกำหนดให้มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการจัดเก็บเอกสาร เพื่อลดภาระผู้ให้บริการ

สำหรับจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทย สำนักงาน กทช.จัดทำข้อมูลดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าในกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยโดยสรุป ในปี 2553 จากข้อมูลพบว่า มีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนกว่า 70 ล้านเลขหมาย ในจำนวนกว่า 70 ล้านเลขหมาย เป็นบริการรายเดือน หรือ โพสต์เพด 7.22 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 10.22% และพรีเพด 63.4 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 89.78%.

โดย: ทีมข่าวไอทีออนไลน์

1 กุมภาพันธ์ 2555, 06:00 น.

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

อ.นิติฯ มธ. พลิกกม.ป้องกันฯ ปี 50 ชี้ชัดอปท.มีอำนาจสูงสั่งจัดการน้ำ

 

อ.นิติฯ มธ. พลิกกม.ป้องกันฯ ปี 50 ชี้ชัดอปท.มีอำนาจสูงสั่งจัดการน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2012 เวลา 01:12 น. เขียนโดย สาธินีย์ วิสุทธาธรรม หมวด isranewsข่าว

"กิตติศักดิ์ ปรกติ" แจงละเอียด กม.ป้องกันและบรรเทาฯ เป็นเครื่องมือจัดการน้ำสำคัญ แต่รบ.ใช้ไม่เป็น ยันอปท.-นายกอบต. หน่วยงานหลัก รับผิดชอบโดยตรง กลับถูกรัฐส่วนกลางรวบอำนาจ เครื่องมือไว้

วันที่ 25 มกราคม ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ มธ. กล่าวถึงมุมมองด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาด้านสาธารณภัย ในงานอาทรเสวนา "อภิมหาโปรเจกต์ สู้น้ำ : คิดดี คิดชอบ คิดรอบ หรือยัง?" ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาฯ 

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปี  2554 แท้จริงแล้วประเทศไทยมีเครื่องมือ มีโครงสร้าง กลไกการผันน้ำและควบคุมน้ำ แต่ใช้ไม่เป็น นั่นคือ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปี 2550  อีกทั้งความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับน้ำของคนในประเทศไทยก็มีมากพอ แต่คนที่มีความรู้ไม่ถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม หรือไม่ถูกนำไปใช้เลย 

"ในทางการเมืองมีหน่วยงานอย่าง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมีรัฐธรรมนูญที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน รวมทั้งหลักในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เนื่องจากภาครัฐส่วนกลางไม่มีทางที่จะมีความรู้รายละเอียดทั้งหมด เพียงแค่รับเรื่องและส่งเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือส่วนท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ลงมือปฏิบัติ แต่น้ำท่วมที่ผ่านมา ท้องถิ่นไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เพราะถูกภาครัฐส่วนกลางรวบอำนาจและเครื่องมือไว้"

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในแง่กฎหมายที่เกี่ยวกับอุทกภัยมีอยู่กว่า 20 ฉบับ ฉบับที่สำคัญ คือ กฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปี 2550 ที่ประกาศใช้และให้อำนาจเต็มที่แก่เจ้าหน้าที่ เฉกเช่นกับเหตุสงคราม แต่เนื่องจากผู้ที่ได้รับมอบหมาย คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่อยู่ในฐานะที่ใช้ได้ และใช้ไม่เป็น

"ตามรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ  กำหนดให้พลเมืองทุกคนมีหน้าที่ในการป้องกันพิบัติภัย เช่นเดียวกับที่พลเมืองชายทุกคน มีหน้าที่เป็นทหารป้องกันภัยสงครามของประเทศ โดยหากผู้นำออกคำสั่งใดๆ เพื่อป้องกันภัยพิบัติก็ไม่สามารถขัดแย้งได้ แต่อุทกภัยที่ผ่านมา นอกจากพลเมืองไม่ร่วมกันบริหารจัดการแล้ว ยังเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและหน่วยงานรับอีกด้วย" 

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวอีกว่า กฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้ทุกหน่วยงานมีหน้าที่ โดยมี รมว.มหาดไทย มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งประธานศูนย์ฯ และมีบรรดาผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เป็นผู้อำนวยการ 

"หน่วยที่สำคัญ คือ ผู้อำนวยการท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บรรดานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีอำนาจโดยตรงและอำนาจมากที่สุด สามารถร้องขอให้ผู้อำนวยการระดับสูงกว่า ให้ความความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนได้ ซึ่งขัดแย้งกับภาพการให้สัมภาษณ์ของหน่วยงานท้องถิ่น และนายกเทศมนตรีจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ที่อ้างว่า ไม่สามารถบริหารจัดการใดๆ ได้ เนื่องจากไม่มีงบประมาณและการสนับสนุนลงมจากภาครัฐส่วนกลาง"

 ทั้งนี้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ยังกำหนดให้ผู้อำนวยการสามารถสั่งการหน่วยงานรัฐในเขตพื้นที่ตนเองได้ทั้งหมด ยกเว้นทหารที่ต้องใช้วิธีขอความร่วมมือ เช่น เครื่องมือของทหาร รวมทั้งสั่งการให้ผู้ใดกระทำการ ไม่กระทำการ หรือรื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ขวางทางน้ำ หรือขวางการป้องกันและบรรเทาภัยได้

ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ประชาชนอาจโดนจำกัดสิทธิเสรีภาพในการบริหารจัดการของรัฐตามกฎหมายนี้  แต่ก็จะได้รับการชดเชย และมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อให้การช่วยเหลือรัฐในการบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างง่ายขึ้น เห็นได้ชัดว่า แท้จริงแล้วอำนาจหน้าที่มี แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ และตามหลักการทางกฎหมายแพ่ง ก็ระบุว่าการกักน้ำไว้จนเกินจำเป็น หรือปฏิเสธไม่รับน้ำไม่สามารถทำได้ ต้องปล่อยให้ไหลตามธรรมชาติ หรือหากทำได้ก็ต้องชดเชยอย่างเหมาะสม

"ในกรณีกรุงเทพฯ เป็นเส้นทางที่น้ำต้องผ่าน ก็ต้องรับน้ำ แต่หากจะดำเนินการกักไม่ให้น้ำผ่าน จะต้องจ่ายค่าชดเชย และต้องเฉลี่ยน้ำให้ได้ ทั้งในช่วงรับน้ำแล้งและน้ำท่วม" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าว และว่า สำหรับกฎหมายอาญา เจ้าพนักงานที่ได้รับบริจาค หรือมีหน้าที่ในการดูแลรักษาของบริจาค หากเบียดบัง หรือแจกจ่ายของอย่างไม่สมควรก็ถือว่าผิดต่อระเบียบกฎหมาย 

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการ กยน.อ้างว่า น้ำปี 2554 มีมากกว่าปกติ มีพายุตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม กันยายนและตุลาคม ทำให้การพยากรณ์ไม่แม่นยำ และจำเป็นต้องระบายน้ำในเขื่อนออกแม่น้ำเดียว โดยที่ระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ หรือเสื่อมสภาพ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า กยน.ไม่ได้กล่าวถึง ความผิดพลาดทางนโยบาย ความสับสนในอำนาจหน้าที่ รวมถึงการละเลย ความบกพร่องในการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

ป้องกันฯ เลย อีกทั้งการสื่อสารภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ล้มเหลวมากที่สุด ไม่สื่อสารด้วยความจริงและความรู้ ทำให้ประชาชนป้องกันไม่ทัน หรือตระหนกเกินไปจนเกิดภาวะขาดแคลนตามมา

http://goo.gl/XVxhd

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบคำขอจดแจ้งองค์กรภาคประชาสังคม

แบบคำขอจดแจ้งองค์กรภาคประชาสังคม
..................................................

                                  ที่...........................................
                     วันที่............เดือน........................พ.ศ............

เรียน  เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
   ข้าพเจ้า ชื่อ .....................................................นามสกุล......................................................
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน...
อยู่บ้านเลขที่....................หมู่ที่........................ตรอก/ซอย...............................................................
ถนน....................................ตำบล/แขวง.....................................อำเภอ/เขต..................................
จังหวัด..........................................โทรศัพท์......................................โทรสาร..................................
มือถือ...........................................รหัสไปรษณีย์
ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนองค์กร..................................................................................................
ประสงค์จะขอจดแจ้งเป็นองค์กรภาคประชาสังคมตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยมี
รายละเอียดดังนี้
๑.   สถานที่ตังองค์กร เลขที่...........หมู่ที่......................ตรอก/ซอย...........................................
ถนน......................................ตำบล/แขวง..................................อำเภอ/เขต...................................
จังหวัด...........................................โทรศัพท์..................................โทรสาร.....................................
รหัสไปรษณีย์   

๒.   สถานที่ติดต่อ เลขที่............หมู่ที่....................ตรอก/ซอย................................................
ถนน......................................ตำบล/แขวง..................................อำเภอ/เขต...................................
จังหวัด...........................................โทรศัพท์..................................โทรสาร.....................................
รหัสไปรษณีย์

๓.   องค์กรจัดตั้งเมื่อวันที่.................เดือน.........................พ.ศ...................
๔.   สถานภาพขององค์กร
    ( )   เป็นสมาคม มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร หรือรายได้
      มาแบ่งปันกัน
   ( )   เป็นกลุ่ม ชมรม เครือข่าย คณะบุคคลซึ่งมิได้เป็นนิติบุคคล ซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ในการ
      แสวงหากำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน

         ๒

   ( )   ไม่เป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมซึ่งรวมกันเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบล
      ตามกฎหมายว่าด้วยสภาองค์กรชุมชน
   ( )   ผู้บริหารขององค์กร ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุด
      ว่าได้กระทำความผิดฐานทุจริต หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือ
      ถูกไล่ออก หรือปลดออกจากตำแหน่งเพราะทุจริต
๕.   จดทะเบียนที่หน่วยงาน................................................................................................
จังหวัด...........................................เมื่อวันที่..............เดือน.............................พ.ศ..........................
ทะเบียนเลขที่......................................
๖.   วัตถุประสงค์การจัดตั้ง................................................................................................
...
...
...
...
...
...
...
๗.   กิจกรรมที่ดำเนินการ
   ( )   การพัฒนาประชาธิปไตย
   ( )   การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นที่มิได้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔ (๑)
      ของระเบียบสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจดแจ้งการจัดตั้ง
      องค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ๒๕๕๑
   ( )   การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
   ( )   การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง
   ( )   การผลักดันนโยบายสาธารณะระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น
   ( )   การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
   ( )   การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสมานฉันท์
   ( )   การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพประชาชน ชุมชนในการจัดการ อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์
      จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
   ( )   การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
   ( )   อื่นๆ...
         
         ๓

๘.   ผลการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (โดยสรุป).......................................
...
...
...
...
...
...
...
๙.   ได้แนบหลักฐานพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ดังต่อไปนี้
๙.๑ สำเนาหลักฐานหนังสือสำคัญหรือเอกสารที่แสดงถึงการจัดตั้งองค์กร
๙.๒ สำเนาหลักฐานที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ ข้อบังคับหรือระเบียบหลักเกณฑ์ขององค์กร รวมทั้ง
หนังสือที่แสดงว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนองค์กร
   ๙.๓ สำเนาหลักฐานซึ่งแสดงการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องขององค์กรไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันจดแจ้ง
   ๙.๔ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นซึ่งทางราชการ หน่วยงานของรัฐออกให้ของผู้มีอำนาจกระทำการแทนองค์กรหรือเป็นผู้รับมอบอำนาจ แล้วแต่กรณี
   ๙.๕ เอกสารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา

   ขอรับรองว่าข้อความและหลักฐานดังกล่าวข้างต้นถูกต้องและเป็นจริงทุกประการ
   ในกรณีที่ตรวจพบข้อความข้างต้นนี้เป็นเท็จและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ข้าพเจ้าถือเป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าเองทั้งสิ้น*


               (ลงชื่อ)...................................................ผู้มีอำนาจทำการแทน
                         (...............................................)   




*การให้ข้อมูลเป็นเท็จเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
แบบเสนอชื่อผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม
เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
................................

๑.   ชื่อองค์กร...
ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมดังระบุชื่อข้างต้น  ชื่อ........................นามสกุล.......................หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน.............................................อยู่บ้านเลขที่..................หมู่ที่................ตรอก/ซอย.................ถนน.............................ตำบล/แขวง......................อำเภอ/เขต.........................จังหวัด...............................................โทรศัพท์...................................โทรสาร..................................ขอเสนอผู้แทนองค์กรเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ชื่อ...........................................นามสกุล...................................................เกิดวันที่..................เดือน.................พ.ศ.........................อายุ...........ปี  เพศ..............สัญชาติ.............ศาสนา....................อาชีพปัจจุบัน....................................อยู่บ้านเลขที่.................หมู่ที่..............ตรอก/ซอย..................................ถนน.....................................ตำบล/แขวง......................................อำเภอ/เขต................................จังหวัด....................................โทรศัพท์...........................................โทรสาร.....................................มือถือ.....................................รหัสไปรษณีย์
๒.   การศึกษาของผู้ได้รับการเสนอชื่อ (ถ้ามี)
๒.๑...
๒.๒...
๒.๓...
๓.   ความสัมพันธ์กับองค์กรของผู้ได้รับการเสนอชื่อ
   ( )  เป็นสมาชิก
   ( )  เคยดำเนินกิจกรรมร่วมกับองค์กร
๔.   ความรู้  ความเชี่ยวชาญ  หรือประสบการณ์ของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ........................................
...

   ๒

๕.   ผลงานที่สำคัญของผู้ได้รับการเสนอชื่อ...............................................................................
...
...
๖.   ข้าพเจ้าขอรับรองว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองข้างต้น
เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ.๒๕๕๑
๗.   ได้แนบหลักฐานพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องของผู้ได้รับการเสนอชื่อ  ดังต่อไปนี้
   ๗.๑ สำเนาทะเบียนบ้าน
   ๗.๒ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นซึ่งทางราชการ  หน่วยงานของรัฐออกให้
   ๗.๓ รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๓ รูป
   ๗.๔ สำเนาหลักฐานที่แสดงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ (ถ้ามี)
   
ขอรับรองว่าข้อความและหลักฐานดังกล่าวข้างต้นถูกต้องและเป็นจริงทุกประการ
ในกรณีที่ตรวจพบข้อความข้างต้นนี้เป็นเท็จและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น  ข้าพเจ้าถือเป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้าเองทั้งสิ้น*
               
            (ลงชื่อ)....................................................ผู้มีอำนาจทำการแทน
               (................................................)






*การให้ข้อมูลเป็นเท็จเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หนังสือยินยอม
เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
............................................

ที่........................................
วันที่...............เดือน.........................พ.ศ...............

๑.   ข้าพเจ้า ชื่อ ............................................นามสกุล........................................................
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน...
เกิดวันที่..............เดือน...............................พ.ศ.......................  อายุ...............ปี  เพศ.....................
สัญชาติ........................ศาสนา....................อาชีพปัจจุบัน.................................................................
อยู่บ้านเลขที่................หมู่ที่..................ตรอก/ซอย.....................................ถนน..............................
ตำบล/แขวง.....................................อำเภอ/เขต.......................................จังหวัด............................
โทรศัพท์........................................โทรสาร.........................................มือถือ...................................
รหัสไปรษณีย์                 E-mail......................................................................
ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรภาคประชาสังคม  ชื่อ...............................................................................
ให้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
๒.   การศึกษา
๒.๑ ...
๒.๒ ...
๒.๓ ...
   ๓.  ความสัมพันธ์กับองค์กร
   ( ) เป็นสมาชิกขององค์กรภาคประชาสังคม ชื่อ ................................................................
      ตั้งแต่.................................................จนถึง...........................................................
   ( ) เคยดำเนินกิจกรรมร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม  ชื่อ..................................................
      ตั้งแต่.................................................จนถึง...........................................................
      ...
      ...
      ...
๔.   ข้าพเจ้าขอรับรองว่า  ข้าพเจ้า
(ก)   ไม่เป็นกรรมการสรรหาสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
(ข)   มีสัญชาติไทย


(ค)   มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการสรรหา
(ง)   ไม่เป็นภิกษุ  สามเณร  นักพรตหรือนักบวช
(จ)   ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(ฉ)   ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก  และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือเป็นผู้ที่เคยต้อง        คำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันที่ได้รับการสรรหา  เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(ช)   ไม่อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง
(ซ)   ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารของพรรคการเมือง กรรมการพรรคการเมืองประธานสาขาพรรคการเมือง ข้าราชการการเมือง  หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(ฌ)   ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการ      ศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ญ)   เป็นผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน  มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริต
๕.   ข้าพเจ้ายินยอมให้องค์กร................................................................................................
เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
   ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อความข้าต้นเป็นความจริงทุกประการ  และหากข้าพเจ้าได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองแล้ว  ข้าพเจ้ายินดีเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองและจะทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติและส่วนรวมเพื่อพัฒนาการเมืองให้เจริญก้าวหน้าสืบไป*


            (ลงชื่อ).....................................................ผู้ให้ความยินยอม
               (..................................................)





*การให้ข้อมูลเป็นเท็จเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หนังสือมอบหมายทำการแทน
ขององค์กรภาคประชาสังคม
.................................................

ที่............................................
วันที่...............เดือน.........................พ.ศ.............
เรื่อง   มอบหมายให้ทำการแทน
เรียน   เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

   ข้าพเจ้า  ชื่อ......................................................นามสกุล.....................................................
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน...
ตำแหน่ง......................................................ชื่อองค์กร...................................................................
เลขที่.........................หมู่ที่......................ตรอก/ซอย......................................................................
ถนน....................................ตำบล/แขวง..................................อำเภอ/เขต.....................................
จังหวัด...............................................รหัสไปรษณีย์ 
ได้มอบหมายบุคคลต่อไปนี้
๑.   ...
๒.   ...
เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนองค์กรภาคประชาสังคม  ชื่อ .......................................................................

   เพื่อเป็นหลักฐาน  ข้าพเจ้า .........................................................จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน


               (ลงชื่อ).......................................................ผู้มอบหมาย
                  (....................................................)

               (ลงชื่อ).......................................................ผู้รับมอบหมาย
                  (.....................................................)

               (ลงชื่อ).......................................................พยาน
                  (....................................................)