วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรียกร้องให้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ความสำคัญและแก้ไขปัญหา

3 ก.พ. 54 - ส.ส.อนุรักษ์ พรรคเพื่อไทย ระบุ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดปัญหาสังคม แนะ รมต.ไอซีที เร่งดูแลแก้ไขปัญหา

นางอนุรักษ์ บุญศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ได้รับร้องเรียนจากผู้ปกครอง ใน อ.สว่างแดนดิน และ อ.เจริญสินธุ์ จ.สกลนคร กรณีมีการตัดต่อภาพเด็กหญิงส่งต่อเข้าโทรศัพท์มือถือของบุคคลอื่น ส่งผลให้เด็กได้รับความเสื่อมเสียอย่างมากและถูกผู้ปกครองลงโทษเนื่องจากไม่ทราบว่า ภาพดังกล่าวเป็นการตัดต่อ จนทำให้เด็กตัดสินใจฆ่าตัวตาย แต่ผู้ปกครองได้ช่วยเหลือทัน จึงเห็นว่าความเจริญทางด้านเทคโนโลยีได้ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคม ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียงต่อผู้ถูกกระทำและวงศ์ตระกูล จึงต้องการเรียกร้องให้ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ความสำคัญและแก้ไขปัญหา



วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ ข่าว / เรียบเรียง

http://www.radioparliament.net/news1/news.php?id_view=1397



วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2

3 ก.พ. 54 - กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ญี่ปุ่น จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง 2ประเทศไทย ด้วยการจัดบรรยายหัวข้อ "ระบบการบริหารประเทศญี่ปุ่น" พร้อมกับสาธิตการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น (IKEBANAอิเคะบานะ) วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ นี้

รองศาสตราจารย์ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ญี่ปุ่น เปิดเผยว่า กลุ่มมิตรภาพฯ จะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น ในวันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2 โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อ "ระบบการบริหารประเทศญี่ปุ่น" ที่จะทำให้ทราบถึงโครงสร้างการบริหารประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยนายโอโมริ ซึคะซะ เลขานุการโท สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และจัดให้มีการสาธิตวัฒนธรรมญี่ปุ่น IKEBANA (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) โดยวิทยากรชาวญี่ปุ่นจากสถาบัน IKENOBO พร้อมกับให้ผู้ชมที่สนใจร่วมจัดดอกไม้อีกด้วย


ลักขณา เทียกทอง / ผู้สื่อข่าว
วิจิตรา น้าวัฒนไพบูลย์ / เรียบเรียง



www.researchexpo.nrct.go.th (Link : Thailand Research Symposium)



กิจกรรม Thailand Research Symposium 2011
 
 
ความเป็นมา
 
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะหน่วยงานกลางที่สนับสนุนงานวิจัย ในทุกขอบข่าย และให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ในวงกว้าง ได้กำหนดกลไก เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและการถ่ายทอดความรู้จากผลผลิตการวิจัยจาดเครือข่ายการวิจัยทั่วประเทศ ในรูปแบบของการจัดงาน “การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ” (Thailand Research Expo) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเวทีสำหรับองค์กรในระบบวิจัย ได้ร่วมแสดงศักยภาพทางการวิจัยของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศและ ระดับภูมิภาค อันจะเชื่อมโยงการนำผลผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในกลุ่มเป้าหมาย
 
กิจกรรมโครงการ Thailand Research Symposium จัดขึ้นครั้งแรกในปี ๒๕๕๒ ต่อเนื่องมาจนถึงปี ๒๕๕๔ ในปัจจุบัน ซึ่ง Thailand Research Symposium 2011 ได้เปิดโอกาสให้นักวิจัยของไทยได้ส่งผลงาน เข้ารับการพิจารณาเพื่อเสนอในเวทีระดับชาติอย่างต่อเนื่อง
 
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยซึ่งนำศาสตร์ในหลากหลายสาขาวิชามาใช้ในการทำวิจัย ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
  2. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแสดงความก้าวหน้าของงานวิจัยซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในงานวิจัย
การแบ่งด้านของผลงานวิจัยที่นำเสนอ
  1. ด้านธรรมาภิบาล และคอรัปชั่น
  2. ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ
  3. ด้านผลผลิตทางการเกษตร
  4. ด้านเทคโนโลยีและโลจิสติกส์เพื่ออุตสาหกรรม
  5. ด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิตและความมั่นคงของมนุษย์
  6. ด้านการปฏิรูปการศึกษาและการสร้างสรรค์การเรียนรู้
  7. ด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน
  8. ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
รูปแบบการนำเสนอผลงาน
  1. การเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย (Oral Presentation)
  2. การเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)
กลุ่มเป้าหมาย
  1. นักวิจัย
  2. นักวิชาการ
  3. และบัณฑิตศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานซึ่งใช้ศาสตร์ในหลากหลายสาขาวิชา
 
ระยะเวลาการดำเนินงาน
 
 
วันที่รายละเอียด
มกราคม – มีนาคม ๒๕๕๔ประกาศเชิญชวนนักวิจัย นักวิชาการและบัณฑิตศึกษาส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมจากทั่วประเทศ
มีนาคม ๒๕๕๔ปิดรับสมัครการส่งผลงาน
เมษายน – พฤษภาคม ๒๕๕๔พิจารณาผลงานที่นำเสนอใน ๘ ด้าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
สัปดาห์ที่ ๒ ของ มิถุนายน ๒๕๕๔ประกาศผลการพิจารณา
มิถุนายน ๒๕๕๔ ผู้นำเสนอผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก ดำเนินการปรับปรุงบทความ เพื่อส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาอีกครั้ง
กรกฎาคม ๒๕๕๔จัดทำรูปเล่มหนังสือ Proceedings
กรกฎาคม – สิงหาคม ๒๕๕๔ ขั้นตอนการจัดพิมพ์หนังสือ Proceedings
สิงหาคม ๒๕๕๔ การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ
 
การจัดทำเอกสารเผยแพร่
  1. E-Book
รูปแบบการส่งผลงานวิจัย
  1. จัดส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Thailand Research Symposium
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะทำงาน Thailand Research Symposium
  1. ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ๑๒ สาขาวิชาการ และ
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีประสบการณ์ในหลากหลายสาขาวิชาการ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  1. ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย
    • ภารกิจบริหารจัดการผลงานวิจัย
    • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  2. www.researchexpo.nrct.go.th (Link : Thailand Research Symposium)





กิจกรรมโครงการ Research Zone : Phase 37 - 40



จาก: ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย วช. <researchzone3@gmail.com>
วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2554, 14:33
หัวเรื่อง: กิจกรรมโครงการ Research Zone : Phase 37 - 40
ถึง: 


เรียน     ท่านสมาชิกศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย วช.

 

       ขอเรียนเชิญท่านสมาชิก

1.        ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม Research Zone (2011) : Phase 37 – 40 ที่ www.rlc.nrct.go.th ดังนี้

Phase

ระหว่างวันที่

ลงทะเบียนภายในวันที่

Phase 37

9 – 11 กุมภาพันธ์ 2554

10 กุมภาพันธ์ 2554

Phase 38

22 – 25 กุมภาพันธ์ 2554

21 กุมภาพันธ์ 2554

Phase 39

8 – 11 มีนาคม 2554

7 มีนาคม 2554

Phase 40

22 – 25 มีนาคม 2554

21 มีนาคม 2554

ดังไฟล์กำหนดการที่แนบมาพร้อมนี้

 

2.        ที่ประสงค์จะนำเสนอผลงานวิจัยในเวทีระดับประเทศ Thailand Research Symposium 2011* สามารถนำส่งผลงานเพื่อขอรับการพิจารณานำเสนอใน 2 รูปแบบ  คือ ภาคบรรยาย (Oral Presentation) ภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation) ดูรายละเอียดและส่งงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ www.researchexpo.nrct.go.th  (link : Thailand Research Symposium)

Thailand Research Symposium 2011 จัดขึ้นในระหว่างงานการนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2554” (Thailand Research Expo 2011) ระหว่างวันที่ 26 – 30 สิงหาคม 2554 ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ

 

ฝ่ายประสานงานศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย วช.


วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วารสาร ข่าวสารอากาศและเสียง ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (10) ประจำเดือน ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2553

วารสาร ข่าวสารอากาศและเสียง ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (10)
ประจำเดือน ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2553



http://infofile.pcd.go.th/air/AirNoise53_4.pdf?CFID=3429334&CFTOKEN=47910607




Biomedical Engineering




จาก: Biomedical Engineering <noreply+feedproxy@google.com>
วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2554, 16:26
หัวเรื่อง: Biomedical Engineering
ถึง:


Biomedical Engineering


รวม 7 เว็บไซต์ ดิกชันนารีทางการแพทย์ออนไลน์

Posted: 01 Feb 2011 06:29 AM PST

เคยแนะนำเว็บไซต์เรียนรู้ anatomy, เว็บไซต์เรียนรู้วิศวกรรมชีวเวช และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ครั้งนี้ทางเว็บ makeuseof ได้รวบรวมเว็บไซต์ที่ให้บริการดิกชันนารีคำคัพท์ทางการแพทย์ เพราะคำบางคำที่เป็นศัพท์เฉพาะเรามักจะหาไม่เจอในดิกชันนารีทั่วไป เราจึงนำมาแนะนำให้ทุกท่านได้ติดตาม และลองเลือกใช้งาน เว็บไซต์มีประโยชน์สำหรับทุกคนทั้งแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ป่วยที่ต้องทราบถึงคำศัพท์ที่แพทย์ได้กล่าวถึงเมื่อชี้แจ้งโรคต่างๆที่เป็นอยู่ ทำให้ง่ายต่อการอธิบายของแพทย์และง่ายต่อความเข้าใจของผู้ป่วย

รวม 7 เว็บไซต์ ดิกชันนารีทางการแพทย์ออนไลน์ ดังนี้

  1. Medline Plus

    Medline Plus

  2. MediLexicon

    Medical Dictionary Search

  3. MedTerms

  4. WebMD
    Online Medical Dictionary at WebMD
  5. The Free Dictionary
    Medical Dictionary at free dictionary
  6. King's Medical Library Engine

    KMLE Medical Dictionary

  7. Medic8

    Medical Dictionary

ดิกชันนารีทางการแพทย์ ของแต่ละเว็บไซต์มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน โดยส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า ดิกชันนารีของ MebM และ Medic8 ให้รายละเอียดค่อนข้างเยอะ ให้ข้อมูลค่อนข้างครบถ้วน

ข้อมูลจาก: http://www.makeuseof.com

You are subscribed to email updates from Biomedical Engineering
To stop receiving these emails, you may unsubscribe now.
Email delivery powered by Google
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610