วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จับตากองทุนสื่อ ต้องอิสระ โปร่งใส เน้นสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย

จับตากองทุนสื่อ ต้องอิสระ โปร่งใส เน้นสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย

ภาค ประชาชนและผู้ผลิตสื่อน้ำดีผนึกกำลังจับตา กองทุนสื่อฯ  ดันควรเป็นองค์กรอิสระ โครงสร้างชัดเจน โปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม เข้าถึงได้  มุ่งสร้างสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัยเพื่อเด็กและสังคมไทย

ในช่วงที่ผ่านมามีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นหลายต่อหลายครั้งเกี่ยวกับ การมี "กองทุนสื่อ"ที่จะมาช่วยผลักดันให้เกิดการผลิตสื่อดีที่สร้างสรรค์และ ปลอดภัยต่อเยาวชน ด้วยการกำหนดให้กองทุนมีบทบาทในการสนับสนุนผู้ผลิตที่ต้องการหลุดกรอบธุรกิจ มาสู่การผลิตรายการดีเพื่อเด็กเพื่อสังคมอย่างแท้จริงและอยู่ได้  ซึ่งเชื่อว่าในปัจจุบันมีผู้ผลิตเหล่านี้อยู่จำนวนไม่น้อย  ทั้งในกลุ่มสื่อกระแสหลัก กลุ่มสื่อทางเลือกและสื่อพื้นบ้าน กลุ่มสื่อหนังสือและวรรณกรรม กลุ่มนักวิจัยด้านสื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก และกลุ่มเด็กและเยาวชนทำสื่อ

ล่าสุดในเวทีสาธารณะ "จับตากองทุนสื่อ เครื่องมือหนุนอนาคตชาติ" ซึ่งกลุ่มบ้านรักดี ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ที่โรงแรมเอเชีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยว กับ เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้กองทุนดังกล่าวเป็นไปตามความต้องการของประชาชนโดยแท้จริงนั้น   กลุ่มผู้ผลิตสื่อด้านต่าง ๆ รวมทั้งผู้แทนจากภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยว กับความคาดหวังต่อกองทุน รูปแบบการสนับสนุน การเข้าถึงกองทุน ฯลฯ

นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน (คพส.) กล่าวเปิดการสัมมนาโดยระบุว่า กองทุนนี้น่าจะเกิดขึ้นได้แล้ว ที่ผ่านมาก็ไม่รู้ว่าไปติดตรงไหน แต่อยากผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะจากวัตถุประสงค์และที่มาของกองทุนมีความเป็นไปได้และจะเกิดประโยชน์กับ ประเทศชาติ โดยเฉพาะเยาวชน ตามวัตถุประสงค์ 5 อย่างที่จะผลิตและพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ดีน่าสนับสนุน แต่ปัญหาว่าเมื่อมาเป็นกฎหมายจะไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจกันไว้ เพราะกฎหมายเวลาร่างเป็นอย่างหนึ่ง เวลาออกมาเป็นอย่างหนึ่ง ระหว่างทางมีการแปลงสารที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้  อย่างไรก็ตามการผลักดันกฎหมายนี้ก็มีหลายช่องทางเช่น หากรัฐบาลไม่เสนอผลักดันกันมานาน 7 ปีกองทุนนี้ยังไม่เกิด ภาคประชาชนก็สามารถรวบรวมรายชื่อเสนอเองได้และเป็นเรื่องดี  สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับรู้ และเข้าใจถึงเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของกองทุนอย่างกว้างขวางและมาร่วมผลัก ดัน

นางสาวเข็มพร  วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า การผลักดันให้เกิด "(ร่าง)พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์"เกิดจากการรวมตัว ของเครือข่ายกว่า 37 องค์กร ทั้งภาคนักวิชาการ ประชาชนเครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายเด็ก สภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งฝ่ายราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์กรสื่อที่เกี่ยวข้อง จนในปัจจุบันได้ผ่านมติรัฐมนตรี เข้าสู่การพิจารณาของคณะกฤษฎีกาแล้ว หาก"พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์"  ผ่านออกประกาศใช้ย่อมเป็นโอกาสของผู้ผลิตในการสร้างสรรค์สื่อดีๆให้กับเด็ก และเยาวชนกว่า 26 ล้านคนทั่วประเทศทำให้เกิดสื่อที่ดี มีคุณภาพ สร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อเด็ก เยาวชน และสังคมไทยเพิ่มขึ้น

ในเวทีสาธารณะภาคประชาชนได้แสดงความห่วงใยต่อการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะทำให้วัตถุประสงค์ของการผลักดันให้เกิดกองทุนนี้ผิดไปจาก เจตนาเดิม โดยมี 2 เรื่องหลัก คือ  คณะกรรมการกองทุน  และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ

1) คณะกรรมการกองทุน ซึ่งในร่างของกฤษฎีกามีการเพิ่มจาก 2 ชุด เป็น 3 ชุด  ข้อสังเกตของภาคประชาชนคือ การเปลี่ยนแปลงให้มีคณะกรรมการที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในเรื่องการตรวจ สอบสื่อที่ไม่เหมาะสม โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานและยังมีองค์ประกอบกรรมการที่ มาจากของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งให้ความสำคัญในเรื่องปราบปราบสื่อที่ไม่เหมาะสมมากก ว่าการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์  อีกทั้งในเรื่องการบริหารกองทุน โดยมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานนั้น เป็นการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกองทุนเป็นหลัก และมีการแต่งตั้งกรรมการอื่น ๆ มาประกอบ ซึ่งจะทำให้การทำงานอยู่ภายใต้ระบบราชการมากกว่าการเป็นองค์กรอิสระ  ซึ่งจากบทเรียนในอดีตพบว่าการบริหารกองทุนในลักษณะดังกล่าวมีจุดอ่อนมาก

2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ ตามร่างที่ผ่านมติครม.กำหนดนโยบายการบริหารงานให้ความเห็นชอบแผนการดำเนิน งานของกองทุน   แต่ในร่างปรับใหม่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกามีการเพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะ กรรมการ ในลักษณะของการตรวจสอบสื่อ ซึ่งแตกต่างจากร่าง พ.ร.บ.ฯเดิมที่เน้นการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์ และเน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่จะเฝ้าระวังสื่อ

ทั้งนี้ภายหลังการระดมความคิดเห็นจะได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการจัดตั้ง กองทุนสื่อจากภาคประชาชน ที่ผู้ผลิตสื่อน้ำดีได้มีโอกาสเข้าถึงและสร้างสรรค์สื่อดีเพื่อเด็กและสังคม ได้อย่างแท้จริง  โดยจะเสนอต่อรัฐบาลและสาธารณะต่อไป หวังว่ารัฐบาลจะผลักดันกองทุนสื่อให้เกิดขึ้นเป็นของขวัญแก่เด็กและเยาวชนใน ปี 2554 นี้.

http://www.prachatai3.info/journal/2010/12/32397




วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 12 มกราคม 2554 เวลา 13.00 – 16.00 น ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขอเชิญผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจร่วมการสัมมนา "ทำธุรกิจให้รุ่ง...มุ่งนวัตกรรม"
          วันพุธที่ 12 มกราคม 2554
          เวลา 13.00 – 16.00 น
          ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 
          **ไม่เสียค่าใช้จ่าย**
          โดย ในการสัมมนา ท่านจะได้รับฟังการบรรยาย ที่เป็นที่สุดของความรู้ด้านนวัตกรรมธุรกิจ จาก รศ. ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ อดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะมาเปิดมุมมองและให้ความรู้เรื่องการสร้างนวัตกรรมธุรกิจสำหรับ SMEs ไทย การประเมินระดับนวัตกรรม SMEs ไทย และแนวทางการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจ เพื่อหาคำตอบด้านนวัตกรรมสำหรับธุรกิจของท่าน           
          รับ จำนวนจำกัด เพียง 70 ท่าน สนใจติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 547 5950 หรือทาง e-mail: research@dbd.go.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย



วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชำนาญ จันทร์เรือง: นักโทษทางความคิด

ชำนาญ จันทร์เรือง: นักโทษทางความคิด

โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
15 ธันวาคม 2553

ไม่ น่าเชื่อว่ามนุษย์ที่ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐจะเข่นฆ่าทำร้ายและคุมขัง มนุษย์ด้วยกันแต่ว่ามีความคิดเห็นแตกต่างจากตัวเองและไม่มีความเศร้าใจใดๆ ที่จะเทียบเท่ากับการได้เห็นภาพหรือทราบข่าวของการจับกุมคุมขังผู้ที่มีความ คิดเห็นแตกต่างจากผู้ครองอำนาจรัฐไม่ว่าจะเกิดขึ้นในผืนแผ่นดินใดในโลกนี้ ซึ่งเราเรียกเขาเหล่านี้ว่านักโทษทางความคิดหรือ Prisoner of Conscience

คำ ว่านักโทษทางความคิดนั้นในคู่มือสมาชิกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย(Amnesty International Thailand)ได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ บุคคลที่ถูกคุมขัง หรืออาจกล่าวได้ว่าถูกกักขังทางร่างกายเนื่องจากความคิดเห็นทางการเมือง เพราะศาสนา หรือความเชื่ออย่างแท้จริงของเขา เพราะเผ่าพันธุ์ เพศ สีผิว ภาษา ถิ่นกำเนิดหรือสังคม สถานภาพทางเศรษฐกิจ การเกิด แนวโน้มทางเพศ หรือสถานภาพอื่นๆ ทั้งนี้ โดยที่เขาไม่ได้ใช้ความรุนแรงหรือสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรง หรือความเกลียดชัง

ไม่มีใครรู้ถึงจำนวนที่แน่นอนของนักโทษทางความคิด ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำทั่วโลก พวกเขาถูกจับกุมโดยรัฐบาลหรือกลุ่มการเมืองติดอาวุธ บางคนเป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน หลายคนเป็นศิลปิน นักกฎหมาย นักการเมือง หรือนักต่อสู้ของสหภาพแรงงาน โดยเขาเหล่านั้นได้ท้าทายความคิดเห็นของรัฐ อย่างไรก็ตามปรากฏว่านักโทษทางความคิดส่วนใหญ่กลับเป็นชายและหญิงธรรมดาๆ แม้กระทั่งเด็กๆจากผู้คนทุกชนชั้นโดยถูกคุมขังเพียงเพราะสิ่งที่พวกเขา เป็น(เช่น เป็นเหลือง หรือเป็นแดง เป็นต้น) มากกว่ากิจกรรมทางการเมืองของพวกเขา

นักโทษทางความคิดบางคนได้กระทำ การต่อต้านระบบทั้งหมดของรัฐ ในขณะที่บางคนได้ดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายของระบบการเมืองภายในประเทศ แต่พวกเขาก็ยังคงถูกจับกุมอยู่ดี ประชาชนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆอาจกลายเป็นนักโทษทางความคิดได้ เนื่องจากเหตุผลหลายประการที่อาจถูกหยิบยกขึ้นมาได้ ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีความเชื่อใดควรได้รับสิทธิมนุษยชนโดยปราศจาก การเลือกปฏิบัติเพราะเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดที่ปรากฏอยู่ในมาตรา 2 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ระบุว่า "โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าในรูปแบบใด เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา การเมืองหรือความคิดเห็นอื่น สัญชาติหรือกำนิดทางสังคม ทรัพย์สิน การเกิดหรือสถานภาพอื่น"

ตัวอย่างของการกล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุผลที่จะจับกุมคุมขังนักโทษทางความคิดที่พบเห็นอยู่เสมอ เช่น

- การเข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมืองที่ปราศจากความรุนแรง เช่น กิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง หรือการชุมนุมคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพันธมิตรฯ เป็นต้น
- การเป็นชนกลุ่มน้อยที่ต่อสู้เพื่อการปกครองตนเอง
- การยืนยันที่จะปฏิบัติพิธีการทางศาสนาที่รัฐไม่ให้ความเห็นชอบ
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสหภาพแรงงาน เช่น การนัดหยุดงาน หรือการเดินขบวนประท้วงของคนงาน เป็นต้น
- การตั้งข้อหาว่าพวกเขาก่ออาชญากรรม ทั้งๆที่เป็นเพียงการวิจารณ์ทางการหรือเป็นการชุมนุมทางการเมืองเท่านั้น เช่น การตั้งข้อหาก่อการร้าย หรือการป้ายสีว่าอยู่ในขบวนการล้มเจ้าทั้งๆที่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ แต่ก็แจ้งความดำเนินคดีไว้ก่อนเพื่อกลั่นแกล้งกัน เป็นต้น
- การเขียนบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ที่กระตุ้นให้ผู้คนตระหนักในเรื่องของการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศของตน ก็อาจถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวร่วมของผู้ก่อการร้ายแยกดินแดนได้ เป็นต้น
- การปฏิเสธการเข้ารับราชการทหาร สืบเนื่องมาจากความคิดเห็นของตนที่เป็นการปฏิเสธอย่างจริงใจ ( Conscientious Objection)
- การต่อต้านการใช้ภาษาราชการของประเทศ เช่น ในประเทศที่มีภาษาหลักอยู่หลากหลาย หรืออาจจะด้วยเพราะเหตุผลทางการเมือง เช่น อินเดีย แคนาดา ฯลฯ จนต้องมีภาษาราชการมากกว่า 1 ภาษา เนื่องจากเขาบังเอิญอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มี ความคิดเห็นไม่ตรงกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น หมู่บ้านในเขตสีแดงหรือสีชมพูในอดีต หรือ หมู่บ้านในในเขตภาคเหนือหรือภาคอีสานในปัจจุบัน เป็นต้น
- เนื่องจากคนในครอบครัวเป็นศัตรูของรัฐอย่างเปิดเผยเปรียบดังกรณีหมาป่ากับลูกแกะ เป็นต้น
- การอยู่ในสถานที่ที่ถูกจำกัดทางเพศเพราะเหตุเป็นสตรีเพศ เช่น ในอัฟกานิสถานภายใต้ระบอบการปกครองของตาลีบัน
- เนื่องจากอัตตลักษณ์ทางเพศที่แท้จริงหรือที่แสดงออกหรือการข้องแวะในความ สัมพันธ์หรือกิจกรรมของเพศเดียวกัน เช่น กรณีผู้นำฝ่ายค้านของมาเลเซีย เป็นต้น

ตัวอย่างของนักโทษทางความคิดที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักกัน ดีก็คือ อองซาน ซู จี ของพม่าที่เพิ่งถูกปล่อยตัวจากการกักขังไว้ในบ้านของตนเอง(House Arrested) หรือกรณีของนาย Idriss Boufayed นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวลิเบียซึ่งถูกจับกุมภายหลังเขากลับจากการลี้ ภัยในสวิตเซอร์แลนด์ไปลิเบียในเดือน ก.ย.2549 ทั้งๆที่เขาได้รับหนังสือเดินทางและคำยืนยันจากสถานทูตลิเบียประจำกรุงเบิร์ นว่าเขาจะไม่ได้รับอันตรายใดๆในการกลับเข้าประเทศ แต่ปรากฏว่าเขากลับถูกจับในวันที่ 5 พ.ย. 2549 และ ถูกขังเดี่ยวจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 29 ธ.ค.2549 แต่ต่อมาเขาก็ยังถูกจับกุมอยู่ดีในเดือน ก.พ.2550 ขณะที่กำลังวางแผนการชุมนุมอย่างสงบในเมืองเดียวกัน

จากตัวอย่าง ทั้งหมดที่ได้ที่ได้กล่าวมานี้ ผมเห็นว่านักโทษทางความคิดทุกคนควรได้รับการปล่อยตัวโดยทันทีและโดยปราศจาก เงื่อนไข เพราะภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลต่างๆไม่มีสิทธิที่จะกักขังบุคคลเหล่านั้น พวกเขาถูกปล้นอิสรภาพเพราะความเชื่อของตน หรือเพราะอัตตลักษณ์ความเป็นตัวตน มิใช่การเป็นผู้ร้ายโดยกมลสันดาน

เรามารณรงค์ให้ปล่อยตัวนักโทษทางความคิดกันเถอะครับ


 

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553/วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13:00 - 16:00 น. ณ. ห้อง 207 ชั้น 2

“ชวนถกเรื่องพหุวัฒนธรรม” /ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) โดยกลุ่มวิจัยความขัดแย้งและพหุวัฒนธรรมนิยม
ขอเชิญร่วมเสวนาในโครงการ

ครั้งที่ 1 พหุนิยมในเชิงกฎหมาย (Legal Pluralism)

ศ.ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ. ห้อง 207 ชั้น 2

“หากสังคมไทย มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม แต่เหตุใดกฎหมายที่ใช้จึงไม่สามารถรองรับแง่คิดและธรรมเนียมปฏิบัติจาก วัฒนธรรมต่างๆ ได้ทั้งหมด ? การเรียกร้องสิทธิ และการแสดงออกซึ่งความเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรมจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง หรือไม่ ในเมื่อสังคมของเรายังคงมีข้อจำกัดด้านกฎหมาย?” ร่วมกันหาคำตอบได้ในวงเสวนาเรื่อง พหุนิยมในเชิงกฎหมาย (Legal Pluralism)


ครั้งที่ 2 “นโยบายภูมิบุตรากับการเมืองเรื่องชาติพันธุ์ในมาเลเซีย”

รศ. สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ณ. ห้อง 207 ชั้น 2

ในปัจจุบันสังคมของเรามีนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชะตากรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มากมาย ทว่า จะมีหนทางใดที่สามารถสร้างนโยบายที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ เหล่านั้น การมองประสบการณ์จากประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์แบบ หนึ่ง ร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะกับนักกฎหมายผู้สนใจชีวิตของคนตัวเล็กตัวน้อยในเสวนา เรื่อง“นโยบายภูมิบุตรากับการเมืองเรื่องชาติพันธุ์ในมาเลเซีย”


เข้าร่วมฟังเสวนาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามโทร 0 2880 9429

วันพุธที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เชิงสะพานวันชาติ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

เชิญฟังการบรรยายเรื่อง “คนมลายูในโลกที่เปลี่ยนแปลง ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมท้องถิ่น”

แก้ไขล่าสุด lekprapai เมื่อ 13 - 12 - 2010 11:48


มูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะพันธุ์ ขอเชิญผู้สนใจ ร่วมเข้าฟังการบรรยายสาธารณะ
เรื่อง “คนมลายูในโลกที่เปลี่ยนแปลง ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมท้องถิ่น”
โดย กัณหา  แสงรายา  วันพุธที่  ๑๕  ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ อาคารมูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะพันธุ์ เชิงสะพานวันชาติ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
สำรองที่นั่งได้ที่ E-mail : lek_prapai@yahoo.com หรือ โทร.(02)2811988  (ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)

    ในความขมุกขมัวของสังคมมลายู มุสลิมท้องถิ่นชายแดนใต้ ผู้คนรับรู้เพียงปัญหาแห่งความรุนแรงต่างบาดเจ็บล้มตายเป็นใบไม้ร่วง วรรณกรรมจากพื้นที่แม้จะมีไม่มากนักและส่วนใหญ่เขียนขึ้นจากคนนอกที่เฝ้ามอง เหตุการณ์ แต่ก็พอตอบคำถามให้เห็นถึงเลือดเนื้อและจิตใจของคนในพื้นที่แห่งความขัด แย้ง               
กัณหา  แสงรายา นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ใช้ชีวิตและศึกษาวรรณกรรมและภาษาศาสตร์ในสังคมมลายูอย่างลุ่มลึก นับเป็นผู้รู้สำคัญคนหนึ่งของจังหวัดชายแดนใต้ มุมมองที่สะท้อนปัญหาทางสังคมวัฒนธรรมจากบทความทุกชิ้น ควรค่าแก่การนำมาขบคิดเพื่อแสงสว่างแห่งปัญญาต่อไป

ที่มา http://lek-prapai.org/watch.php?id=27